พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033-1034/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินจากคดียาเสพติด: ศาลพิจารณาความเชื่อมโยงทรัพย์สินกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบทรัพย์สินและการทำธุรกรรมของผู้คัดค้านที่ 5 เกิดจากความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดเพียงแต่ในขณะตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของผู้คัดค้านที่ 5 พบว่าผู้คัดค้านที่ 5 เคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการลักลอบหนีภาษีศุลกากร จึงมีการขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินด้วยเหตุความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย โดยผู้ร้องนำสืบแต่เพียงว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ผู้คัดค้านที่ 5 ถูกจับกุมข้อหาร่วมกันนำสิ่งของที่ยังมิได้เสียภาษีเข้าในราชอาณาจักร แต่ปรากฏว่า ป. พยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านทนายผู้คัดค้านที่ 5 ว่า เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 แล้ว ตามคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยผู้ร้องไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์อื่นของผู้คัดค้านที่ 5 อีกว่ามีการกระทำใดอันจะเป็นการลักลอบหนีศุลกากรภายหลังจากผู้คัดค้านที่ 5 ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับศุลกากรเมื่อปี 2546 และผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินใดจากการลักลอบหนีศุลกากรนั้น เมื่อมูลเหตุอันเป็นที่มาของการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 ในคดีนี้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดราย ส. อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 การที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินตามความผิดมูลฐานอื่นรวมเข้ามาด้วย ผู้ร้องต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามีการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งทรัพย์สินใดอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้น ผู้ร้องจึงจะมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เพราะการร้องขอให้ทรัพย์สินของบุคคลตกเป็นของแผ่นดินเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในแดนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การคุ้มครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ยกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 ในความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 5 มีพฤติการณ์อื่นใดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้คัดค้านที่ 5 ได้ทรัพย์สินใดไปจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ผู้คัดค้านที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้กระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8494/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการพิสูจน์การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
มาตรา 4 ให้คำนิยามคำว่า "ผู้ดำเนินการ" หมายความว่า "เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งตกลงรับกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และผู้รับจ้างช่วง" เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการ โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง แต่พยานโจทก์คงมี ภ. พยานโจทก์ที่เบิกความว่าพยานเป็นผู้ตรวจอาคารที่เกิดเหตุ พบว่ามีการก่อสร้างผิดแบบ โดยพยานไม่ได้เบิกความว่าพบเห็นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างด้วยตนเอง และมี ก. เจ้าของอาคารที่ติดอยู่กับบ้านเกิดเหตุเบิกความแต่เพียงว่าเห็นจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ได้เบิกความว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่จำเลยทั้งสองตามมาตรา 69 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5231/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าขาดอายุความหนึ่งปี และการแสวงหากำไรจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่เข้าข้อยกเว้น
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 วรรคสอง (2) ยังต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อประโยชน์ในธุรกิจของจำเลยที่ 1 คือ เพื่อใช้ในการออกแบบ เขียนแบบ และงานด้านเอกสาร เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 แสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสี่ อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามปกติของโจทก์ทั้งสี่ และเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสี่ จึงไม่เข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 อย่างไรก็ตาม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการนำไปใช้ในการทำงานเกี่ยวกับเอกสารทั่วไป โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 นำไปใช้ในการออกแบบ เขียนแบบผลิตภัณฑ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 นำไปใช้ในการออกแบบซ่อมแซมเครื่องจักร และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 4 นำไปใช้ในการแปลภาษา โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวเป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับองค์กรบริษัท จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำซ้ำหรือดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจผลิตอาหารและขนมของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้มีการนำไปใช้แสวงหากำไรจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวในเชิงพาณิชย์โดยตรง ดังนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 (1) เท่านั้น ซึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 66 บัญญัติแต่เพียงว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดอันยอมความได้" โดยไม่ได้กำหนดอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติใน ป.อ. ภาค 1 หมวด 9 ว่าด้วยอายุความมาใช้บังคับกับความผิดคดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง, 74 (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบมาตรา 30 (1) และ ป.อ. มาตรา 83 ซึ่งมีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท กรณีจึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การเพิกสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องพิจารณาความแตกต่างจากงานที่มีอยู่เดิมและรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม
ปัญหามีว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อุปกรณ์ติดตั้งถังบรรจุก๊าซซีเอ็นจีสำหรับรถยนต์แบบสามถังของโจทก์เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ มีเหตุเพิกถอนตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้วันที่โจทก์ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะเป็นวันที่ 25 สิงหาคม 2552 และหนังสือ "4WHEELS" เป็นนิตยสารฉบับเดือนสิงหาคม 2552 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อความในหนังสือดังกล่าวทั้งสี่แผ่นที่มีลักษณะเน้นไปในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และกล่าวอ้างถึงการติดตั้งถังบรรจุก๊าซซีเอ็นจีสำหรับรถยนต์แบบสามถังของโจทก์ในทำนองว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่โจทก์คิดค้นพัฒนาขึ้น มีความปลอดภัยตามมาตรฐานต่าง ๆ และคุ้มค่า โดยแจ้งชื่อบริษัท พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และโทรสารของโจทก์ไว้ตอนท้ายสุดของบทความกรณีหากผู้อ่านหนังสือนิตยสารดังกล่าวสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการติดต่อสอบถาม ทั้งยังได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ยินยอมให้มีการเผยแพร่ภาพบทความดังกล่าว ดังนี้ ย่อมเห็นว่าในขณะเผยแพร่หนังสือนิตยสารดังกล่าว อุปกรณ์ติดตั้งถังบรรจุก๊าซซีเอ็นจีสำหรับรถยนต์แบบสามถังในหนังสือดังกล่าว หรือการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ ยังมิได้มีแพร่หลายในราชอาณาจักร เพราะมิเช่นนั้นแล้วโจทก์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์การติดตั้งถังบรรจุก๊าซซีเอ็นจีสำหรับรถยนต์แบบสามถังของตนในหนังสือนิตยสารดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งตามข้อความที่เผยแพร่ก็ใช้คำว่า "เป็นนวัตกรรมใหม่" อันมีความหมายว่า เป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกไปจากเดิม ย่อมเข้าใจได้ว่าในขณะที่หนังสือนิตยสารดังกล่าวออกเผยแพร่นั้น ไม่มีการประดิษฐ์เช่นนี้มาก่อน อันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องลงทุนโฆษณาประชาสัมพันธ์ ประกอบกับภาพและข้อความที่เผยแพร่ตามหนังสือก็ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญของสิทธิบัตรดังที่ได้วินิจฉัยไว้ข้างต้น หนังสือดังกล่าวจึงไม่อาจถือเป็นหลักฐานที่จะทำให้รับฟังได้ว่าสิ่งประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ มีแพร่หลายในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 6 วรรคสอง (1)
ปัญหาต่อไปมีว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตีความคำว่า "แบบผลิตภัณฑ์" ขัดกับบทนิยามตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 หรือไม่ เห็นว่า ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 3 บัญญัติให้นิยามศัพท์คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์" หมายความว่า "รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้" แม้บทกฎหมายดังกล่าวไม่ระบุถึงความสวยงามไว้โดยตรง แต่จากนิยามดังกล่าวเห็นได้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างหรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ หาได้เน้นที่คุณสมบัติการใช้งานของสิ่งประดิษฐ์หรือกรรมวิธีการประดิษฐ์ หากแบบผลิตภัณฑ์ใดมีความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในการใช้งานเท่านั้นย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่หากรูปลักษณะที่ปรากฏภายนอกมีความสวยงามหรือดึงดูดใจแล้วย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษในส่วนนี้จึงไม่ขัดกับบทนิยามตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งห้าฉบับของโจทก์ไม่แตกต่างไปจากสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่เดิมแต่กลับมุ่งเน้นถึงประโยชน์ในการใช้งานเพียงอย่างเดียว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้น เห็นว่า ในข้อนี้ได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า ในการประกอบธุรกิจให้บริการติดตั้งถังบรรจุก๊าซเอ็นจีวี โจทก์ออกแบบและคิดค้นนวัตกรรมเกี่ยวกับการติดตั้งถังบรรจุก๊าซเอ็นจีวีขึ้น โดยการออกแบบได้กำหนดจุดติดตั้งถังบรรจุก๊าซไว้ที่ด้านล่างกระบะหรือใต้ท้องรถกระบะ แทนการติดตั้งแบบเดิมทั่วไปที่ติดตั้งบนลูกกระบะ และสามารถทำให้ติดตั้งถังบรรจุก๊าซได้ถึง 3 ถัง ด้วยการใช้โครงสร้างอุปกรณ์รองรับถังก๊าซที่เป็นเหล็กแผ่นเรียบปั๊มขึ้นรูปซึ่งมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสวยงาม และยึดติดอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ากับโครงรถยนต์โดยไม่ต้องเชื่อมหรือเจาะรู แล้วโจทก์จึงนำงานนวัตกรรมดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยในส่วนแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อุปกรณ์จับยึดถังบรรจุก๊าซ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความยืนยันว่า ในขณะที่โจทก์คิดได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์นั้น ไม่เคยมีผู้ประกอบการรายใดทั้งในและต่างประเทศใช้แบบผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกับแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ โดยในชั้นตรวจคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้มีการตรวจสอบเปรียบเทียบกับทั้งงานในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียแล้วก็ไม่พบงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ส่วนฝ่ายจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดความใหม่ แต่ในชั้นพิจารณาทางนำสืบของฝ่ายจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีแบบผลิตภัณฑ์อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์มาแสดง คงมีเพียงเอกสารทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ ประกาศและกฎกระทรวงเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบที่ออกตามความใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรฐานความปลอดภัยของหน่วยงานต่าง ๆ และภาพถ่ายรถประเภทต่าง ๆ ติดถังก๊าซ แต่เอกสารและภาพเหล่านี้ก็ไม่ปรากฏหรือแสดงให้เห็นภาพหรือรูปลักษณะของอุปกรณ์จับยึดถังบรรจุก๊าซได้อย่างชัดเจน ทั้งภาพถ่ายบางภาพยังเป็นการติดตั้งถังบรรจุก๊าซกับรถประเภทอื่น เช่น รถบรรทุกและรถตู้ ซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ใช้ติดตั้งกับรถกระบะ จึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีแบบผลิตภัณฑ์อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนอันจะทำให้เห็นได้ว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งห้าฉบับของโจทก์แตกต่างไปจากสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่เดิมหรือไม่ อย่างไร คงได้ความตามทางนำสืบของโจทก์เพียงว่าการติดตั้งถังบรรจุก๊าซที่ใช้กันทั่วไปแบบเดิมนั้นจะเป็นการติดตั้งไว้บนตัวกระบะรถซึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ติดตั้งอยู่ใต้กระบะรถ นอกจากนี้ยังได้ความจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ด้วยว่าในการออกแบบอุปกรณ์ยึดจับหรือจับยึดถังบรรจุก๊าซตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งห้าฉบับ โจทก์ออกแบบให้มีความสวยงามด้วย ซึ่งในข้อนี้ฝ่ายจำเลยก็มิได้ถามค้านพยานโจทก์ปากดังกล่าวหรือนำสืบโต้แย้งข้อเท็จจริงในส่วนดังกล่าวให้เห็นเป็นอย่างอื่น ประกอบกับหนังสือ "4WHEELS" ในแผ่นที่ 3 มีบทความภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมความปลอดภัย OEM" ระบุว่า การติดตั้งระบบก๊าซซีเอ็นจีของโจทก์ใช้มาตรฐาน OEM ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ มาตรฐานเดียวกับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จึงมั่นใจได้ในความสวยงาม การออกแบบดังกล่าวจึงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ในการใช้งานเพียงอย่างเดียว ดังนี้จึงไม่ปรากฏเหตุอันจะทำให้การออกสิทธิบัตรทั้งห้าฉบับของโจทก์ไม่ชอบ
ปัญหาต่อไปมีว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตีความคำว่า "แบบผลิตภัณฑ์" ขัดกับบทนิยามตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 หรือไม่ เห็นว่า ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 3 บัญญัติให้นิยามศัพท์คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์" หมายความว่า "รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้" แม้บทกฎหมายดังกล่าวไม่ระบุถึงความสวยงามไว้โดยตรง แต่จากนิยามดังกล่าวเห็นได้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างหรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ หาได้เน้นที่คุณสมบัติการใช้งานของสิ่งประดิษฐ์หรือกรรมวิธีการประดิษฐ์ หากแบบผลิตภัณฑ์ใดมีความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในการใช้งานเท่านั้นย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่หากรูปลักษณะที่ปรากฏภายนอกมีความสวยงามหรือดึงดูดใจแล้วย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษในส่วนนี้จึงไม่ขัดกับบทนิยามตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งห้าฉบับของโจทก์ไม่แตกต่างไปจากสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่เดิมแต่กลับมุ่งเน้นถึงประโยชน์ในการใช้งานเพียงอย่างเดียว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้น เห็นว่า ในข้อนี้ได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า ในการประกอบธุรกิจให้บริการติดตั้งถังบรรจุก๊าซเอ็นจีวี โจทก์ออกแบบและคิดค้นนวัตกรรมเกี่ยวกับการติดตั้งถังบรรจุก๊าซเอ็นจีวีขึ้น โดยการออกแบบได้กำหนดจุดติดตั้งถังบรรจุก๊าซไว้ที่ด้านล่างกระบะหรือใต้ท้องรถกระบะ แทนการติดตั้งแบบเดิมทั่วไปที่ติดตั้งบนลูกกระบะ และสามารถทำให้ติดตั้งถังบรรจุก๊าซได้ถึง 3 ถัง ด้วยการใช้โครงสร้างอุปกรณ์รองรับถังก๊าซที่เป็นเหล็กแผ่นเรียบปั๊มขึ้นรูปซึ่งมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสวยงาม และยึดติดอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ากับโครงรถยนต์โดยไม่ต้องเชื่อมหรือเจาะรู แล้วโจทก์จึงนำงานนวัตกรรมดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยในส่วนแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อุปกรณ์จับยึดถังบรรจุก๊าซ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความยืนยันว่า ในขณะที่โจทก์คิดได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์นั้น ไม่เคยมีผู้ประกอบการรายใดทั้งในและต่างประเทศใช้แบบผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกับแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ โดยในชั้นตรวจคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้มีการตรวจสอบเปรียบเทียบกับทั้งงานในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียแล้วก็ไม่พบงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ส่วนฝ่ายจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดความใหม่ แต่ในชั้นพิจารณาทางนำสืบของฝ่ายจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีแบบผลิตภัณฑ์อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์มาแสดง คงมีเพียงเอกสารทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ ประกาศและกฎกระทรวงเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบที่ออกตามความใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรฐานความปลอดภัยของหน่วยงานต่าง ๆ และภาพถ่ายรถประเภทต่าง ๆ ติดถังก๊าซ แต่เอกสารและภาพเหล่านี้ก็ไม่ปรากฏหรือแสดงให้เห็นภาพหรือรูปลักษณะของอุปกรณ์จับยึดถังบรรจุก๊าซได้อย่างชัดเจน ทั้งภาพถ่ายบางภาพยังเป็นการติดตั้งถังบรรจุก๊าซกับรถประเภทอื่น เช่น รถบรรทุกและรถตู้ ซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ใช้ติดตั้งกับรถกระบะ จึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีแบบผลิตภัณฑ์อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนอันจะทำให้เห็นได้ว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งห้าฉบับของโจทก์แตกต่างไปจากสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่เดิมหรือไม่ อย่างไร คงได้ความตามทางนำสืบของโจทก์เพียงว่าการติดตั้งถังบรรจุก๊าซที่ใช้กันทั่วไปแบบเดิมนั้นจะเป็นการติดตั้งไว้บนตัวกระบะรถซึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ติดตั้งอยู่ใต้กระบะรถ นอกจากนี้ยังได้ความจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ด้วยว่าในการออกแบบอุปกรณ์ยึดจับหรือจับยึดถังบรรจุก๊าซตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งห้าฉบับ โจทก์ออกแบบให้มีความสวยงามด้วย ซึ่งในข้อนี้ฝ่ายจำเลยก็มิได้ถามค้านพยานโจทก์ปากดังกล่าวหรือนำสืบโต้แย้งข้อเท็จจริงในส่วนดังกล่าวให้เห็นเป็นอย่างอื่น ประกอบกับหนังสือ "4WHEELS" ในแผ่นที่ 3 มีบทความภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมความปลอดภัย OEM" ระบุว่า การติดตั้งระบบก๊าซซีเอ็นจีของโจทก์ใช้มาตรฐาน OEM ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ มาตรฐานเดียวกับการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จึงมั่นใจได้ในความสวยงาม การออกแบบดังกล่าวจึงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ในการใช้งานเพียงอย่างเดียว ดังนี้จึงไม่ปรากฏเหตุอันจะทำให้การออกสิทธิบัตรทั้งห้าฉบับของโจทก์ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดจากลูกจ้างที่ขับรถปฏิบัติงาน แม้มีการเบิกถอนเงินส่วนตัวช่วงปฏิบัติงาน
ม. ใช้รถกระบะคันเกิดเหตุไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับคำสั่ง โดยให้จำเลยที่ 1 นั่งรถไปที่ป่าบุห้าร้อยบริเวณที่จะออกตรวจลาดตระเวนพร้อมกับเจ้าหน้าที่อื่นด้วยและขอร้องให้จำเลยที่ 1 ขับรถกลับไปที่หน่วยห้วยคำภู ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ขับรถกระบะคันเกิดเหตุไปและอยู่ที่หน่วยดังกล่าวคนเดียวจนถึงวันเกิดเหตุ ทั้งที่ ม. เบิกความว่า ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แล้ว แต่กลับยินยอมให้จำเลยที่ 1 นั่งรถไปคันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความผูกพันในหน้าที่เดิมอย่างไม่ขาดตอน พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 อยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนจำเลยที่ 1 จะมีสัญญาหรือข้อตกลงในการทำงานกับจำเลยที่ 2 อย่างไร เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หาได้มีผลผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสองด้วยไม่ เพราะการว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างชั่วคราวอันถือเป็นการจ้างแรงงานนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 มิได้บัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือ คำเบิกความของ ม. ที่เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 อยู่ที่หน่วยห้วยคำภูเพื่อรอขนย้ายสิ่งของเท่านั้น จึงขัดต่อพฤติการณ์ที่ ม. สั่งให้จำเลยที่ 1 นั่งรถกระบะคันเกิดเหตุไปยังบริเวณที่จะออกตรวจลาดตระเวน กับสั่งให้ขับรถกระบะคันเกิดเหตุกลับไปที่หน่วย พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบยังไม่อาจฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า ข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถกระบะคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่นั้น ตามคำสั่ง 96/2557 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อนุญาตให้ ม. ใช้รถกระบะคันเกิดเหตุได้ตลอดเวลาที่ต้องปฏิบัติงาน ม. จึงมีอำนาจใช้และมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบรถกระบะคันเกิดเหตุ การที่ ม. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถกระบะดังกล่าวไปที่หน่วยห้วยคำภู และอยู่ประจำที่หน่วยดังกล่าวเพื่อรอรับ ม. กับเจ้าหน้าที่อื่นพร้อมกับผู้ต้องหาที่ถูกจับ การขับรถกระบะคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 หาได้เป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถกระบะคันเกิดเหตุไปเบิกถอนเงินแม้เป็นธุระส่วนตัว และบริเวณที่เกิดเหตุไม่ได้อยู่ในเขตทำการที่จำเลยที่ 2 รับผิดชอบ แต่การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปกลับเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับงานที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย ถือได้ว่าขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติงานให้จำเลยที่ 2 นายจ้าง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานต้องระบุว่าอาคารไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 มีบทลงโทษตามมาตรา 66 ทวิ ความผิดดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมาย และแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ซึ่งอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ..." ดังนั้น ข้อเท็จจริงว่าอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นองค์ประกอบความผิดซึ่งต้องบรรยายให้ปรากฏในฟ้อง เพื่อนำมาพิจารณาถึงอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น มิใช่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ การบรรยายฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนซื้อขายผลลำไย: สิทธิของตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อ และอายุความการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยโดยมี น. เป็นตัวแทนออกหน้าทำสัญญากับจำเลย โจทก์ในฐานะตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่ง น. ตัวแทนได้ทำไว้แทนตนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเมื่อโจทก์เป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อ การตั้ง น. เป็นตัวแทนย่อมไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคสอง โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยไม่สามารถส่งผลผลิตลำไยให้โจทก์ได้เพราะลำไยไม่มีคุณภาพและเรียกเงินมัดจำที่โจทก์ได้ให้ไว้คืน อันเป็นกรณีกล่าวอ้างว่า จำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ต้องคืนเงินมัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (3) การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำค่าสินค้าหรือเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าบางส่วนคืน เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การรุกล้ำแนวทาง และการใช้ประโยชน์ทางอื่นไม่ทำให้ภาระจำยอมสิ้นสุด
จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์มีความผูกพันต้องยอมรับกรรมหรืองดใช้สิทธิบางอย่างในที่ดินของตนเองส่วนที่จดทะเบียนเป็นทางเดินและทางรถยนต์แก่โจทก์ จำเลยไม่อาจประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1390 การที่จำเลยก่อสร้างหลังคาโรงจอดรถรุกล้ำแนวทางภาระจำยอม แม้โจทก์ได้ใช้ที่ดินที่ทางราชการกันไว้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิสร้างหลังคาโรงจอดรถยื่นออกมารุกล้ำทางภาระจำยอมได้ การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยรื้อถอนโครงหลังคาเฉพาะส่วนที่รุกล้ำทางภาระจำยอมได้
การที่โจทก์ประกอบธุรกิจในที่ดินโฉนดเลขที่ 19922 และโจทก์ให้ลูกค้าของโจทก์ซึ่งใช้บริการในที่ดินดังกล่าวมาใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 19778 ของจำเลยด้วย อันเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และมาตรา 1389 แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวห้ามมิให้โจทก์กระทำเช่นนั้น หาทำให้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์สิ้นไปไม่
ส่วนการที่โจทก์ใช้ทางที่ติดกับลำห้วยมะลิเป็นทางเข้าออกด้วยนั้น ก็ได้ความว่า โจทก์ยังคงใช้ทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 13578 อยู่ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 บัญญัติว่า ถ้าภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมนั้นสิ้นไป แต่ถ้าความเป็นไปมีทางให้กลับใช้ภาระจำยอมได้ไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมนั้นกลับมีขึ้นอีก แต่ต้องยังไม่พ้นอายุความที่ระบุไว้ในมาตราก่อน ซึ่งคำว่า ภาระจำยอมหมดประโยชน์นั้นหมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้น ก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะใช้ทางที่ติดกับลำห้วยมะลิเป็นทางเข้าออกด้วยก็หาทำให้ทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 19778 ของจำเลยที่มีอยู่แล้วสิ้นไปไม่ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินเลขที่ 19778 ของจำเลย
การที่โจทก์ประกอบธุรกิจในที่ดินโฉนดเลขที่ 19922 และโจทก์ให้ลูกค้าของโจทก์ซึ่งใช้บริการในที่ดินดังกล่าวมาใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 19778 ของจำเลยด้วย อันเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และมาตรา 1389 แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวห้ามมิให้โจทก์กระทำเช่นนั้น หาทำให้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์สิ้นไปไม่
ส่วนการที่โจทก์ใช้ทางที่ติดกับลำห้วยมะลิเป็นทางเข้าออกด้วยนั้น ก็ได้ความว่า โจทก์ยังคงใช้ทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 13578 อยู่ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 บัญญัติว่า ถ้าภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมนั้นสิ้นไป แต่ถ้าความเป็นไปมีทางให้กลับใช้ภาระจำยอมได้ไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมนั้นกลับมีขึ้นอีก แต่ต้องยังไม่พ้นอายุความที่ระบุไว้ในมาตราก่อน ซึ่งคำว่า ภาระจำยอมหมดประโยชน์นั้นหมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้น ก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะใช้ทางที่ติดกับลำห้วยมะลิเป็นทางเข้าออกด้วยก็หาทำให้ทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 19778 ของจำเลยที่มีอยู่แล้วสิ้นไปไม่ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินเลขที่ 19778 ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาต กฎกระทรวงควบคุมอาคารไม่ยกเว้นความผิด
จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องฐานประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย ส่วนกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2559 ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามที่จำเลยอ้างนั้น เป็นการออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพื่อควบคุมอาคารที่จะนำมาประกอบธุรกิจโรงแรม จึงเป็นกฎกระทรวง ที่มิได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้อง กฎกระทรวงดังกล่าวจึงไม่ได้มีผลยกเลิกหรือยกเว้นความผิดของจำเลย การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามฟ้อง