พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033-1034/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินจากคดียาเสพติด: ศาลพิจารณาความเชื่อมโยงทรัพย์สินกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบทรัพย์สินและการทำธุรกรรมของผู้คัดค้านที่ 5 เกิดจากความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดเพียงแต่ในขณะตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของผู้คัดค้านที่ 5 พบว่าผู้คัดค้านที่ 5 เคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการลักลอบหนีภาษีศุลกากร จึงมีการขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินด้วยเหตุความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย โดยผู้ร้องนำสืบแต่เพียงว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ผู้คัดค้านที่ 5 ถูกจับกุมข้อหาร่วมกันนำสิ่งของที่ยังมิได้เสียภาษีเข้าในราชอาณาจักร แต่ปรากฏว่า ป. พยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านทนายผู้คัดค้านที่ 5 ว่า เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 แล้ว ตามคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยผู้ร้องไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์อื่นของผู้คัดค้านที่ 5 อีกว่ามีการกระทำใดอันจะเป็นการลักลอบหนีศุลกากรภายหลังจากผู้คัดค้านที่ 5 ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับศุลกากรเมื่อปี 2546 และผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินใดจากการลักลอบหนีศุลกากรนั้น เมื่อมูลเหตุอันเป็นที่มาของการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 ในคดีนี้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดราย ส. อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 การที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินตามความผิดมูลฐานอื่นรวมเข้ามาด้วย ผู้ร้องต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามีการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งทรัพย์สินใดอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้น ผู้ร้องจึงจะมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เพราะการร้องขอให้ทรัพย์สินของบุคคลตกเป็นของแผ่นดินเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในแดนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การคุ้มครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ยกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 ในความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 5 มีพฤติการณ์อื่นใดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้คัดค้านที่ 5 ได้ทรัพย์สินใดไปจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ผู้คัดค้านที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้กระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7453/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้แทนบริษัทที่ออกเช็คโดยไม่มีเจตนาให้ใช้เงิน แม้เช็คไม่ได้ออกในนามบริษัทโดยตรง
แม้ข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่าเช็คพิพาททั้งสามฉบับมิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 แต่เป็นของบริษัท ซ. อันแตกต่างจากฟ้อง แต่ก็ได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่าบริษัท ซ. เป็นบริษัทภายในเครือเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้งสองบริษัทและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ซ. ดังนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะออกเช็คในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยที่ 2 ก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกันเพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และบริษัท ซ. ลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ถือว่าโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยลำพังไม่จำต้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ก็ได้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณากับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องจึงหาใช่เป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ด้วย อันเป็นเหตุที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องอาญา แม้จำเลยรับสารภาพ หากไม่มีความผิดตามฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาโดยขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องในความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร ฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถ และฐานใช้ยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องทั้งสามฐาน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถในระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถ แม้จะได้ความว่าจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยจำนนต่อหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3727/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนไร้ความสามารถฟ้องคดีเองไม่ได้ ต้องให้ผู้อนุบาลดำเนินการแทน การมอบอำนาจจึงไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของ ช. ผู้อนุบาลตามคำสั่งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้จำเลยทั้งสามรับผิดตาม ป.อ. มาตรา 83, 350 โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ม. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนในขณะที่โจทก์ยังเป็นคนไร้ความสามารถและอยู่ในความอนุบาลของ ช. เป็นการกระทำโดยโจทก์ไม่มีอำนาจ ต้องให้ ช. ผู้อนุบาลเป็นผู้กระทำการแทน กรณีหาใช่เป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์และจำต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังที่โจทก์อ้าง เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รั้วหมู่บ้านจัดสรรเป็นสาธารณูปโภค การรื้อทำลายถือเป็นการละเมิดและคดีไม่ขาดอายุความ
รั้วพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของรั้วซึ่งบริษัท ว. สร้างขึ้นพร้อมการจัดสรรที่ดินปลูกสร้างบ้านขายตั้งแต่ปี 2532 อันเป็นการให้มีสาธารณูปโภคตามนัยข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ทำให้รั้วพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทั้งหมด รั้วพิพาทจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่รั้วตั้งอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 เมื่อโจทก์จัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วได้รับโอนสาธารณูปโภคจากบริษัท ว. มาดำเนินการ รั้วพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7901/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: ความผิดทำให้เสียทรัพย์ แม้มีทะเบียนถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ และฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน แต่ยังคงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กรรมหนึ่ง และฐานทำให้เสียทรัพย์ อีกกรรมหนึ่งด้วย ดังนี้ สำหรับอาวุธปืนของกลางแม้เป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงขึ้นฟ้าเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 เกิดความกลัวหรือความตกใจและกระสุนปืนถูกบ้านของผู้เสียหายที่ 3 ได้รับความเสียหาย กรณีย่อมถือได้ว่าอาวุธปืนของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 358 อันพึงต้องริบตามมาตรา 33 (1) มิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ริบอาวุธปืนของกลางเพราะจำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7207/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้สิทธิผู้รับโอนบกพร่องหรือไม่ และเขตอำนาจศาลในคดีฟ้องขับไล่
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง แม้จะเป็นการอุทธรณ์ในเรื่องอำนาจฟ้องโจทก์อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ล้วนต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติในเบื้องต้นเสียก่อนว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งจะต้องมีการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์โต้แย้งมาว่าจำเลยทั้งสองได้สิทธิในที่ดินพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีการใช้สิทธิทางศาลมาก่อน ข้อที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างการได้สิทธิในที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงการอนุมานของจำเลยทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้เป็นคุณแก่ตนในชั้นอุทธรณ์โดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงว่าจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้วเท่านั้น ซึ่งยังไม่อาจรับฟังในชั้นนี้ได้ว่าเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และในขณะเดียวกันก็ไม่อาจรับฟังได้ว่า ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทเพราะเหตุดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสองอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับโอนต้องบกพร่องไปด้วยแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันจะนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ แต่ยังไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เป็นที่ยุติและเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองได้ เพราะไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีที่จะนำไปสู่กระบวนพิจารณาด้วยพยานหลักฐาน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และยกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมา จึงชอบแล้ว
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ ไม่ว่าโจทก์จะเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าในจำนวนเท่าใด ก็เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวและอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนเรื่องจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้น เป็นเพียงข้อพิจารณาที่นำไปสู่ข้อจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เท่านั้น
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ ไม่ว่าโจทก์จะเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าในจำนวนเท่าใด ก็เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวและอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนเรื่องจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้น เป็นเพียงข้อพิจารณาที่นำไปสู่ข้อจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: ต้องพิเคราะห์ว่ารถยนต์ถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่
แม้คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถยนต์ของกลางว่า เป็นยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ขับมาร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยไม่ปรากฏว่ามีการใช้รถยนต์ของกลางซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางหรือมีการใช้รถยนต์ของกลางในการร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางอย่างไร จำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์ของกลางมายังสถานที่เกิดเหตุเพื่อมารับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยนำรถยนต์ของกลางมาใช้เป็นยานพาหนะสำหรับการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาส่งให้แก่สายลับดังกล่าว หรือจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถยนต์ของกลางเป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดคดีนี้อย่างไร รถยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ในการเดินทางมายังสถานที่เกิดเหตุมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด จึงไม่อาจริบรถยนต์ของกลางตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งรถยนต์ของกลางก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่ดินปฏิรูปที่ดิน: ผลกระทบต่อสิทธิการเข้าทำประโยชน์และอำนาจฟ้องขับไล่
จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในฐานะผู้ซื้อสิทธิการเช่าจากโจทก์ผู้ได้สิทธิการเช่าจากรัฐจริง ซึ่งการโอนสิทธิการเช่านี้แม้มิได้ทำให้จำเลยมีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ตามกฎหมาย แต่ข้อห้ามมิให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิการเช่าโอนสิทธิการเช่าไปยังบุคคลอื่นตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 ซึ่งออกตามความในมาตรา 19 (8) แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ย่อมมีผลให้โจทก์ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้โอนสิทธิการเช่าต้องสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทันทีที่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นตามข้อ 11 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้, การหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝาก, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
แม้จำเลยที่ 3 มีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการ และจำเลยที่ 1 เจตนากู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 3 ก็เป็นนิติบุคคลซึ่งถือเป็นคนละคนกับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิเรียกร้องหรือเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ก. ผู้โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ เพราะหนี้ค่าจ้างระหว่างธนาคาร ก. กับจำเลยที่ 3 เป็นความผูกพันระหว่างธนาคารกับจำเลยที่ 3 ทั้งมิใช่หนี้ด้อยคุณภาพที่ธนาคารโอนสิทธิมาให้แก่โจทก์ ความรับผิดตามสัญญาว่าจ้างจึงคงอยู่กับธนาคาร ก. ไม่ได้โอนมาเป็นของโจทก์ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ต้องไปว่ากล่าวเอากับธนาคารผู้เป็นคู่สัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ปรากฏอยู่ในบัญชีเดินสะพัด หากภายหลังวันทำสัญญามีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้กู้พึงเรียกเก็บได้จากลูกค้าสูงกว่าอัตราตามสัญญา ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับดอกเบี้ยตามสัญญาให้สูงขึ้นได้ตามที่ผู้ให้กู้เห็นสมควรในทันที โดยมิต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ และถือว่าผู้กู้ได้ให้ความยินยอมในการปรับอัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ให้กู้กำหนดทุกครั้งไป การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิได้อาศัยเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไข การปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นทำนองเบี้ยปรับ ศาลจึงไม่มีอำนาจปรับลดลงมาได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในดอกเบี้ยเพียงอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดที่มิใช่กรณีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามประกาศของธนาคาร ก. ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 14.5 ต่อปี
อนึ่ง จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สี่ ทั้งมีการจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่หก ทั้งมีการจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีวันที่มีการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย ส่งผลให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 สิ้นความผูกพันที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอีกต่อไป แต่เมื่อนำเงินฝากไปหักชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากนับแต่วันหักชำระหนี้ แต่ปรากฏว่าหลังวันที่มีการนำเงินฝากไปหักชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับดอกเบี้ย 2 ครั้ง จำเลยที่ 3 ได้รับดอกเบี้ย 5 ครั้ง จึงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สี่และที่หกตามลำดับ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สิ้นความผูกพันที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มารับผิดในดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งมิใช่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาความกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีเรื่องอื่น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดในดอกเบี้ยเงินฝากจึงเป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) นอกจากนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยตามจำนวนที่ธนาคารจ่ายไปพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารชำระแทนเป็นต้นไป โดยคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,704.09 บาท รวมเป็นเงิน 15,812.71 บาท แต่ในตอนพิพากษากลับไม่มีการระบุถึงดอกเบี้ยของหนี้เงินทดรองจ่ายนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ครบถ้วนตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้ว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ปรากฏอยู่ในบัญชีเดินสะพัด หากภายหลังวันทำสัญญามีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้กู้พึงเรียกเก็บได้จากลูกค้าสูงกว่าอัตราตามสัญญา ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับดอกเบี้ยตามสัญญาให้สูงขึ้นได้ตามที่ผู้ให้กู้เห็นสมควรในทันที โดยมิต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ และถือว่าผู้กู้ได้ให้ความยินยอมในการปรับอัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ให้กู้กำหนดทุกครั้งไป การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิได้อาศัยเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไข การปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นทำนองเบี้ยปรับ ศาลจึงไม่มีอำนาจปรับลดลงมาได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในดอกเบี้ยเพียงอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดที่มิใช่กรณีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามประกาศของธนาคาร ก. ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 14.5 ต่อปี
อนึ่ง จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สี่ ทั้งมีการจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่หก ทั้งมีการจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีวันที่มีการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย ส่งผลให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 สิ้นความผูกพันที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอีกต่อไป แต่เมื่อนำเงินฝากไปหักชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากนับแต่วันหักชำระหนี้ แต่ปรากฏว่าหลังวันที่มีการนำเงินฝากไปหักชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้รับดอกเบี้ย 2 ครั้ง จำเลยที่ 3 ได้รับดอกเบี้ย 5 ครั้ง จึงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สี่และที่หกตามลำดับ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สิ้นความผูกพันที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มารับผิดในดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งมิใช่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาความกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีเรื่องอื่น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดในดอกเบี้ยเงินฝากจึงเป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) นอกจากนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยตามจำนวนที่ธนาคารจ่ายไปพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารชำระแทนเป็นต้นไป โดยคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,704.09 บาท รวมเป็นเงิน 15,812.71 บาท แต่ในตอนพิพากษากลับไม่มีการระบุถึงดอกเบี้ยของหนี้เงินทดรองจ่ายนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ครบถ้วนตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้ว