พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่สมบูรณ์ ผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญา ส่งมอบทรัพย์สินไม่ได้จดทะเบียน ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบ่ายเบี่ยงชำระค่าเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน จำเลยมีสิทธิบ่ายเบี่ยงไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ได้โดยไม่ถือว่าผิดนัด โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ติดตามทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยและจำเลยมิได้โต้แย้งสัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันโดยปริยาย เมื่อเหตุแห่งการสิ้นสุดของสัญญาสืบเนื่องมาจากความผิดของโจทก์ที่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อให้จำเลยจดทะเบียนรถที่เช่าซื้อต่อกรมการขนส่งทางบกและได้ความว่าเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสูญหายไป การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจเพิกเฉยต่อการจดทะเบียนรถที่เช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่าตามปกติประเพณีในการทำสัญญาเช่าซื้อที่ถือปฏิบัติกันมาผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถบรรทุกหรือรถหางพ่วงพร้อมอุปกรณ์โดยทั่วไปจะถือว่าตนมีหน้าที่เพียงส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้ใช้ประโยชน์เท่านั้น ส่วนการดำเนินการทางทะเบียนและเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนซึ่งตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จะมีอยู่และต้องจัดการอย่างไรไม่ใช่ข้อสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงดังเช่นที่โจทก์ปฏิบัติ ประกอบกับปรากฏว่าเอกสารต่าง ๆ ของสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ทำกับผู้บริโภครายอื่นสูญหายอีกจำนวนมาก ข้อเท็จจริงที่กล่าวมานับว่าการประกอบธุรกิจของโจทก์ย่อหย่อนมิได้กระทำไปด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยายกับทั้งโจทก์มีพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าขาดราคา เบี้ยปรับ ค่าติดตามรถบรรทุกที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตของผู้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค การคิดดอกเบี้ยเกินสมควร
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 บัญญัติหลักแห่งการใช้สิทธิและการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจไว้ว่า "ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม" บทบัญญัติดังกล่าวแตกต่างจากการใช้สิทธิและการชำระหนี้ของบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ที่บัญญัติให้บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต เพราะต้องการยกระดับมาตรฐานความสุจริตของผู้ประกอบธุรกิจในการใช้สิทธิและในการชำระหนี้ให้ยิ่งไปกว่าบุคคลทั่วไปจะพึงมีตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติต่อผู้บริโภคไม่ด้อยไปกว่ามาตรฐานทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจในกิจการทำนองเดียวกันประพฤติปฏิบัติต่อผู้บริโภค ทั้งต้องมีจริยธรรมในการประกอบกิจการภายใต้ระบบธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม มีความรับผิดชอบ ดำเนินการด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค อันจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจควบคู่กันไป หากผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิหรือชำระหนี้ในเกณฑ์ที่ด้อยกว่ามาตรฐานความสุจริตดังกล่าวแล้ว ย่อมเท่ากับว่าผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิไม่สุจริต และศาลไม่อาจบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ใช้สิทธิไม่สุจริตเช่นนั้นได้ เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นที่มาแห่งการใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งประกอบธุรกิจบริษัทบริหารสินทรัพย์ และรับโอนสิทธิเรียกร้องที่ธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ต่อจำเลยทั้งสอง ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ธนาคาร น. ในวันใด และธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมอาจใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฉบับลงวันที่ 23 เมษายน 2550 ได้ตั้งแต่เวลาใด รวมถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้วได้ใช้สิทธิบังคับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ในทันทีที่มีโอกาสกระทำได้หรือภายในระยะเวลาอันสมควรหรือไม่ พฤติการณ์ของธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมกับโจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องมาในปี 2557 ยังคงทอดเวลาให้เนิ่นช้ากว่าจะนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 เป็นเวลาถึงห้าปีเศษ จนเป็นเหตุให้ภาระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดสูงเกินไปกว่าต้นเงินที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้เดิมและโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้บริโภค กรณีนับเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตและไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่กำหนดให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยหลังจากวันฟ้องจึงสมควรแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นการเข้าใช้บัญชีผู้บริโภคโดยไม่แจ้งเหตุผล เป็นการละเมิดสิทธิ และขัดต่อหลักสุจริตตาม พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
จำเลยประกอบธุรกิจในการทำตลาดสินค้าหรือบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสื่อสารข้อมูลบนแพลตฟอร์มในเว็บไซต์ของจำเลย เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่นโดยตรงต่อบุคคลทั่วไปในฐานะเป็นผู้บริโภคที่สมัครเข้ารับบริการในเว็บไซต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่น เข้าลักษณะตามนิยามศัพท์คำว่า "ตลาดแบบตรง" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นการเข้าถึงบริการของผู้บริโภคโดยไม่แจ้งเหตุผล ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกาตัดสินให้คืนสิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภค
จำเลยประกอบธุรกิจในการทำตลาดสินค้าหรือบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการสื่อสารข้อมูลบนแพลตฟอร์มในเว็บไซต์ของจำเลย เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่นโดยตรงต่อบุคคลทั่วไปในฐานะเป็นผู้บริโภคที่สมัครเข้ารับบริการในเว็บไซต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากจำเลยและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรายอื่น เข้าลักษณะตามนิยามศัพท์คำว่า "ตลาดแบบตรง" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
การนำหลัก "เสรีภาพในการทำสัญญา" มาใช้บังคับดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรองหรือไม่มีอำนาจเหนือจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ย่อมไม่อาจนำมาใช้ได้ในขณะที่ธุรกิจการค้าขายในสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12
การระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้รับบริการโดยเป็นดุลพินิจฝ่ายเดียวของจำเลยโดยไม่จำต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจควบคุมและกำกับดูแลจำเลยผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบและถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ฝ่ายผู้รับบริการหากจะยกเลิกการรับบริการต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงที่ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นสิทธิของผู้บริโภครายอื่นที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (1) (3)
จำเลยระงับการเข้าใช้บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยมิได้แจ้งเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การเยียวยาให้โจทก์สามารถกลับไปเข้าถึงบัญชีของโจทก์ในเว็บไซต์ของจำเลยอยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้จำเลยกระทำการได้และเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่งกว่าการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอดังกล่าวมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับที่เหมาะสมได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39
ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ได้เสียไป รวมทั้งลักษณะและวิธีการดำเนินคดีของโจทก์ตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลได้กำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายอื่นให้แก่โจทก์อย่างเหมาะสมแล้ว จึงไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6176/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมสนามกอล์ฟ - การบังคับใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
โจทก์ทั้งหกสิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งหกสิบเป็นสมาชิกสโมสรกอล์ฟของจําเลย จําเลยดูแลรักษาและบริหารสนามกอล์ฟตลอดจนบริการอื่น ๆ ไม่ดี แต่จําเลยเพิ่มค่าบํารุงสนามรายปีโดยพลการ ทำให้โจทก์ทั้งหกสิบขายสิทธิการเป็นสมาชิกต่อได้ยากและราคาไม่ดี นอกจากนี้ยังตัดสิทธิสมาชิกตลอดชีพ คงเหลือ 30 ปี กับเพิ่มค่าโอนสิทธิให้ทายาทซึ่งเดิมไม่มีและเรียกเก็บค่ารักษาสิทธิปีละ 2,400 บาท มีกำหนด 3 ปีจากสมาชิกที่ขอระงับสิทธิชั่วคราวซึ่งเดิมไม่ได้เรียกเก็บและบังคับหากสมาชิกใดไม่จ่ายค่าบํารุงรายปีตามราคาที่จําเลยต้องการ จําเลยจะไม่ออกตั๋วให้สมาชิกใช้สนามกอล์ฟและเล่นกอล์ฟ เป็นการกล่าวอ้างว่าจําเลยในฐานผู้ให้บริการขึ้นค่าบํารุงรายปี เพิ่มค่าโอนสิทธิ หรือออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่กระทบสิทธิของโจทก์ทั้งหกสิบโดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งหกสิบเดือดร้อนจําต้องยอมจ่ายคําบํารุงโดยไม่สมัครใจ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าการกระทำของจําเลยเป็นการกระทำผิดสัญญา นับว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งหกสิบแล้ว โจทก์ทั้งหกสิบจึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ทั้งหกสิบยอมรับว่าจําเลยสามารถเปลี่ยนแปลงค่าบำรุงรักษาสนามรายปี ค่าธรรมเนียมการโอนสมาชิก หรือกำหนดข้อบังคับได้ตามความเหมาะสมเพียงแต่โจทก์ทั้งหกสิบอ้างว่า จําเลยเรียกเก็บในอัตราที่ไม่เหมาะสมและเป็นการเอาเปรียบโจทก์ทั้งหกสิบซึ่งเป็นผู้บริโภคอันไม่เป็นธรรม และจําเลยไม่บำรุงรักษาสนามกอล์ฟให้มีความเหมาะสมดังที่โฆษณาไว้เท่านั้น โจทก์ทั้งหกสิบได้สิทธิการเป็นสมาชิกจากจําเลยก่อนมี พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 12 บัญญัติว่าไม่ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงไม่อาจนําพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกําหนดตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งหกสิบกับจําเลยได้
เมื่อพิจารณาจากค่าบํารุงสนามรายปี ค่าโอนสมาชิก ค่ารักษาสิทธิของสมาชิกของสนามกอล์ฟของจําเลย เปรียบเทียบกับสนามกอล์ฟอื่นที่อยู่ในย่านเดียวกันและมีมาตรฐานสนามระดับเดียวกัน เห็นได้ว่ามีอัตราที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบำรุงรักษาสนามรายปีของจําเลยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายปี 2549 ค่าโอนสิทธิสมาชิกเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2546 และค่ารักษาสิทธิเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายในปี 2553 และโจทก์ทั้งหกสิบชําระเงินในอัตราที่จําเลยเรียกเก็บตลอดมา อันแสดงว่าจําเลยได้เปลี่ยนแปลงอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สอดคล้องกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสนามอื่นในระดับมาตรฐานสนามเดียวกัน การที่จําเลยเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงเป็นการกระทำโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 แล้ว
การที่โจทก์ทั้งหกสิบยอมรับว่าจําเลยสามารถเปลี่ยนแปลงค่าบำรุงรักษาสนามรายปี ค่าธรรมเนียมการโอนสมาชิก หรือกำหนดข้อบังคับได้ตามความเหมาะสมเพียงแต่โจทก์ทั้งหกสิบอ้างว่า จําเลยเรียกเก็บในอัตราที่ไม่เหมาะสมและเป็นการเอาเปรียบโจทก์ทั้งหกสิบซึ่งเป็นผู้บริโภคอันไม่เป็นธรรม และจําเลยไม่บำรุงรักษาสนามกอล์ฟให้มีความเหมาะสมดังที่โฆษณาไว้เท่านั้น โจทก์ทั้งหกสิบได้สิทธิการเป็นสมาชิกจากจําเลยก่อนมี พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 12 บัญญัติว่าไม่ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงไม่อาจนําพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกําหนดตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งหกสิบกับจําเลยได้
เมื่อพิจารณาจากค่าบํารุงสนามรายปี ค่าโอนสมาชิก ค่ารักษาสิทธิของสมาชิกของสนามกอล์ฟของจําเลย เปรียบเทียบกับสนามกอล์ฟอื่นที่อยู่ในย่านเดียวกันและมีมาตรฐานสนามระดับเดียวกัน เห็นได้ว่ามีอัตราที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบำรุงรักษาสนามรายปีของจําเลยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายปี 2549 ค่าโอนสิทธิสมาชิกเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2546 และค่ารักษาสิทธิเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายในปี 2553 และโจทก์ทั้งหกสิบชําระเงินในอัตราที่จําเลยเรียกเก็บตลอดมา อันแสดงว่าจําเลยได้เปลี่ยนแปลงอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สอดคล้องกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสนามอื่นในระดับมาตรฐานสนามเดียวกัน การที่จําเลยเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงเป็นการกระทำโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม-หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ความรับผิดของสถานพยาบาล, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์เป็นสถานบริการเอกชน ในความหมายของกรมบัญชีกลางและไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 แต่ให้ความร่วมมือกับนโยบายของรัฐบาลโดยจะไม่ปฏิเสธให้การรักษาผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงเป็นนิติสัมพันธ์ในทางแพ่งว่าด้วยสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากจำเลยทั้งสองได้
พฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ดำเนินการย้ายจำเลยที่ 1 ไปรักษายังโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในวันที่ 11 เม.ย. 56 ซึ่งเป็นวันที่โรงพยาบาลดังกล่าวมีเตียงว่าง โดยมีเหตุผลเพียงว่า จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระค่ารักษาพยาบาลหรือทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจได้ใช้สิทธิแห่งตนโดยไม่ได้คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 12 ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำเลยที่ 1 เฉพาะที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ 24 มี.ค. 56 ถึงวันที่ 11 เม.ย. 56 แก่โจทก์เท่านั้น
จำเลยร่วมทำหน้าที่เป็นหน่วยเบิกจ่ายกลาง (Clearing House) สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สถานบริการนอกเครือข่าย 3 กองทุน ที่ให้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติโดยสถานบริการสามารถให้บริการได้โดยไม่ต้องตรวจสอบสิทธิก่อน โดยจำเลยร่วมจะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่แต่ละกองทุนหรือหน่วยบริการต้นสังกัดกำหนด และจะเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายคืนจากกองทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ป่วยต่อไป แต่นโยบายดังกล่าวไม่มีกฎหมายรองรับหรือบังคับไม่ให้โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บเงินส่วนเกินจากผู้ป่วยได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้อาศัยสิทธิจากกองทุนสวัสดิการข้าราชการ มิใช่ผู้ที่ได้ยื่นคำขอลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจำตามกฎหมายที่กำหนด จึงไม่อาจนำข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้บริการสาธารณสุข กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2555 มาใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยร่วมทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลของจำเลยที่ 1 ไปตามแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริการสาธารณสุข ตามนโยบายบูรณาการ 3 กองทุน กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินแล้ว จำเลยร่วมย่อมไม่อาจร่วมกับจำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์อีกเนื่องจากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
การประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่สายด่วน สปสช. 1330 ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสถานบริการนอกเครือข่ายบริการ 3 กองทุน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวมาให้จำเลยร่วมต้องร่วมรับผิดหรือรับผิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นแทนจำเลยทั้งสองได้
พฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ดำเนินการย้ายจำเลยที่ 1 ไปรักษายังโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในวันที่ 11 เม.ย. 56 ซึ่งเป็นวันที่โรงพยาบาลดังกล่าวมีเตียงว่าง โดยมีเหตุผลเพียงว่า จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระค่ารักษาพยาบาลหรือทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจได้ใช้สิทธิแห่งตนโดยไม่ได้คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 12 ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำเลยที่ 1 เฉพาะที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ 24 มี.ค. 56 ถึงวันที่ 11 เม.ย. 56 แก่โจทก์เท่านั้น
จำเลยร่วมทำหน้าที่เป็นหน่วยเบิกจ่ายกลาง (Clearing House) สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สถานบริการนอกเครือข่าย 3 กองทุน ที่ให้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติโดยสถานบริการสามารถให้บริการได้โดยไม่ต้องตรวจสอบสิทธิก่อน โดยจำเลยร่วมจะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่แต่ละกองทุนหรือหน่วยบริการต้นสังกัดกำหนด และจะเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายคืนจากกองทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ป่วยต่อไป แต่นโยบายดังกล่าวไม่มีกฎหมายรองรับหรือบังคับไม่ให้โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บเงินส่วนเกินจากผู้ป่วยได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้อาศัยสิทธิจากกองทุนสวัสดิการข้าราชการ มิใช่ผู้ที่ได้ยื่นคำขอลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจำตามกฎหมายที่กำหนด จึงไม่อาจนำข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้บริการสาธารณสุข กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2555 มาใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยร่วมทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลของจำเลยที่ 1 ไปตามแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริการสาธารณสุข ตามนโยบายบูรณาการ 3 กองทุน กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินแล้ว จำเลยร่วมย่อมไม่อาจร่วมกับจำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์อีกเนื่องจากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
การประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่สายด่วน สปสช. 1330 ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสถานบริการนอกเครือข่ายบริการ 3 กองทุน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวมาให้จำเลยร่วมต้องร่วมรับผิดหรือรับผิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นแทนจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญา: สัญญาผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมขัดต่อกฎหมายค้ำประกันใหม่
ก่อนที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามจะทำสัญญากัน ได้มีการตรา พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ขึ้นโดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ว่าด้วยค้ำประกันหลายมาตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ยกเลิกมาตรา 691 (เดิม) และเพิ่มเติม มาตรา 681/1 ซึ่งบัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งว่า ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ค้ำประกันมีสถานะเป็นลูกหนี้ชั้นที่สองอย่างแท้จริง จึงห้ามเจ้าหนี้ทำสัญญาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะลูกหนี้ร่วมในหนี้ที่ตนเป็นผู้ค้ำประกัน แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการทำสัญญาอื่นที่ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน ในการตีความนอกจากตีความจากข้อความที่เขียนไว้ในสัญญาแล้วยังต้องตีความตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรและต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปรกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 และมาตรา 368 จำเลยที่ 1 ทำคำเสนอขอเช่าซื้อรถโดยระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อรถยนต์จากเจ้าของหรือผู้จำหน่าย จึงประสงค์ขออนุมัติสินเชื่อจากโจทก์เพื่อนำไปชำระราคาแก่เจ้าของหรือผู้จำหน่ายโดยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำคำเสนอขอทำหนังสือยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยระบุในคำเสนอว่าเพื่อให้โจทก์พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าตามคำขอเพื่อให้ผู้เช่าได้รับรถคันที่ขอเช่าซื้อไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเช่าซื้อ แสดงให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามว่า จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวประสงค์จะซื้อรถโดยขอสินเชื่อจากโจทก์ แต่เพื่อให้แน่ใจว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จึงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญายินยอมผูกพันร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย อันเป็นประโยชน์แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้รับผลประโยชน์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับรถคันที่เช่าซื้อแต่อย่างใดไม่ การเข้าทำสัญญาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีลักษณะเข้าผูกพันรับผิดเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากกฎหมายค้ำประกันใหม่ห้ามมิให้มีข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงอาศัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมมาบังคับใช้กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แทนโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงชื่อในแบบสัญญาที่โจทก์พิมพ์ข้อความไว้ล่วงหน้ามีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม นอกจากนี้ยังมีข้อความที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงล่วงหน้ายอมให้มีการผ่อนชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดเต็มจำนวนแม้โจทก์ปลดหนี้หรือลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 และยอมรับผิดแม้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเข้าทำสัญญาเช่าซื้อด้วยความสำคัญผิดอย่างใด ๆ ไม่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้รู้ถึงเหตุไร้ความสามารถหรือสำคัญผิดในขณะทำสัญญาหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ล้วนแต่บัญญัติไว้เฉพาะใน ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะค้ำประกัน แต่โจทก์จัดทำสัญญาโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติ หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ใช่ผู้ค้ำประกันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำเช่นนั้น ประกอบกับตามประเพณีทางการค้าของธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ที่ผ่านมาผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อจัดให้ผู้เช่าซื้อโดยให้มีบุคคลต้องร่วมรับผิดในหนี้ของผู้เช่าซื้อจะจัดให้ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำขึ้นนั้น คู่สัญญามีเจตนาผูกพันกันอย่างสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 681/1 การที่โจทก์หลีกเลี่ยงกฎหมายโดยอาศัยอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าและมีความสันทัดในข้อกฎหมายมากกว่าจัดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญายอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแทนการทำสัญญาค้ำประกันอย่างตรงไปตรงมา ถือว่าโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจไม่ใช้สิทธิแห่งตนด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ จากสัญญาดังกล่าวได้ พฤติการณ์ของโจทก์ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาจะให้สัญญาส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะเพราะไม่มีส่วนใดที่สมบูรณ์แยกส่วนออกมาได้ สัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3คดีนี้จำเลยทั้งสามขาดนัดยื่นคำให้การ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลจะพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จัดพิมพ์สัญญายินยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับใช้สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 681/1 ตกเป็นโมฆะ เป็นการวินิจฉัยในประเด็นว่าคำฟ้องของโจทก์ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ถือเป็นประเด็นการวินิจฉัยที่อยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาว่าสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะจากโฆษณาที่เป็นเท็จ ผู้บริโภคมีสิทธิคืนทรัพย์และเงิน
แผ่นป้ายโฆษณาของจำเลยข้อความว่า "ให้เงินกู้ค่ะ มีบ้านมีรถเงินสดทันใจ ไม่โอนเล่ม ไม่จดจำนอง" และ "ให้เงินกู้ จัด 2 แสน รถยนต์ไม่ต้องโอน ทะเบียนรถทุกชนิด รถไถ โฉนดบ้าน ที่ดิน คอนโด" แม้ป้ายโฆษณาจะระบุให้ติดต่อกับสาขาของจำเลยคนละสาขา แต่ก็เป็นการโฆษณากิจการให้เงินกู้ของจำเลย เมื่อโจทก์เข้าทำธุรกรรมทางการเงินกับจำเลยเนื่องมาจากการโฆษณาตามแผ่นป้ายดังกล่าว จึงถือว่าแผ่นป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์ผู้บริโภคกับจำเลยผู้ประกอบธุรกิจ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 เมื่อรถที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยเป็นรถแทรกเตอร์ขุดตักประเภทเดียวกับที่ระบุในแผ่นป้ายโฆษณาว่าไม่โอนเล่ม การที่จำเลยให้โจทก์กู้เงินโดยทำสัญญาเช่าซื้อและมีการโอนกรรมสิทธิ์รถแทรกเตอร์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นไปตามที่โฆษณา การโฆษณาดังกล่าวของจำเลยถือได้ว่าเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการตามมาตรา 22 (2) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ถือเป็นโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมมีลักษณะเป็นการลวงผู้บริโภคซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 47 อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดจากการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ และต้องคืนทรัพย์สินต่อกันตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องส่งมอบรถแทรกเตอร์คันพิพาทคืนแก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับมาจากจำเลยทั้งหมดให้แก่จำเลย โดยต้องนำเงินที่โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยไปแล้ว มาหักออกจากจำนวนที่โจทก์ต้องรับผิด และเมื่อการคืนทรัพย์สินหรือเงินอันเกิดจากโมฆะกรรม ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องใช้ดอกเบี้ย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องคืน แต่มีอำนาจเพิกถอนรายการจดทะเบียนอันเกิดจากนิติกรรมอันเป็นโมฆะนั้นเสียได้