พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีลูกหนี้ร่วมตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560
โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีภายหลังจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 274 ที่แก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่30) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ การบังคับคดีของโจทก์จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน: ศาลไม่ออกหมายบังคับคดีจนกว่าโจทก์จะชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนเพิกถอนการโอน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้เพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านบนที่ดินโฉนดดังกล่าวที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนาง ส. โอนให้แก่จำเลย ให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลย หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาล โจทก์ก็สามารถดำเนินการโดยใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 357 โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดี และที่ศาลพิพากษาให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยนั้น ก็มิใช่การพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสามโดยตรง โจทก์ทั้งสามจึงยังมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนหนี้ค่าใช้จ่ายนี้ หากจำเลยไม่ได้จ่ายค่าใช้จ่าย ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสามที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนไปก่อน แล้วค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทั้งสามได้จ่ายไปนี้ย่อมถือเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์ทั้งสามจะบังคับคดีต่อไปตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 352 วรรคห้า มาตรา 358 วรรคสอง และมาตรา 359 วรรคสี่ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามได้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านบนที่ดินโฉนดดังกล่าว กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดี เพื่อยึดอายัดทรัพย์ของจำเลยบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสามเป็นค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดีแล้วสละสิทธิ โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นและเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะได้รับจากการบังคับชำระหนี้เอาจากบริษัท ก. และหลักประกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.517/2557 ของศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ให้แก่โจทก์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของจำเลยที่ 1 แล้ว การอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง เมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. ตกลงกันได้ จำเลยที่ 1 ขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.517/2557 ของศาลจังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยที่ 1 เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่เหลือแก่โจทก์จนครบถ้วนและโจทก์ตกลงตามข้อเสนอจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจากจำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จึงขอยุติการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และขอให้มีคำสั่งยกเลิกเพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและแจ้งคำสั่งยกเลิกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ย่อมมีผลให้การบังคับคดีตามคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำเนินไปแล้วถูกเพิกถอนไปด้วยเหตุเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (6) อันเป็นการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 292 (1) และ (5) ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 169/2 วรรคสี่ บัญญัติให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขออายัดเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3298/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน กรณีการทุจริตโครงการก่อสร้าง แม้จะเกิดก่อนบังคับใช้กฎหมาย
คำเบิกความของพยานผู้ร้องประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 ซึ่งวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ร. ก. และ ว. มีความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงขายที่ดินให้แก่กรมควบคุมมลพิษตาม ป.อ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 2 ร. ก. และ ว. แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ที่เป็นคู่ความในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 51 วรรคสาม ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะผู้ร่วมกระทำความผิดเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีการทำธุรกรรมกับผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N และผู้คัดค้านที่ 1 กับบริษัทอื่นในกิจการร่วมค้า N ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ว. ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจากบริษัท ค. ที่ ว. ถือหุ้นอยู่ เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ ย่อมรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
เงินที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงินที่ผู้คัดค้านทั้งสามได้รับมาตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างและจ้างเหมาเบ็ดเสร็จที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้ความว่าสัญญาดังกล่าวและสัญญาจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการเกิดขึ้นโดยการทุจริตและกิจการร่วมค้า N เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการทุจริตดังกล่าว โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินและขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริษัทหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N กับได้ความว่า บริษัทผู้คัดค้านทั้งสามเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวพันและกรรมการบริษัทของผู้คัดค้านทั้งสามที่เกี่ยวข้องก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาลงโทษแล้ว เงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่ทำกับกรมควบคุมมลพิษจึงเป็นเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐาน ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 แม้มิได้เป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N แต่ก็เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 3 ยังมี ร. เป็นกรรมการซึ่งมีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่ร่วมกระทำความผิดทั้งในกลุ่มจัดหาที่ดินและกลุ่มประมูลงานก่อสร้างโครงการ และ ร. ได้นำผู้คัดค้านที่ 3 เข้าร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ ร. จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งแม้เงินดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดพิจารณาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ แต่ก็เป็นการจ่ายตามมูลสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้าง ฯ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการทุจริตจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการ ทั้งการพิจารณาคดีนี้กับการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นการพิจารณาวินิจฉัยคนละประเด็น โดยศาลปกครองสูงสุดมิได้พิจารณาประเด็นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และการทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ถึงแม้การจ่ายเงินตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ระหว่างกรมควบคุมมลพิษแก่กิจการร่วมค้า N จะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ก็อาจถูกสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้
คดีขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา และมูลเหตุการขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รับเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นมาตรการทางแพ่งที่ให้อำนาจรัฐติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ครอบครองทรัพย์สินเพื่อมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก อันเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม จึงไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ทางแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องได้โดยไม่มีอายุความ
ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 51 วรรคสาม ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะผู้ร่วมกระทำความผิดเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีการทำธุรกรรมกับผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N และผู้คัดค้านที่ 1 กับบริษัทอื่นในกิจการร่วมค้า N ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ว. ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจากบริษัท ค. ที่ ว. ถือหุ้นอยู่ เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ ย่อมรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
เงินที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงินที่ผู้คัดค้านทั้งสามได้รับมาตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างและจ้างเหมาเบ็ดเสร็จที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้ความว่าสัญญาดังกล่าวและสัญญาจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการเกิดขึ้นโดยการทุจริตและกิจการร่วมค้า N เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการทุจริตดังกล่าว โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินและขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริษัทหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N กับได้ความว่า บริษัทผู้คัดค้านทั้งสามเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวพันและกรรมการบริษัทของผู้คัดค้านทั้งสามที่เกี่ยวข้องก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาลงโทษแล้ว เงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่ทำกับกรมควบคุมมลพิษจึงเป็นเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐาน ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 แม้มิได้เป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N แต่ก็เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 3 ยังมี ร. เป็นกรรมการซึ่งมีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่ร่วมกระทำความผิดทั้งในกลุ่มจัดหาที่ดินและกลุ่มประมูลงานก่อสร้างโครงการ และ ร. ได้นำผู้คัดค้านที่ 3 เข้าร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ ร. จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งแม้เงินดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดพิจารณาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ แต่ก็เป็นการจ่ายตามมูลสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้าง ฯ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการทุจริตจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการ ทั้งการพิจารณาคดีนี้กับการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นการพิจารณาวินิจฉัยคนละประเด็น โดยศาลปกครองสูงสุดมิได้พิจารณาประเด็นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และการทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ถึงแม้การจ่ายเงินตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ระหว่างกรมควบคุมมลพิษแก่กิจการร่วมค้า N จะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ก็อาจถูกสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้
คดีขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา และมูลเหตุการขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รับเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นมาตรการทางแพ่งที่ให้อำนาจรัฐติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ครอบครองทรัพย์สินเพื่อมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก อันเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม จึงไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ทางแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจถอนการยึดทรัพย์เอง ศาลต้องเป็นผู้ชี้ขาดสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำขอยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการในวันดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ การยึดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลตามกฎหมาย ส่วนที่จำเลยที่ 4 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านไปก่อนในวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ตามคำขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ผู้คัดค้านคงมีสิทธิเพียงขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน ดังนั้น ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 4 หรือผู้คัดค้านซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 4 ก่อนการยึดเพียง 2 วัน จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะวินิจฉัยเองว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านให้การยึดที่ดินพิพาทไม่มีผลตามกฎหมาย ทั้งในกรณีนี้ตามกฎหมายก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจถอนการยึดทรัพย์ได้เองและเรียกให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีได้ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้การยึดที่ดินพิพาทไม่มีผลเป็นการยึดตามกฎหมาย เรียกให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีมานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: ถ้อยคำสบประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
การดูหมิ่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136 หมายถึง การด่า ดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว
พันตำรวจเอก ส. โจทก์ร่วม เรียกจำเลยกับพวกไปสอบถามถึงเหตุที่แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่คนร้ายที่ร่วมกันปล้นรถยนต์ ซึ่งได้ความว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ส. เป็นผู้ครอบครองมิใช่จำเลย โจทก์ร่วมจึงให้ ส. เป็นผู้ให้ข้อเท็จจริง ส. แจ้งว่าวันเกิดเหตุพนักงานของบริษัทผู้ให้เช่าชื้อมายึดรถยนต์ของตน เป็นเหตุให้จำเลยเกิดความไม่พอใจกล่าวต่อโจทก์ร่วมว่า "ผู้กำกับเหลี่ยมใส่เราแล้ว" ทั้งที่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามปกติ เพราะก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะรับแจ้งความเรื่องใดย่อมต้องสอบถามข้อเท็จจริงให้ได้ความชัดแจ้งว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นเสียก่อน เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งกันโดยการนำเอาความเท็จมาแจ้ง ที่จำเลยพูดกับโจทก์ร่วมด้วยถ้อยคำดังกล่าวอันหมายถึงโจทก์ร่วมใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่รับแจ้งความตามที่ ส. แจ้ง ทำให้ผู้ที่ได้ยินเข้าใจว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ถ้อยคำดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่เป็นการกล่าวถ้อยคำสบประมาทโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ เป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136
พันตำรวจเอก ส. โจทก์ร่วม เรียกจำเลยกับพวกไปสอบถามถึงเหตุที่แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่คนร้ายที่ร่วมกันปล้นรถยนต์ ซึ่งได้ความว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ส. เป็นผู้ครอบครองมิใช่จำเลย โจทก์ร่วมจึงให้ ส. เป็นผู้ให้ข้อเท็จจริง ส. แจ้งว่าวันเกิดเหตุพนักงานของบริษัทผู้ให้เช่าชื้อมายึดรถยนต์ของตน เป็นเหตุให้จำเลยเกิดความไม่พอใจกล่าวต่อโจทก์ร่วมว่า "ผู้กำกับเหลี่ยมใส่เราแล้ว" ทั้งที่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามปกติ เพราะก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะรับแจ้งความเรื่องใดย่อมต้องสอบถามข้อเท็จจริงให้ได้ความชัดแจ้งว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นเสียก่อน เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งกันโดยการนำเอาความเท็จมาแจ้ง ที่จำเลยพูดกับโจทก์ร่วมด้วยถ้อยคำดังกล่าวอันหมายถึงโจทก์ร่วมใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่รับแจ้งความตามที่ ส. แจ้ง ทำให้ผู้ที่ได้ยินเข้าใจว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ถ้อยคำดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่เป็นการกล่าวถ้อยคำสบประมาทโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ เป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน แม้ไม่ใช่ตัวการโดยตรง
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ยึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งงดการยึด เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์สินนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคสาม หาใช่กรณีที่จะกระทำได้โดยมีคำสั่งอายัดก่อนดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกคำสั่งอายัดก่อน เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยแล้วจึงให้ยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาเรื่องเครื่องหมายการค้า: การขัดขืนคำบังคับและการจับกุมผู้มีอำนาจกระทำการ
เมื่อเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาและคำสั่งชี้แจงของศาลฎีกาเกี่ยวกับข้อสงสัยในการบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้นได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสามในเครื่องหมายการค้ารูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าคำว่า VIKING SHIP เรือใบไวกิ้ง และ ไวกิ้ง จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าที่มีรูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า VIKING SHIP เรือใบไวกิ้ง และ ไวกิ้ง ส่วนเหตุที่ศาลไม่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค199455 ด้วยนั้น เป็นเพียงเพราะโจทก์นำคดีในส่วนนี้มาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเท่านั้น ไม่ได้มีการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาในส่วนนี้ว่า ให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้เครื่องหมายการค้ารูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าคำว่า เรือใบไวกิ้ง กับสินค้าของจำเลยทั้งสาม จึงรวมไปถึงการให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค199455 ด้วย อันถือได้ว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยทั้งสามทราบคำบังคับดังกล่าวแล้ว และได้ความจากคำขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยทั้งสามของโจทก์ประกอบคำแถลงของจำเลยทั้งสามในวันนัดพร้อมเพื่อสอบถามจำเลยทั้งสามว่า จำเลยทั้งสามยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ค199455 อยู่ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ และไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้บังคับได้ จึงเป็นการชอบที่ศาลจะมีคำสั่งจับกุม กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และจำเลยที่ 3 ได้ ตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในคดีกระทำชำเราเด็ก และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
การนำสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ไม่จำต้องได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์เพียงแต่นำสืบให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงก็เป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลจะลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอให้ปล่อยที่ดินจากการบังคับคดี: อำนาจยื่นคำร้อง, ระยะเวลา, และเหตุสุดวิสัย
ผู้ร้องทั้งสองบรรยายคำร้องว่า ผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลในคดีแพ่งโดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งได้มีการแบ่งการครอบครองกันเป็นส่วนสัด อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของตน ขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ ส. และผู้ร้องที่ 2 หาได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องที่ 1 ด้วยไม่ ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้รับมอบอำนาจของ ล. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวเท่านั้น แม้ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่ทำให้ผู้ร้องที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ในฐานะส่วนตัว เมื่อผู้ร้องที่ 1 ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจยื่นคำร้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้