พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ และการพิจารณาโทษสำหรับความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
ป.วิ.อ มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี...(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง" ซึ่งคำว่า "ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย..."นั้น หมายถึง กรณีที่ศาลตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ปรากฏว่าคำฟ้องที่ยื่นนั้น โจทก์กระทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเขตอำนาจศาลที่ยื่นฟ้องตามมาตรา 157 หรือกระทำไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 158 (1) ถึง (7) มาตรา 159 และมาตรา 160 หากผลการตรวจคำฟ้องปรากฏว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อตามฟ้องโจทก์ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์แล้ว แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ที่ศาลสามารถสั่งให้แก้ไขได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องโดยไม่มีลายมือชื่อโจทก์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และมิได้มีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในฟ้องให้ถูกต้องเสียก่อน จึงเป็นข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงประกอบอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนพบข้อผิดพลาดของโจทก์และศาลชั้นต้นดังกล่าว โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะให้ศาลชั้นต้นสั่งโจทก์แก้ไขฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเสร็จแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และมาตรา 215 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการปลอมเงินตราและใช้เงินปลอมลักทรัพย์ การหักวันคุมขัง และการแจ้งข้อหา
จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราธนบัตรของรัฐบาลไทยชนิดราคา 100 บาท และมีธนบัตรปลอมนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอม เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ทำปลอมและมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้แล้ว จากนั้นจำเลยนำธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์ ด้วยการใส่ธนบัตรปลอมดังกล่าวเข้าไปในช่องรับเงินของตู้เติมเงินบุญเติมของผู้เสียหายเพื่อโอนเงินจำนวนดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้มีชื่อที่จำเลยมีหรือเปิดไว้ใช้งานโดยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาเงินดังกล่าวไป เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องของบริษัทย่อย ผู้ถือหุ้นไม่อาจเรียกร้องแทนได้
กรมธรรม์ประกันภัยพิพาทมีเงื่อนไขความคุ้มครองกรณีภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องสำหรับกรณีที่มีสาเหตุมาจากผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 และกำหนดนิยามของคำว่าผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 ว่าหมายถึงผู้จัดส่งสินค้าซึ่งจัดส่งสินค้าหรือบริการโดยตรงให้แก่โรงงานหรือสถานประกอบการของ ฟ. กับกำหนดนิยามของผู้จัดส่งสินค้าชั้น 2 ว่าหมายถึงผู้จัดส่งสินค้าหรือบริการโดยตรงให้แก่ผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้จัดส่งสินค้าโดยตรงให้แก่บริษัท ต. ไม่สามารถผลิตและจัดส่งสินค้าวัสดุอุปกรณ์จนทำให้บริษัท ต. ไม่อาจผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์เพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ได้ กรณีจึงถือได้ว่าบริษัท ต. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 2 จากที่พยานโจทก์เบิกความประกอบกับตามเอกสารแนบท้ายสัญญาซื้อขายรถยนต์ นิติบุคคลที่เป็นผู้ซื้อรถยนต์สำหรับจำหน่ายในประเทศไทยคือบริษัท ด. และนิติบุคคลที่เป็นผู้ซื้อรถยนต์สำหรับจำหน่ายนอกประเทศไทยคือ ท. ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ประกอบสำเร็จหรือรถยนต์แบบผลิตเป็นชิ้นส่วนตลอดจนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซึ่งผลิตโดยบริษัท ต. คือ บริษัท ด. และ ท. มิใช่โจทก์ ต้องถือว่าบริษัท ต. และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 ตามลำดับ ของบริษัท ด. และ ท. มิใช่ของโจทก์ และเมื่อบริษัท ด. เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. จึงเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1015 และ ท. เป็นกิจการที่ตั้งอยู่ในมลรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงอักษรย่อ LLC ที่ต่อท้ายชื่อของกิจการแล้ว น่าเชื่อว่าเป็นกิจการประเภทบริษัทจำกัดความรับผิดตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ลงทุนในบริษัท บริษัท ด. และ ท. จึงเป็นคนละนิติบุคคลกับโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐเดลาแวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าโจทก์จะอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกิจการของบริษัท ด. และ ท. โดยผ่านการถือหุ้นร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ด้วยอาศัยวิธีการใดก็ตาม ความเสียหายและสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทจากจำเลยสำหรับกรณีที่เกิดภาวะธุรกิจหยุดชะงักของบริษัท ด. และ ท. หากจะพึงมี ก็มิใช่ความเสียหายและสิทธิเรียกร้องของโจทก์
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องสำหรับกรณีตามคำฟ้องเพราะโจทก์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและต้องจัดทำงบการเงินโดยใช้หลักเกณฑ์ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการของบริษัทย่อยเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของส่วนของเจ้าของทั้งหมด ก็จะต้องแสดงผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินของโจทก์และความเสียหายของบริษัทย่อยก็จะถูกนำมารวมอยู่ในงบการเงินของโจทก์นั้น แม้จะฟังว่ามีการจัดทำงบการเงินตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่กิจการของโจทก์ บริษัท ด. และ ท. ก็ยังคงมีการดำเนินกิจการในฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและกัน และย่อมมีการจัดทำงบการเงินของแต่ละกิจการไว้ต่างหากจากกันตามกฎหมาย การจัดทำงบการเงินของโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการจัดทำรายงานทางการเงินเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ บริษัท ด. และ ท. เป็นกิจการเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการแสดงฐานะของกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกันต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่ก็หาได้มีผลทำให้โจทก์ บริษัท ด. และ ท. ควบเข้ากันเป็นนิติบุคคลเดียวกันในทางกฎหมาย นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีในศาลโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนกันและกันได้แต่อย่างใด ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยจึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องของโจทก์จากการที่มีบริษัท ต. และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 ตามลำดับ โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแทนบริษัท ด. และ ท. ในความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องได้
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องสำหรับกรณีตามคำฟ้องเพราะโจทก์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและต้องจัดทำงบการเงินโดยใช้หลักเกณฑ์ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการของบริษัทย่อยเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของส่วนของเจ้าของทั้งหมด ก็จะต้องแสดงผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินของโจทก์และความเสียหายของบริษัทย่อยก็จะถูกนำมารวมอยู่ในงบการเงินของโจทก์นั้น แม้จะฟังว่ามีการจัดทำงบการเงินตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่กิจการของโจทก์ บริษัท ด. และ ท. ก็ยังคงมีการดำเนินกิจการในฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและกัน และย่อมมีการจัดทำงบการเงินของแต่ละกิจการไว้ต่างหากจากกันตามกฎหมาย การจัดทำงบการเงินของโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงการจัดทำรายงานทางการเงินเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ บริษัท ด. และ ท. เป็นกิจการเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการแสดงฐานะของกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกันต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่ก็หาได้มีผลทำให้โจทก์ บริษัท ด. และ ท. ควบเข้ากันเป็นนิติบุคคลเดียวกันในทางกฎหมาย นอกจากนี้ก็ไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีในศาลโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนกันและกันได้แต่อย่างใด ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยจึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องของโจทก์จากการที่มีบริษัท ต. และบริษัท อ. เป็นผู้จัดส่งสินค้าชั้น 1 และชั้น 2 ตามลำดับ โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแทนบริษัท ด. และ ท. ในความเสียหายจากภาวะธุรกิจหยุดชะงักต่อเนื่องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานจัดให้มีการเล่นการพนันและฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินถือเป็นกรรมเดียว ศาลแก้โทษเป็นกักขัง
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดระยอง โดยขณะเกิดเหตุได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ข้อ 3 กำหนดห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนด ประกาศคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 1/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ได้กำหนดให้จังหวัดระยองเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 7 มกราคม 2564 ข้อ 2 ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่โรค ณ ที่ใด ๆ ทั่วราชอาณาจักร และข้อ 3 ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย ซึ่งมีประกาศหรือคำสั่งให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เว้นแต่การทำกิจกรรมโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคโดยมีมาตรการทางสาธารณสุขรองรับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด แม้ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 19/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ออกใช้บังคับในภายหลัง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ได้มีการกำหนดให้ยกเลิกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ที่ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยแต่อย่างใด เพียงแต่ปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามระดับพื้นที่สถานการณ์ รวมทั้งปรับเกณฑ์การพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับแผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว โดยในข้อ 2 ยังคงกำหนดห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสกันที่สามารถแพร่โรคได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ที่จะพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยกำหนดปรับปรุงเฉพาะเรื่องจำนวนบุคคลที่เข้ารวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ ซึ่งพื้นที่ควบคุมสูงสุด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าสองร้อยคนเท่านั้น แต่ยังกำหนดไว้ในข้อ 2 วรรคสอง ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนดอยู่เช่นเดิม ทั้งตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 19/2564 ก็ยังคงกำหนดให้จังหวัดระยองที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดเช่นเดียวกัน ดังนั้นข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ที่ออกใช้บังคับภายหลังจึงหาได้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ความผิดฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจัดให้มีการเล่นการพนัน โดยประกาศโฆษณาชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นพนันและฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
ความผิดฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจัดให้มีการเล่นการพนัน โดยประกาศโฆษณาชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นพนันและฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อขอเปลี่ยนบัตรประชาชน โดยผู้มีสัญชาติไทย ศาลแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย ฉะนั้นในวันที่ 29 มกราคม 2557 และวันที่ 20 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จำเลยจึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2512 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุดโดยแจ้งข้อมูลว่าจำเลยเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 สัญชาติไทย พร้อมเลขประจำตัวประชาชนของ จ. แม้ที่จำเลยแจ้งว่ามีสัญชาติไทยไม่เป็นความเท็จ แต่การที่จำเลยแจ้งว่าเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 นั้น เป็นความเท็จเพราะจำเลยเกิดวันที่ 1 มกราคม 2512 และจำเลยยังใช้เลขประจำตัวประชาชนของ จ. โดยอ้างว่าจำเลยชื่อ จ. เป็นบุตร ย. และ ส. ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 137 ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตาม ป.อ. มาตรา 267 และฐานแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุด ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่เป็นการยอมความ สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงของผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีข้อความใดแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โอกาสแก่จำเลยในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น กรณีที่ผู้เสียหายจะไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาแก่จำเลย รวมถึงการถอนคำร้องทุกข์ก็เป็นเงื่อนไขที่ผู้เสียหายจะปฏิบัติในภายหน้าหากจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่ผู้เสียหายจนครบถ้วน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไปแต่อย่างใด ทั้งไม่มีผลเป็นการยอมความโดยชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยยังมิได้ใช้เงินตามเช็คทั้งสองฉบับให้แก่ผู้เสียหาย และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 คดีจึงยังไม่เลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมรดกอย่างถูกต้อง: การส่งหมายเรียกและแจ้งสิทธิแก่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด
เดิมผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ร. ผู้ตาย โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือพินัยกรรมของ ร. ฉบับลงวันที่ 6 ธันวาคม 2557 ซึ่งพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นทายาทตามพินัยกรรม และให้ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประกาศตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสองโดยชอบ ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของผู้ตาย มีคำขอบังคับให้เพิกถอนพินัยกรรม อ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมจริง แต่ทำโดยการใช้กลฉ้อฉลและสำคัญผิด ตกเป็นโมฆะ และผู้ร้องทั้งสองมิใช่ทายาทโดยธรรม หรือผู้มีส่วนได้เสีย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำคัดค้านว่ารับคำคัดค้าน สำเนาให้ผู้ร้องทั้งสอง จึงให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ซึ่งบัญญัติว่า "ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับดังต่อไปนี้ (1) ให้เริ่มคดีโดยการยื่นคำร้องขอต่อศาล ...(4) บุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นว่านี้มาเป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท..." ซึ่ง ป.วิ.พ. มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคดีมีข้อพิพาทไว้ในภาค 2 ลักษณะ 1 มาตรา 170 ถึงมาตรา 188 เมื่อคำคัดค้านของผู้คัดค้านมีคำขอบังคับเป็นประเด็นสำคัญสองประการคือ 1. ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนพินัยกรรมของผู้ตายโดยกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ด้วยเหตุการใช้กลฉ้อฉล และสำคัญผิด เท่ากับผู้คัดค้านโต้แย้งสิทธิโดยตรงต่อทายาทตามพินัยกรรมทุกคน เพราะหากฟังได้ตามคำคัดค้านเท่ากับทายาทตามพินัยกรรมย่อมไม่ได้รับสิทธิที่ระบุไว้ในพินัยกรรม คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเท่ากับเป็นคำฟ้องต่อทายาทตามพินัยกรรมทุกคน และเป็นฟ้องแย้งต่อผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งกรณีจะถือว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นตัวแทนของทายาทตามพินัยกรรมทุกคนก็มิได้ เนื่องจากยังไม่มีการตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านนำส่งหมายเรียกพร้อมสำเนาคำคัดค้านต่อทายาทตามพินัยกรรมทุกคนและผู้ร้องทั้งสองเพื่อให้การต่อสู้คดี 2. ผู้คัดค้านมีคำขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมแต่เพียงผู้เดียว เมื่อปรากฏตามบัญชีเครือญาติเอกสารท้ายคำร้องของผู้ร้องทั้งสองว่ายังมีทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกแทนที่อีก 7 คน รวมถึงผู้ร้องสอดในคดีด้วย และอาจยังมีทายาทโดยธรรมอื่นที่ยังไม่ปรากฎ รวมถึงอาจมีผู้มีส่วนได้เสียอื่นอีก ซึ่งบุคคลเหล่านี้ย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะเข้ามาในคดี เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทแล้ว ชอบที่จะสั่งให้ผู้คัดค้านส่งหมายนัดพร้อมสำเนาคำคัดค้านให้ทายาทโดยธรรมทุกคนตามรายชื่อที่ปราฏในขณะนั้น รวมถึงให้มีการประกาศสาธารณะคำคัดค้านเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียอื่นที่อาจมีได้ทราบและเข้ามาปกป้องสิทธิ กรณีถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นกรณีเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการส่งคำคู่ความและการพิจารณาคดี อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และ 252 เห็นควรให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทอาคารชุด: ค่าส่วนกลางค้างชำระ, หนี้ค่าใช้จ่าย, เงินเพิ่ม, และความรับผิดชอบของเจ้าของร่วม
การกำหนดเงินเพิ่มจากหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระของเจ้าของห้องชุด เป็นกรณีการค้างชำระเงินเกินหกเดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ที่จดทะเบียนกับทางราชการ และมีการรับรองโดยที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม (ครั้งแรก) ของโจทก์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 โดยจำเลยมีตัวแทนในฐานะเป็นเจ้าของห้องชุดส่วนหนึ่งร่วมประชุมและรับรองข้อบังคับดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นผู้ยกร่างข้อบังคับอาคารชุดของโจทก์และนำไปจดทะเบียนต่อทางราชการและมีการจดทะเบียนและรับรองข้อบังคับดังกล่าวแล้ว เจ้าของร่วมห้องชุดทุกคนรวมทั้งจำเลยจึงต้องผูกพันตามข้อบังคับของโจทก์ เมื่อพิจารณาข้อบังคับ หมวดที่ 11 การออกค่าใช้จ่ายของเจ้าของร่วม ข้อ 31 ถึงข้อ 38 ซึ่งตามข้อบังคับข้อ 35.4 ย่อหน้าสุดท้ายระบุว่า "...เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามข้อบังคับข้างต้น ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบ (20) ต่อปี...เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522..." โดยอัตราเงินเพิ่มดังกล่าวเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 18/1 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 จึงถือเป็นข้อตกลงร่วมกันของเจ้าของห้องชุดทุกคนรวมถึงจำเลยซึ่งเปลี่ยนฐานะจากเดิมที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารชุดกลายเป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดรายหนึ่ง และต้องรับผิดชอบในเงินเพิ่มตามมาตรา 18/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง สำหรับค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระเช่นเดียวกับเจ้าของร่วมคนอื่น ซึ่งเงินเพิ่มที่เกิดขึ้นทั้งหมดตลอดมาจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จสิ้นนั้น ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางทันทีด้วยตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18/1 วรรคท้าย และข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 35.4 วรรคท้าย ซึ่งมีผลต่อเนื่องตามมาถึงการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้จากภาระผูกพันของห้องชุดห้องนั้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้เจ้าของห้องชุดรายใหม่ ตามข้อบังคับข้อ 9.12 ของโจทก์ เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องจึงต้องรับผิดชอบในเงินเพิ่มซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จะนำมาใช้ในการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางอันเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมอย่างเคร่งครัดและเสมอภาคเท่าเทียม ซึ่งหากปรับลดให้ต่างไปจากข้อบังคับ ก็จะมีผลต่อเจ้าของห้องชุดคนอื่นที่ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงกำหนดเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ต่อปี ของต้นเงิน 3,939,995.40 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ตามคำขอบังคับของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ามนุษย์: การรับฟังพยานก่อนฟ้อง, อำนาจศาล, และการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
คำฟ้องโจทก์บรรยายถึงรายละเอียดการกระทำผิดของจำเลยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้อง โดยระบุสถานที่เกิดเหตุในประเทศไทย มิได้ระบุว่าสถานที่เกิดเหตุนอกราชอาณาจักรแต่อย่างใด แม้ตามฟ้องมีการระบุถึงการกระทำที่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นคนสัญชาติลาว และผลการหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ได้นำพาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นคนสัญชาติลาว เข้ามาในราชอาณาจักรไทยให้จำเลยรับไว้ที่จังหวัดหนองคายก็ตาม ก็ไม่ปรากฏรายละเอียดในฟ้องถึงการกระทำของจำเลยนอกราชอาณาจักร และแม้หากมีการหลอกลวงของจำเลยต่อผู้เสียหายที่ 2 นอกราชอาณาจักร ก็เป็นเพียงการตระเตรียม พยายาม หรือการกระทำส่วนหนึ่งเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรเท่านั้น ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 5 ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรทั้งสิ้น กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 20 ที่บัญญัติ ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การสืบพยานก่อนฟ้องตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 31 ไม่มีเงื่อนไขให้ต้องรอหรือแจ้งผู้ต้องหา จำเลย หรือทนายมาถามค้านก่อนสืบพยานแต่อย่างใด เพราะศาลต้องสืบพยานทันทีที่ได้รับคำร้องและเป็นผู้ไต่สวนค้นหาความจริงรวมถึงถามค้านแทนฝ่ายผู้ต้องหาหรือจำเลย และแม้หากมีจำเลยหรือทนายมา ศาลก็อาจไม่อนุญาตให้ถามค้านก็ได้ การมิได้ถามค้านจึงมิใช่เหตุที่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นสืบพยานก่อนฟ้องรับฟังไม่ได้
การสืบพยานก่อนฟ้องตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 31 ไม่มีเงื่อนไขให้ต้องรอหรือแจ้งผู้ต้องหา จำเลย หรือทนายมาถามค้านก่อนสืบพยานแต่อย่างใด เพราะศาลต้องสืบพยานทันทีที่ได้รับคำร้องและเป็นผู้ไต่สวนค้นหาความจริงรวมถึงถามค้านแทนฝ่ายผู้ต้องหาหรือจำเลย และแม้หากมีจำเลยหรือทนายมา ศาลก็อาจไม่อนุญาตให้ถามค้านก็ได้ การมิได้ถามค้านจึงมิใช่เหตุที่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นสืบพยานก่อนฟ้องรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราโดยใช้อาวุธ: เจตนาทำให้เกิดความกลัวเป็นเหตุสำคัญ
การกระทำชำเราโดยใช้อาวุธ หมายถึง การกระทำชำเราโดยผู้กระทำมีอาวุธมาแสดงเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดของตน หาใช่หมายความถึงกับผู้กระทำต้องใช้อาวุธ หรือจะใช้อาวุธในขณะกระทำชำเราไม่
จำเลยเดินไปเคาะประตูบ้านผู้ร้องในเวลาประมาณ 23 นาฬิกา ไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดเลยที่ต้องนำอาวุธมีดดาบปลายตัดติดตัวไปด้วย เมื่อผู้ร้องออกมาเปิดประตู จำเลยก็ดึงมือผู้ร้องเข้าไปข่มขืนกระทำชำเราทันที แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องมาตั้งแต่แรกแล้ว การนำอาวุธมีดดังกล่าวติดตัวไปจึงไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นได้นอกจากจะฟังว่า จำเลยมีเจตนาที่จะให้ผู้ร้องเกิดความกลัว และยอมให้จำเลยกระทำชำเราได้สำเร็จโดยใช้อาวุธ
จำเลยเดินไปเคาะประตูบ้านผู้ร้องในเวลาประมาณ 23 นาฬิกา ไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดเลยที่ต้องนำอาวุธมีดดาบปลายตัดติดตัวไปด้วย เมื่อผู้ร้องออกมาเปิดประตู จำเลยก็ดึงมือผู้ร้องเข้าไปข่มขืนกระทำชำเราทันที แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้ร้องมาตั้งแต่แรกแล้ว การนำอาวุธมีดดังกล่าวติดตัวไปจึงไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นได้นอกจากจะฟังว่า จำเลยมีเจตนาที่จะให้ผู้ร้องเกิดความกลัว และยอมให้จำเลยกระทำชำเราได้สำเร็จโดยใช้อาวุธ