คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พงษ์ศักดิ์ กิติสมเกียรติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานพนันออนไลน์และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน: การลงโทษกรรมเดียว vs. หลายกรรม และการแก้ไขโทษโดยศาลฎีกา
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนันและฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งสิบห้ามีเจตนาร่วมเล่นการพนันและฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเวลาเดียวกันอันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสิบห้าจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันจึงเป็นการไม่ชอบ แต่การที่จำเลยทั้งสิบห้าร่วมกันชุมนุมและมั่วสุมเล่นการพนันออนไลน์ในแต่ละประเภทตามฟ้อง ข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.6 แม้จะเป็นวันเดียวกันก็มีเจตนาในการฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามชุมนุมและมั่วสุมในการเล่นการพนันออนไลน์ในแต่ละประเภทแยกออกจากกันด้วย จึงเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หลายกรรมต่างกันตามประเภทของการเล่นการพนันดังกล่าว จึงต้องลงโทษฐานร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบโดยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ซึ่งเป็นบทหนักในฟ้องข้อ 1.3 กระทงหนึ่ง และฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามชุมนุมและมั่วสุมซึ่งเป็นบทหนักในฟ้องข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และข้อ 1.4 ถึงข้อ 1.6 อีก 5 กระทง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3069/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีข่มขืน แม้โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานมาเบิกความได้ ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรตามกฎหมาย
แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายที่ 1 ก. พ. และ ด. มาเบิกความเป็นพยาน คงมีเพียงบันทึกคำให้การของบุคคลดังกล่าว โดยผู้เสียหายที่ 1 ยืนยันถึงตัวคนร้ายและจำเลยที่ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานดังกล่าวมาเบิกความในชั้นพิจารณาเนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ของพยาน โดยโจทก์ใช้เวลาติดตามพยานเป็นเวลาถึง 5 เดือนเศษ นับว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ไม่สามารถนำพยานซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นและได้ยินเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนี้ด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และเมื่อจำเลยหลบหนีไปนานจนติดตามพยานได้ยาก กรณีเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่เบิกความไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2726/2559 ของศาลชั้นต้น ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องความผิดฐานเอาเอกสารไปเสีย: เอกสารของใคร มีผลต่อการเป็นผู้เสียหาย
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 188 เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม กฎหมายมุ่งคุ้มครองเอกสารที่เป็นพยานหลักฐานสำคัญ ปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณาจึงอยู่ที่เช็คทั้ง 25 ฉบับ เป็นเอกสารของใครโดยไม่จำต้องพิจารณาว่ามูลหนี้ตามเช็คบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองขายลดเช็คทั้ง 25 ฉบับ ให้แก่โจทก์ เช็คนั้นก็เป็นเอกสารของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาไปเสีย ทำให้โจทก์ขาดพยานหลักฐานที่จะต้องฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยซึ่งมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับยกเว้นโทษอาญาจากคำสั่ง คสช. 6/2562 หลังปรับปรุงระบบความปลอดภัยโรงแรม และสิทธิขอคืนค่าปรับ
จำเลยกระทำความผิดฐานประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ภายหลังคดีถึงที่สุด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2562 กำหนดไว้ในข้อ 2 (1) ของคำสั่งดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งใช้อาคารในการประกอบธุรกิจโรงแรมอยู่ในวันก่อนที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และอาคารนั้นมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ. 2547 ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบถึงการฝ่าฝืนและดำเนินการปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แล้วติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่อง ต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 200 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 30 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 2 เครื่อง ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งมีผลใช้บังคับ พร้อมทั้งยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด จำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบถึงการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยแล้ว และสถานที่ประกอบกิจการของจำเลยได้ดำเนินการแก้ไขตามอาคารที่มีลักษณะตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว ข้อ 4 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งผ่านการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ได้รับยกเว้นโทษอาญาสำหรับความผิดตามข้อ 2 ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ ถือว่ากรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
กรณีของจำเลยต้องตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผลของการกระทำความผิดและการบังคับโทษตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วจากกันต่างหาก กล่าวคือ ในส่วนของการบังคับตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นหากมีส่วนใดที่ยังค้างอยู่ระหว่างการบังคับ ก็ให้การบังคับนั้นสิ้นสุดลง ไม่มีการบังคับในส่วนที่ค้างอยู่อีกต่อไปเท่านั้น หาได้มีผลให้รื้อฟื้นการบังคับโทษที่เสร็จสิ้นไปแล้วขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกแต่อย่างใด โทษที่ได้รับมาแล้วต้องถือว่ายุติไปตามผลของคำพิพากษา ดังนั้น ค่าปรับที่จำเลยได้ชำระไปตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นถือว่าการบังคับโทษปรับในส่วนนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจถอนคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรม: การยิงและทำร้ายร่างกายผู้เสียหายหลายราย มีเจตนาต่างกันในแต่ละกรรม
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยบรรยายฟ้องข้อ 1 (ค) ว่าจำเลยโดยมีเจตนาฆ่าใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่มีและพาติดตัวไปตามฟ้องข้อ (ก) และ (ข) ยิง น. ผู้เสียหายจำนวน 2 นัด ถูกข้อเท้าและหน้าอก และใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิง ต. ผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 1 นัด ถูกที่ลำคอ แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวตีทำร้าย จ. ผู้เสียหายที่ 3 ที่ศีรษะหลายครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยลงมือกระทำความผิดต่อผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แล้วแต่ไม่บรรลุผล เนื่องจากแพทย์รักษาไว้ได้ทัน ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ถึงแก่ความตาย แต่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน กับผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย แม้โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 (ค) รวมกันมาก็ตาม แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกข้อเท็จจริงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคน ในลักษณะที่เข้าใจได้ว่า จำเลยกระทำแต่ละครั้งมีจุดประสงค์ต่อผู้เสียหายเป็นคน ๆ ไป อันเป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างกันในแต่ละครั้ง ทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องในตอนแรกแล้วว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 91 ก็เป็นการเพียงพอให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในแต่ละข้อหาแยกกรรมต่างหากจากกัน ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบประกอบคำรับสารภาพ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 2 นั้น ผู้เสียหายที่ 1 มิได้อยู่ในสถานที่เดียวกับผู้เสียหายที่ 2 และตอนที่จำเลยใช้อาวุธตีทำร้ายผู้เสียหายที่ 3 เกิดหลังจากที่ยิงผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ไปแล้ว แม้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน แต่แยกเจตนาของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนได้การกระทำเป็นความผิดสำเร็จต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กจากผู้ปกครอง ถือเป็นความผิดฐานพรากเด็กเพื่ออนาจาร แม้ไม่ได้พาเด็กออกนอกบ้าน
แม้จำเลยไม่ได้พาผู้เสียหายที่ 1 ออกไปจากบ้านที่อยู่อาศัยด้วยกันก็ตาม แต่การที่จำเลยปิดล็อกประตูขัดขวางไม่ให้ผู้เสียหายที่ 1 ออกจากห้องนอนแล้วกระทำชำเราพร้อมข่มขู่ผู้เสียหายที่ 1 ทั้งที่รู้อยู่ว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นเด็กอายุ 10 ปีเศษ ถึง 11 ปีเศษ ยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ผู้เป็นมารดา ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาแยกผู้เสียหายที่ 1 ออกจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 โดยให้ผู้เสียหายที่ 1 ตกอยู่ในอำนาจควบคุมของจำเลย และจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ผู้เป็นมารดา เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค้ามนุษย์: การสมคบคิด, ความเสียหาย, และค่าชดใช้
ความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นในคดีนี้ เป็นความผิดคนละประเภทกับความผิดฐานรับคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้เข้าพักอาศัยโดยซ่อนเร้นให้พ้นจากการจับกุมตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 และยังเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันด้วย ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน สามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ แม้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน ก็เป็นคนละกรรมกัน กรณีมิใช่โจทก์นำการกระทำกรรมเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปเฉพาะกระทงความผิดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนกระทงความผิดอื่นในคดีนี้ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิด จะถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่พัสดุ, การซื้อโดยทุจริต, ความผิด มาตรา 151, การลดโทษ, รอการลงโทษ
แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ทำหรือจัดการทรัพย์ของโครงการติดตั้งสัญลักษณ์จราจรภายในหมู่บ้าน แต่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ข้อ 5 ให้คำนิยาม เจ้าหน้าที่พัสดุ หมายความว่า พนักงานส่วนตำบลหรือข้าราชการอื่นที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ประธานกรรมการบริหารแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามระเบียบนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ทำหรือจัดการเงินที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหมออนุมัติแล้วการที่จำเลยที่ 1 เสนอรายงานขอจ้างเหมาติดตั้งสัญลักษณ์จราจรภายในหมู่บ้านตามโครงการดังกล่าวโดยวิธีตกลงราคาพร้อมรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างต่อจำเลยที่ 2 จึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำและจัดการทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานทำหรือจัดการทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหมอ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม) และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม) อันเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 157 (เดิม) ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ส่วนจำเลยที่ 2 คงได้ความแต่ว่า จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหมอ มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหมอให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ มีอำนาจสั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล กับมีอำนาจในการอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหมอให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ซึ่งจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเป็นผู้อนุมัติเห็นชอบตามที่จำเลยที่ 1 เสนอมาเท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อทรัพย์ใด ๆ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด และการลงโทษฐานมีอาวุธปืน
โจทก์ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมคบคิดกับจำเลยที่ 1 ที่จะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองมาตั้งแต่แรก การที่จำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง พาอาวุธปืน และใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาด อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 2 บอกจำเลยที่ 1 ว่า ออกมาแล้ว ยิงตะ ๆ เป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้เสียหายทั้งสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาด อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84 ดังนี้ จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาดไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด เป็นการแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 2 บอกจำเลยที่ 1 ให้ยิงผู้เสียหายที่ 1 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกให้ผู้อื่นกระทำความผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการจึงไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย: คำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, ค่าปลงศพ, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 445 เมื่อโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 บรรยายคำร้องว่า ค่าขาดทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลในครัวเรือน และนำสืบว่า ผู้ตายประกอบอาชีพทำสวน มีสวนยางพารา 15 ไร่ มีรายได้เดือนละประมาณ 25,000 บาท จึงฟังได้ว่า ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเลี้ยงดูโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นการงานที่ผู้ตายกระทำในครัวเรือนเป็นประโยชน์แก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 แต่ผู้ตายหามีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 445 โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดแรงงานตามคำร้อง
of 3