คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ บางยี่ขัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า HITACHI และจำหน่ายสินค้าเลียนแบบ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยมีความผิด
เมื่อพิจารณาฉลากสินค้า ของจำเลยทั้งสอง ในภาคส่วนคำว่า เปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหาย แล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมาย ของจำเลยทั้งสองมีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า HITACHI เหมือนกับเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวอักษรและเสียงเรียกขาน ทั้งคำว่า HITACHI เป็นคำที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายตามธรรมดาทั่วไป แม้เครื่องหมายของจำเลยทั้งสองที่ด้านหลังของคำว่า HITACHI จะมีเส้นบาง ๆ ต่อเฉียงออกไปทางขวามือ ในลักษณะที่ทำให้ตัวอักษรเป็นสามมิติ แต่ส่วนที่เพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยที่มองเห็นได้ยากและไม่ได้มีลักษณะโดดเด่นเพียงพอที่จะทำให้สาธารณชนแยกแยะความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองและเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายได้ นอกจากนี้ ส่วนประกอบดังกล่าวไม่ได้ทำให้ภาคส่วนสาระสำคัญคำว่า HITACHI ในเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียลักษณะความเหมือนกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายไป ภาคส่วนคำว่า HITACHI ในเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองยังคงสภาพความเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายอยู่ ดังนั้น เครื่องหมาย ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเครื่องหมายปลอมเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตสติกเกอร์ ที่มีเครื่องหมาย รวมอยู่ด้วย แล้วนำไปติดที่สินค้าสายทองแดงที่หุ้มฉนวนของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ผู้เสียหายได้จดทะเบียนไว้แล้วเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร และฐานร่วมกันจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดก: สิทธิทายาทในการแบ่งทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งสันดาน
แม้ที่ดินพิพาทมีเพียงแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เมื่อเจ้ามรดกผู้ครอบครองถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ได้แก่ ส. บุตรเจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดาจำเลย ว. บุตรเจ้ามรดกและ พ. บุตรเจ้ามรดกซึ่งเป็นมารดาโจทก์ ว. และ พ. พักอาศัยอยู่ในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทโดยมีโจทก์และจำเลยอยู่ด้วย ส่วน ส. พักอาศัยอยู่ที่อื่น การที่ ว. และ พ. พักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการครอบครองในฐานะทายาทและแทนทายาทอื่น หลังจาก ว. ถึงแก่ความตายในปี 2538 พ. พักอาศัยอยู่ต่อมาและถึงแก่ความตายในปี 2543 การที่ พ. ยังคงพักอาศัยอยู่ต่อมาก็เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น ส่วนที่ ส. ถึงแก่ความตายในปี 2536 ที่ดินมรดกส่วนของ ส. ตกทอดแก่ทายาทของ ส. รวมทั้งจำเลย การที่จำเลยพักอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทหลังจากนั้นร่วมกับ ว. และ พ. ก็เป็นการร่วมกันครอบครองแทนทายาทอื่นเช่นกัน ที่ดินพิพาทจึงยังไม่พ้นสภาพจากการเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกและกรณีต้องถือว่าการที่ พ. และจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทอยู่นั้นเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นของเจ้ามรดกทุกคน ส่วนการที่จำเลยรื้อถอนบ้านเดิมออกไปและนำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดก็ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินมรดกเป็นครอบครองด้วยตนเองและแสดงเจตนาแก่ฝ่ายโจทก์แล้ว ที่ดินดังกล่าวยังเป็นมรดกของเจ้ามรดก จึงเป็นกรณีที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้มีการแบ่งปันแทนทายาทอื่น ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกเพราะเข้าสืบสิทธิมรดกส่วนของ พ. จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า DERMATIX/ULTRA มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้มีคำทั่วไป ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรมและเป็นคำไม่มีความหมายหรือคำแปล สาธารณชนที่พบเห็นคำดังกล่าวย่อมไม่อาจเข้าใจได้ว่าเป็นคำที่สื่อความหมายเกี่ยวกับอะไร แม้คำดังกล่าวมีเสียงเรียกขานหรือคำอ่านคล้ายกับคำว่า Dermatic มีความหมายว่า ซึ่งเกี่ยวกับผิวหนัง ทำให้สาธารณชนที่ได้ยินเสียงเรียกขานหรือคำอ่านของคำว่า DERMATIX ที่โจทก์ขอจดทะเบียนอาจเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนังก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 796655 สินค้าจำพวก 3 คือ ซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยาแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า DERMATIX ซึ่งมีเสียงเรียกขานหรือคำอ่านที่สื่อความหมายว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนังนั้น มีลักษณะเป็นเพียงคำหรือเครื่องหมายเชิงแนะนำ (Suggestive Mark) ที่ชี้ชวนหรือแนะนำให้ทราบเป็นเบื้องต้นว่าเป็นสินค้าที่ใช้เกี่ยวกับผิวหนังเท่านั้น โดยไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงว่าเป็นซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยา และเนื่องจากสิ่งที่ใช้เกี่ยวกับผิวหนังมีได้หลายประเภท สาธารณชนโดยทั่วไปเมื่อเห็นหรือได้ยินเสียงเรียกขานหรือคำอ่านของคำหรือเครื่องหมายดังกล่าวยังไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าสินค้าของโจทก์มีลักษณะอย่างไรหรือคุณสมบัติของสินค้าเป็นอย่างไร คงทราบได้แต่เพียงว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนัง โดยจะต้องคิด จินตนาการ สืบหาต่อไป หรือเห็นตัวสินค้าที่คำหรือเครื่องหมายนั้นติดอยู่จึงจะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ของโจทก์จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม)
ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ตามคำขอเลขที่ 796657 ซึ่งโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยาที่ใช้ในการรักษารอยแผลเป็นนั้น ภาคส่วนคำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง โดยมีเหตุผลทำนองเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ตามคำขอเลขที่ 796655 ที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เนื่องจากรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะอย่างเดียวกัน ส่วนภาคส่วนคำว่า ULTRA แม้เป็นคำซึ่งมีความหมายว่า เกิน อย่างรุนแรง ที่สุด หรือดีเยี่ยม และโดยตัวมันเองถือได้ว่าเป็นคำสามัญที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยทั่วไป อันเป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับภาคส่วนคำว่า DERMATIX โดยภาพรวมแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า ULTRA เป็นภาคส่วนประกอบที่ขยายความภาคส่วนคำว่า DERMATIX ซึ่งเป็นภาคส่วนสาระสำคัญ แต่โดยที่คำว่า DERMATIX นั้นเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า ที่ขอจดทะเบียนดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เมื่อพิจารณารวมกันแล้วเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าใดโดยตรง เพราะสาธารณชนไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าเป็นสินค้าประเภทยาที่ใช้รักษารอยแผลเป็น และคำว่า ULTRA ไม่อาจทำให้ทราบได้ว่าสินค้าที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมนั้นคืออะไร เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม) แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ภาคส่วนคำว่า ULTRA เป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจมีคำสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) ดังนั้น ในการขอจดทะเบียนการเครื่องหมายการค้านี้จึงให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์งานศิลปกรรม: การสร้างสรรค์ด้วยวิริยะอุตสาหะ แม้มีนโยบาย/แนวคิดจากผู้อื่น ก็ยังถือเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 และมาตรา 6 งานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมที่มีลักษณะเป็นงานจิตรกรรมจะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นั้น ต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำหรือก่อให้เกิดงานนั้นด้วยการริเริ่มขึ้นเองโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต งานอันมีลิขสิทธิ์ไม่จำต้องเป็นงานใหม่อย่างเช่นกรณีของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรต่อเมื่อเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือต้องไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์จึงอาจเหมือนหรือคล้ายกับงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ปรากฏอยู่แล้วได้ แต่งานที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้นต้องเกิดจากการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์โดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณค่าของงานหรือคุณค่าทางศิลปะไม่ใช่เงื่อนไขของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แม้งานที่สร้างขึ้นนั้นจะไม่มีคุณค่าของงานหรือคุณค่าทางศิลปะ หากผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นด้วยความวิริยะอุตสาหะ ด้วยการทุ่มเทกำลังสติปัญญาความรู้ความสามารถ ใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณในการสร้างงานนั้น งานนั้นก็ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นการให้ความคุ้มครองรูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิด ไม่คุ้มครองความคิดหรือแนวความคิด เมื่อพิจารณาถึงแบบซุ้มประตูเมืองที่ขยายมาตราส่วน ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก ซุ้มประตูด้านบน ซึ่งประกอบไปด้วยรูปโบราณสถานของเมือง 5 อย่าง ได้แก่ ศาลหลักเมือง พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและกำแพงเมือง พระบรมมหาธาตุ ศาลาพุทธสิหิงค์ และหอพระนารายณ์ ส่วนที่สอง คานของซุ้มประตู โดยด้านซ้ายและขวามีลายไทย 4 มุม วงกลมล้อมรูป 12 นักษัตร ด้านละ 6 ตัว ตรงกลางเป็นแผ่นป้าย "ยินดีต้อนรับ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช" และส่วนที่สาม เสาของซุ้มประตูเมือง โดยเสาซ้ายและขวามีลายเส้นดอกไม้ใหญ่เริ่มจากตรงกลางเสา เสาละ 1 ดอก ส่วนเสากลางมีดอกไม้ 1 ดอก เริ่มตั้งแต่ฐานล่างสุดของเสา ด้านบนเป็นตราของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าได้ออกแบบโดยปรึกษากับนายภิญโญ ค้นประวัติของเมืองนครศรีธรรมราช ตรวจสอบศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน วัตถุโบราณ โบราณสถานในจังหวัด ภูมิปัญญาท้องถิ่น จุดเด่นของจังหวัด รวบรวมหลายอย่างเข้าด้วยกัน แล้วจินตนาการด้วยลีลาการเขียนจิตรกรรม ทำเป็นร่างงานจิตรกรรมขึ้นมา ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะแล้ว แม้การออกแบบดังกล่าวของโจทก์จะเป็นไปตามนโยบายและแนวคิดของจำเลยที่ 1 และมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ตามที่ฝ่ายจำเลยอ้างก็ตาม แต่การคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นเป็นการคุ้มครองในการแสดงออก ไม่คลุมถึงความคิดหรือแนวความคิด การที่โจทก์ปรับปรุงแก้ไขก็เพียงเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของทางจำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้รับพิจารณาให้เป็นผู้ก่อสร้างซุ้มประตูตามแบบดังกล่าว นอกจากนี้แม้ซุ้มประตูด้านบนจะประกอบไปด้วยโบราณสถานของจังหวัดซึ่งบุคคลทั่วไปรู้จักและมีการก่อสร้างมานานแล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์เลือกโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดมาเพียง 5 รายการ โดยออกแบบโบราณสถานทั้งห้ารายการให้มีลักษณะ มุมมอง ลายเส้น และขนาด ที่เหมาะสมกับซุ้มประตู แล้วนำมาจัดเรียงกัน ตกแต่งด้วยลายไทย ลายดอกไม้ 12 นักษัตร โจทก์ย่อมต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะในการดำเนินการเพื่อให้ออกมาเป็นแบบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าแบบซุ้มประตูเมืองดังกล่าวเกิดจากการทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมอันมีลักษณะงานจิตรกรรมในแบบซุ้มประตูเมืองดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การเปลี่ยนแปลงตัวผู้เสียหายและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงพิพาท 4 เพลง คือ เพลงแสงจันทร์ เพลงเรือน้อย เพลงเจ็บนิดเดียว และ เพลงวันเวลา อันเป็นงานมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายนั้น ฟ้องฉบับเดิมบรรยายว่า บริษัท ส. เป็นผู้เสียหาย โดย ช. ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงแสงจันทร์ และเพลงเรือน้อย ทำสัญญาแต่งตั้งให้บริษัท ส. เป็นผู้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดังกล่าว และบริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงเจ็บนิดเดียว และ เพลงวันเวลา ทำสัญญาแต่งตั้งให้บริษัท ส. เป็นผู้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดังกล่าว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องในส่วนนี้เป็นว่า ช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงแสงจันทร์ และเพลงเรือน้อย และบริษัท ป. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา บริษัท ป. ได้อนุญาตให้บริษัท ท. ใช้ลิขสิทธิ์ในเพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ช. และบริษัท ท. จึงเป็นผู้เสียหาย ทั้งนี้ ช. และบริษัท ท. ได้มอบหมายให้บริษัท ส. เป็นผู้รับอนุญาตและให้เป็นตัวแทนในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงแสงจันทร์ เพลงเรือน้อย เพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา ดังนี้ ที่ฟ้องฉบับเดิมบรรยายว่า บริษัท ส. เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งจาก ช. และบริษัท ท. เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ตามฟ้อง ให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดังกล่าว ไม่ได้บรรยายว่าเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ แม้ตอนต้นของฟ้องจะระบุว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้เสียหายก็ถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดตามฟ้องในอันที่จะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฐานะของบริษัท ส. ที่เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของ ช. และบริษัท ท. แต่อย่างใด คงขอแก้ฟ้องเดิมโดยเพิ่มเติมรายละเอียดที่เกี่ยวกับเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ในส่วนเพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา คำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในส่วนซึ่งมิได้กล่าวไว้ ไม่ได้แก้ฟ้องโดยเปลี่ยนตัวผู้เสียหายตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการขอแก้ฟ้องในข้อสาระสำคัญที่จะเป็นการแก้ไของค์ประกอบความผิดหรือสภาพแห่งข้อหา จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบในการต่อสู้คดี อีกทั้งในเวลาที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องนั้นยังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่าย จำเลยที่ 1 ย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่และไม่หลงต่อสู้ในข้อที่ขอแก้ฟ้องนั้น และในกรณีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้โดยไม่จำต้องสอบถามจำเลยทั้งสองก่อนคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันครอบครองยาเสพติด (กระท่อม) และเมทแอมเฟตามีน โทษประหารชีวิตและจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดฐานร่วมกันมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 8 ให้ยกเลิกมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และมาตรา 9 ให้เพิ่มเติมมาตรา 26/3 ฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยข้อความตามกฎหมายเดิมและที่แก้ไขใหม่ยังเป็นทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับในส่วนบทความผิด แต่ในส่วนบทกำหนดโทษได้มีมาตรา 17 ยกเลิกมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 โดยให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งบทกำหนดโทษตามมาตรา 76 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทเพียงสถานเดียว ส่วนบทกำหนดโทษตามมาตรา 76 วรรคสอง ของกฎหมายเดิมมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายเดิม ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ - ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย - ความสงบเรียบร้อย - ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
แม้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศจะมีคำชี้ขาดในวันที่ 24 กันยายน 2555 ก็ตาม แต่เมื่อกรณียังสามารถอุทธรณ์คำชี้ขาด แก้ไขข้อผิดพลาดข้อผิดหลงเล็กน้อย หรือตีความอธิบายข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในคำชี้ขาดโดยคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ และผู้คัดค้านเองก็เป็นฝ่ายอุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และมีหนังสือคัดค้านคำชี้ขาดของคณะกรรมการอุทธรณ์รวม 3 ครั้ง จนคณะกรรมการอุทธรณ์มีคำชี้ขาดฉบับวันที่ 28 สิงหาคม 2556 และคำชี้ขาดฉบับแก้ไขเพิ่มเติมลงวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ดังนั้น คำชี้ขาดวันที่ 24 กันยายน 2555 จึงยังไม่มีผลผูกพันเป็นยุติอันอาจมีคำร้องขอให้บังคับตามได้ดังที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ แต่ต้องถือเอาตามคำชี้ขาดและคำชี้ขาดฉบับแก้ไขเพิ่มเติมสองฉบับหลัง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการอุทธรณ์ด้านเทคนิคแห่งสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศฉบับวันที่ 28 สิงหาคม 2556 และคำชี้ขาดฉบับแก้ไขเพิ่มเติมวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันที่ 26 สิงหาคม 2559 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42
สำหรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทำนองว่า สัญญาขายฝ้ายดิบระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านใช้เงื่อนไข "invoice back" ในอันที่จะได้รับค่าสินค้าโดยไม่ต้องส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ถือเป็นข้อตกลงให้ผู้ซื้อต้องรับผิดมากกว่าที่กฎหมายกำหนดอันถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามกฎหมายไทย การตกลงให้ใช้กฎหมายอังกฤษและอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศจึงเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามกฎหมายไทย ข้อกำหนดอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายอนุญาโตตุลาการและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแห่งสากลเนื่องจากอนุญาโตตุลาการขาดความอิสระและเป็นกลาง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศเป็นกระบวนการที่ปราศจากการสืบพยานบุคคล จึงไม่มีการนำเรื่องความผิดปกติของราคาฝ้าย ที่เกิดจากการปั่นราคามาวินิจฉัย ทั้งเมื่อกระบวนการอนุญาโตตุลาการผิดพลาดโดยลงลายมือชื่อไม่ครบองค์คณะ ก็หาทางกลบเกลื่อนแก้ไขสิ่งที่ไม่ชอบให้กลับเป็นชอบ และการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการชั้นอุทธรณ์แต่งตั้งโดยประธานสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศโดยมิได้รับความยินยอมหรือความเห็นจากคู่พิพาทนั้น เห็นว่า เป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับข้อกำหนดกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศทำนองว่าไม่เป็นสากลและไม่เป็นกลาง กับโต้แย้งในเนื้อหาของสัญญาและดุลพินิจในการวินิจฉัยว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านกระทำผิดสัญญาหรือไม่ ซึ่งอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ อันมิใช่การโต้แย้งกรณีใดกรณีหนึ่งดังที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายระหว่างประเทศ นั้น ปรากฏว่าเงินดังกล่าวเป็นยอดรวมของเงินส่วนต่างระหว่างราคาสินค้าตามสัญญากับราคาตลาด และเงินดอกเบี้ยของเงินส่วนต่างดังกล่าวตามสัญญาซื้อขายแต่ละฉบับ อันเป็นการพิพากษาโดยให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เนื่องจากมีการนำส่วนของดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมารวมเป็นเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดในส่วนนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินคดีแทนลูกหนี้เมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อประโยชน์เจ้าหนี้ในการขอรับชำระหนี้
พ.ร.บ.ล้มละลาย
พ.ศ.2483 มาตรา 22 บัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้
หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น (3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
อันเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาให้ได้มากที่สุดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ในการขอรับชำระหนี้
และมาตรา 25 บัญญัติว่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง
ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ก็เห็นได้ชัดว่าในกรณีที่มีคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีแทนลูกหนี้ผู้ถูกฟ้องนั้น
ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การที่จะให้มีการพิจารณาคดีต่อไปจะยังประโยชน์แก่การจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มากยิ่งกว่าและมิได้ร้องขอให้งดการพิจารณาไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
หาใช่ว่าศาลจะต้องงดการพิจารณาคดีและจำหน่ายคดีที่ค้างพิจารณาทั้งหมดออกจากสารบบความได้เพียงสถานเดียว
ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็ได้ความว่า
หลังจากถูกฟ้องคดี ต่อมามีการขอเลื่อนคดีเรื่อยมาด้วยเหตุผลว่า รอฟังผลคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่
249/2549 แม้กระทั่งวันที่ 1 กันยายน 2554 เป็นวันนัดพร้อมซึ่งขณะนั้นศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ทั้งสาม
คือจำเลยทั้งสามตั้งแต่วันที่ 23
สิงหาคม 2554 อำนาจการจัดการทรัพย์สินและการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
แต่จำเลยทั้งสามและทนายความจำเลยทั้งสามไม่แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อศาลชั้นต้นจะได้หมายเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนต่อไป และแม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลาย
วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 จำเลยทั้งสามก็คงวางเฉยไม่แถลงแต่อย่างไร
จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวเมื่อวันที่
30 กันยายน 2556 เพื่อให้ขาดความต่อเนื่องของการพิจารณาคดีที่จะติดตามข้อเท็จจริงในช่วงระยะเวลาสั้นและยิ่งนำรายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาพิจารณาประกอบ
ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ที่ 2 ให้ถ้อยคำว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายเรียกมาให้สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน ให้การว่าไม่ทราบแน่ชัดว่ามีคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องคดีใดบ้าง
ทั้งที่คดีนี้ทุนทรัพย์สูงถึง 50 กว่าล้านบาท จำเลยที่ 3
ก็เป็นจำเลยคนหนึ่งในคดีแพ่ง การกล่าวให้ถ้อยคำเช่นนั้นย่อมไม่อาจเชื่อได้
ทำให้เชื่อได้ว่า การเลื่อนคดีอย่างต่อเนื่องโดยไม่แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดจากการวางแผนกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกำหนด ซึ่งจะเป็นการหลุดพ้นจากหนี้และนำไปสู่การปลดล้มละลายในลำดับถัดมา
การจำหน่ายคดีย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียหาย กรณีสมควรมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งสามต่อไป
ไม่มีเหตุจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาว่าผู้ตายประมาท ศาลฎีกายกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาไม่ได้ และลดโทษให้รอการลงโทษ
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่หยุดรถให้การช่วยเหลือและแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุให้บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายและไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุ รถจำเลยแล่นอยู่ในช่องเดินรถที่ 1 มิได้วิ่งคร่อมช่องเดินรถที่ 1 และที่ 2 การที่รถจำเลยเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ผู้ตายจึงมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ทำนองว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุก: ผลของการเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน แม้จะเป็นคดีก่อนหน้า
ตาม ป.อ. มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน... ศาลจะรอการลงโทษผู้นั้นไว้ก็ได้ นั้น หมายถึงว่า จำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลกำลังจะพิพากษา ซึ่งมาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) มิได้ระบุว่าคดีที่จำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนนั้น ต้องเป็นการกระทำความผิดมาก่อนคดีเรื่องหลัง เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและเป็นโทษในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือนและมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
of 5