คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภานุวัฒน์ ศุภะพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษและนับโทษต่อสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำในคดีเสพยาเสพติดและลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา บรรยายฟ้องในส่วนของการขอเพิ่มโทษว่า ก่อนคดีนี้จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 2772/2561 ของศาลจังหวัดปทุมธานี ให้จำคุก 9 เดือน ฐานลักทรัพย์ ภายในเวลาห้าปีนับแต่พ้นโทษในคดีดังกล่าว จำเลยมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก ซึ่งความผิดในคดีก่อนและคดีนี้จำเลยได้กระทำในขณะที่มีอายุเกินกว่า 18 ปีแล้ว และมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 และบรรยายฟ้องในส่วนขอให้นับโทษจำคุกต่อว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 1375/2562 ของศาลชั้นต้นซึ่งได้ยื่นฟ้องพร้อมกันต่อศาลชั้นต้นในวันนี้ ขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีในส่วนขอให้เพิ่มโทษและนับโทษต่อแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาบันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษา ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังจำเลยให้การรับสารภาพตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ข้างต้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดจริงและหมายความรวมถึงรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษและเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อดังกล่าวด้วยแล้ว ทั้งความยังปรากฏต่อศาลเองด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 2772/2561 ของศาลชั้นต้น และจำเลยได้มากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จึงอยู่ในเงื่อนไขเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดนี้ตาม ป.อ. มาตรา 92 และเมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนเกิน 6 เดือนจึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่เพิ่มโทษจำเลยและรอการลงโทษจำคุกจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม: พฤติการณ์ร่วมรู้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบมีผลต่อการเป็นตัวการ
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางไปกับจำเลยที่ 2 และร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ช่วยหานายทุนรับจำนำรถที่จำเลยที่ 1 เช่าจากร้าน ภ. แต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ปฏิเสธเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับรถ รวมทั้งเหตุการณ์ในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ช่วยหานายทุนรับจำนำรถที่จำเลยที่ 1 เช่าจากบริษัท ท. โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับรถเช่นเดียวกัน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 กลับยินยอมช่วยหานายทุนรับจำนำรถให้และพากันขับรถไปจังหวัดลำปางแล้วร่วมกันจัดทำสำเนารายการจดทะเบียนรถปลอม โดยจำเลยที่ 3 ให้การรับว่า จำเลยที่ 2 จะได้ค่านายหน้าจากยอดเงินที่มีการจำนำจากเจ้าของรถในอัตราร้อยละ 5 บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 รู้ว่ารถในคดีนี้ไม่สามารถนำไปจำนำโดยถูกต้องตามกฎหมายได้ เพราะไม่มีรายการจดทะเบียนที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครอง จากพฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในการกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเองขัดระเบียบ ก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณาคดี
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงข้อเท็จจริงที่ร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือโต้แย้งคัดค้านการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียง 1 วัน อันแสดงว่าจำเลยมิได้ยอมรับว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบแต่อย่างใด และมิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่จะต้องให้จำเลยแถลงหรือโต้แย้งคัดค้านอีก ซึ่งในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยไม่มีทนายความ ทั้งการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเป็นความผิดพลาดของศาลชั้นต้น จึงไม่สมควรให้จำเลยต้องรับผลร้ายดังกล่าว การที่จำเลยไม่ได้แถลงหรือโต้แย้งคัดค้านในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงหาเป็นการให้สัตยาบันยอมรับการผิดระเบียบ เห็นได้จากจำเลยยังฎีกาโต้แย้งในปัญหาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งเองให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 กับต่อมารับคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ตลอดจนศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องพิจารณาพิพากษาใหม่ และผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1), 252 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989-1990/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อีเมลและการปลอมแปลงเอกสารราชการ: การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นเอกสารได้ตามกฎหมาย
การส่งข้อมูลในรูปแบบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์อื่น ซึ่งเป็นวัตถุอื่นใดทำให้ปรากฏและสามารถอ่านและเข้าใจความหมายได้ อันเป็นหลักฐานแห่งความหมาย จึงเป็นเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 1 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลทันเวลา ทำให้สิ้นสิทธิในการอุทธรณ์คำพิพากษา คดีอาญา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องในวันเดียวกัน คำสั่งยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้ร้องย่อมมีผลทำให้คำร้องของผู้ร้องนั้นเสร็จสำนวนไปจากศาลจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ผู้ร้องชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีแต่ต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงต้องถือว่าเป็นอันยุติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องไม่อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ในคดีอาญา ผู้ร้องจึงไม่อาจอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วนั้น เป็นคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้องของผู้ร้องลงวันที่ 23 มกราคม 2563 นั้น เป็นการขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิใช่การขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ซึ่งเกินกำหนดเวลาที่ผู้ร้องจะขอขยายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและใช้เอกสารราชการปลอม: ผู้เสียหายถูกหลอกให้จ่ายเงินเพื่อทำบัตรประชาชนและบัตรผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน
จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าสามารถติดต่อให้ผู้เสียหายทำบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีสัญชาติไทยและให้ลูกน้องของผู้เสียหายถือบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 รู้จักกับผู้ใหญ่บ้านและปลัดอำเภอ แต่ต้องเสียค่าดำเนินการ ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งมอบเงินให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปให้แก่ผู้ใหญ่บ้านและปลัดอำเภอผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต ที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างดังกล่าวก็เพื่อต้องการเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อผู้เสียหายนำหนังสือประกาศสำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน อนุมัติเพิ่มชื่อผู้เสียหายในทะเบียนบ้านไปติดต่อเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีสัญชาติไทยจึงทราบความจริงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมก่อให้เกิดความผิดหรือเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปกระทำความผิดอาญา ผู้เสียหายย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย 1 ในความผิดฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษหลายกระทงและการลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา มาตรา 21
จำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้ แทนที่จะลดโทษในแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 มากกว่าการลดโทษแต่ละกระทงเสียก่อนแล้วจึงรวมเข้าด้วยกัน เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง หากกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แต่ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ดังนั้นการกำหนดโทษจำคุก 12 เดือน ย่อมมีกำหนดเท่ากับ 360 วัน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนวันตามปีปฏิทินที่อาจมีถึง 366 วัน หรือ 365 วัน สุดแท้แต่ว่าจะเป็นปีอธิกสุรทินหรือปีจันทรคติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยมีเจตนาทำให้เสียชื่อเสียงและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตถือเป็นการละเมิด
ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.3760/2559 ของศาลแขวงสมุทรปราการ จำเลยยกเรื่องการบรรยายฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.2283/2559 ของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งบรรยายฟ้องไว้ในหน้าที่ 18 บรรทัดที่ 11 จากบนว่า "...จำเลยทั้งเก้ามีพฤติการณ์แสดงถึงความไม่สุจริต ฉ้อฉล หลอกลวงชาวต่างชาติ..." มาเป็นเหตุอ้างในฟ้องเพื่อให้โจทก์รับผิดในข้อหาหมิ่นประมาทร่วมกับบริษัท จ. และ พ. การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาจึงเป็นการบ่งชี้ว่า จำเลยมีเจตนาที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการที่ต้องตกเป็นจำเลยในคดีอาญา อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากข้อความที่จำเลยอ้างว่า มีเนื้อหาหมิ่นประมาทจำเลยนั้น ก็พบว่าเป็นเพียงข้อความที่กล่าวมาในคำฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนนิติกรรม ซึ่งเป็นข้อหาหนึ่งในคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.2283/2559 ของศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงต้องถือว่า เป็นเรื่องที่คู่ความหรือทนายความของคู่ความแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนตาม ป.อ. มาตรา 331 ย่อมไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และจำเลยซึ่งมีอาชีพนักกฎหมายย่อมทราบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวดีว่า การกระทำของโจทก์ไม่มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ยังฝืนฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.3760/2559 ของศาลแขวงสมุทรปราการ อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้บุคคลอื่นเสียหาย ส่วนการที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 เป็นไม่รับฟ้องแล้วให้ไปฟ้องจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ต่อศาลที่คดีอยู่ในเขตอำนาจนั้น ก็หาใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อฟ้องโจทก์ไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ขนทรัพย์หลังลักทรัพย์สำเร็จ ไม่ถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง กรณีที่มียานพาหนะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดสามกรณีคือ ผู้กระทำความผิดใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้น มิใช่บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด จำเลยทั้งสองกับพวกลักทรัพย์ลวดทองแดงสำเร็จแล้ว จึงนำลวดทองแดงของผู้เสียหายที่ลักมาซุกซ่อนบรรทุกในรถกระบะของกลางพาลวดทองแดงนั้นไป รถกระบะของกลางจึงไม่ใช่เครื่องมือหรือเป็นส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์อันเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงและไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด อันจะพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับของจำเลยต้องมีพยานหลักฐานประกอบยืนยันความผิด การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และปลอมแปลงเอกสารเป็นกรรมเดียว
คำรับของจำเลยทั้งสองแม้จะถือว่าเป็นคำรับอันเป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของจำเลยทั้งสองและสามารถใช้ยันจำเลยทั้งสองในชั้นพิจารณาของศาลได้ก็ตาม แต่โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบให้มั่นคงว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำผิดตามคำรับด้วยจึงจะลงโทษจำเลยทั้งสองได้
แม้จำเลยที่ 2 ปลอมใบส่งสินค้าและนำใบส่งสินค้าปลอมไปใช้ภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้ลักทรัพย์ของนายจ้างสำเร็จไปแล้ว แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน โดยจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะนำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อปกปิดการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่ตนก่อขึ้น ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
of 16