พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5942/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกำแพงรั้วติดที่ดิน: เจ้าของที่ดินมีสิทธิเหนือสิ่งปลูกสร้างเฉพาะในอาณาเขตของตน การใช้ประโยชน์โดยไม่ได้เป็นเจ้าของร่วม ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
กำแพงรั้วพิพาทปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท แม้โจทก์จะอาศัยใช้เป็นแนวแบ่งเขตที่ดินมานานเท่าใด ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท เพราะโจทก์มิได้ครอบครองกำแพงรั้วพิพาท
ป.พ.พ.มาตรา 1335 บัญญัติถึงลักษณะของแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินว่ากินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย ซึ่งมีความหมายชัดเจนว่าเจ้าของที่ดินมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินและใต้พื้นดินเฉพาะในอาณาเขตที่ดินของตนเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงแดนกรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินในสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในเขตที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันไม่ เมื่อกำแพงรั้วพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย และโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม โจทก์จึงไม่เสียแดนกรรมสิทธิ์รวมในการที่ไม่ได้ใช้รั้วพิพาท อีกทั้งการที่จำเลยก่อสร้างผนังอาคารทับแนวรั้วเดิมโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือให้จำเลยระงับการก่อสร้างและมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนส่วนที่ต่อเติมนั้น ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เป็นคนละประเด็นกับกรณีที่จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทก็เนื่องจากจำเลยไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หาใช่ประเด็นที่จำเลยละเมิดต่อโจทก์และโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา55 ไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1335 บัญญัติถึงลักษณะของแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินว่ากินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย ซึ่งมีความหมายชัดเจนว่าเจ้าของที่ดินมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินและใต้พื้นดินเฉพาะในอาณาเขตที่ดินของตนเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงแดนกรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินในสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในเขตที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันไม่ เมื่อกำแพงรั้วพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย และโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม โจทก์จึงไม่เสียแดนกรรมสิทธิ์รวมในการที่ไม่ได้ใช้รั้วพิพาท อีกทั้งการที่จำเลยก่อสร้างผนังอาคารทับแนวรั้วเดิมโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือให้จำเลยระงับการก่อสร้างและมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนส่วนที่ต่อเติมนั้น ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เป็นคนละประเด็นกับกรณีที่จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทก็เนื่องจากจำเลยไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หาใช่ประเด็นที่จำเลยละเมิดต่อโจทก์และโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5942/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รั้ว-ที่ดิน: โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรวมรั้วที่สร้างบนที่ดินจำเลย แม้ใช้เป็นแนวแบ่งเขต
กำแพงรั้วพิพาทปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท แม้โจทก์จะอาศัย ใช้เป็นแนวแบ่งเขตที่ดินมานานเท่าใด ก็ไม่ทำให้โจทก์ มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในกำแพงรั้วพิพาท เพราะโจทก์มิได้ ครอบครองกำแพงรั้วพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1335 บัญญัติถึงลักษณะของแดน กรรมสิทธิ์ที่ดินว่ากินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินเฉพาะในอาณาเขตที่ดินของตนเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงแดน กรรมสิทธิ์เหนือพื้นดินในสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในเขตที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันไม่ เมื่อกำแพงรั้วพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย และโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม โจทก์จึงไม่เสียแดน กรรมสิทธิ์รวมในการที่ไม่ได้ใช้รั้วพิพาท อีกทั้งการที่จำเลยก่อสร้างผนังอาคารทับแนวรั้วเดิมโดยไม่ได้ขออนุญาต ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือให้จำเลยระงับการก่อสร้างและมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนส่วนที่ ต่อเติมนั้น ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นคนละประเด็นกับกรณีที่จำเลย ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทก็เนื่องจากจำเลยไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หาใช่ประเด็นที่จำเลย ละเมิดต่อโจทก์และโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมรั้วแนวเขตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขัดสิทธิเจ้าของร่วม
ที่ดินโจทก์ติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 รั้วพิพาทเป็นรั้วกั้นแนวเขตระหว่างที่ดินของบุคคลทั้งสอง โดยโจทก์และจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้สร้างขายพร้อมกับทำรั้วกั้นแนวเขตให้เช่นเดียวกับทาวน์เฮาส์หลังอื่น ๆที่อยู่ในแนวเดียวกัน ดังนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทรวมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 การที่ฝ่ายจำเลยต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารทำให้รั้วหมดสภาพไปย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ นอกจากนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 27 ก็ได้กำหนดไว้ว่า รั้วหรือกำแพงกั้นเขตให้ทำได้สูงเหนือระดับถนนสาธารณะไม่เกิน 3 เมตร ฝ่ายจำเลยได้ต่อเติมกำแพงรั้วสูงจากระดับรั้วเดิมมากอันเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ารั้วพิพาทนอกจากใช้เพื่อเป็นแนวเขตแล้วยังสามารถใช้เป็นกำแพงหรือผนังอาคารได้ด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิร่วมรั้วกั้นเขตที่ดิน การต่อเติมทำให้รั้วหมดสภาพละเมิดสิทธิ
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับที่ดินของจำเลย รั้วพิพาทเป็นรั้วกั้นแนวเขตระหว่างที่ดินของบุคคลทั้งสอง โดยโจทก์และจำเลยซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์ ซึ่งผู้ขายสร้างขายพร้อมทำรั้วกั้นแนวเขตให้ โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทรวมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1344 การที่จำเลยต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารทำให้รั้วหมดสภาพไป ย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รั้วกั้นเขตและสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การต่อเติมรั้วผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิ
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารและที่ดินติดต่อกันโดยจำเลยที่ 3 ผู้ขายได้ทำรั้วกั้นแนวเขตไว้ให้โจทก์จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 การที่จำเลยที่ 1 ต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารสูงเกิน 3 เมตร ทำให้รั้วหมดสภาพไปย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 27จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ารั้วพิพาทนอกจากจะใช้เป็นแนวเขตแล้วยังสามารถใช้เป็นกำแพงหรือผนังอาคารได้ด้วยหาได้ไม่ จำเลยจึงต้องรื้อส่วนที่ต่อเติมออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทติดกัน เจ้าของร่วมตามสันนิษฐานกฎหมาย หากต่างฝ่ายไม่พิสูจน์การครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ปรากฏว่าที่พิพาทตามแผนที่วิวาทเป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่บนคันนาด้านเหนือหมายอักษร ก. มีหลักไม้แก่นปักอยู่เป็นจุดรวม ในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยท้าดื่มน้ำสาบานกันว่าแต่ละฝ่ายปั้นคันนาพิพาทขึ้นก่อน เมื่อดื่มน้ำสาบานกันตามคำท้าแล้ว จึงขอให้ศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใด ประเด็นเดียว โดยต่างไม่สืบพยานกันและแถลงรับกันว่าที่พิพาทอยู่บนคันนาซึ่งเป็นเขตที่ดินของที่ดินโจทก์จำเลยที่อยู่ติดต่อกัน และต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นเขตของตน ดังนี้ เมื่อที่พิพาทเป็นคันนากั้นเขตที่ดินของโจทก์จำเลยติดต่อกัน และต่างไม่นำสืบพยานว่าใครเป็นฝ่ายครอบครองก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ.มาตรา 1344 และศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่งโดยลากเส้นจากหมายอักษร ก.มายังจุดแบ่งครึ่งด้านทิศใต้และให้ด้านที่ติดต่อกับที่ดินของฝ่ายใดเป็นของฝ่ายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทติดกัน เจ้าของไม่ชัดเจน ศาลถือเป็นเจ้าของร่วมและแบ่งตามแนวคันนา
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ปรากฏว่าที่พิพาทตามแผนที่วิวาทเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่บนคันนาด้านเหนือหมายอักษร ก. มีหลักไม้แก่นปักอยู่เป็นจุดรวมในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยท้าดื่มน้ำสาบานกันว่าแต่ละฝ่ายเป็นฝ่ายปั้นคันนาพิพาทขึ้นก่อน เมื่อดื่มน้ำสาบานกันตามคำท้าแล้วจึงขอให้ศาลชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดประเด็นเดียวโดยต่างไม่สืบพยานกันและแถลงรับกันว่าที่พิพาทอยู่บนคันนาซึ่งเป็นเขตที่ดินของที่ดินโจทก์จำเลยที่อยู่ติดต่อกัน และต่างฝ่ายต่างถือว่าเป็นเขตของตน ดังนี้เมื่อที่พิพาทเป็นคันนากั้นเขตที่ดินของโจทก์จำเลยติดต่อกัน และต่างไม่นำสืบพยานว่าใครเป็นฝ่ายครอบครองก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันตามข้อสันนิษฐานของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 และศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่งโดยลากเส้นจากหมายอักษร ก. มายังจุดแบ่งครึ่งด้านทิศใต้และให้ด้านที่ติดต่อกับที่ดินของฝ่ายใดเป็นของฝ่ายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313-314/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตที่ดินติดกัน-คูน้ำ: ข้อสันนิษฐานเจ้าของร่วมและการพิสูจน์สิทธิ
คูพิพาทเป็นเขตระหว่างที่ของโจทก์และจำเลย จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 ว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของรวมกันเมื่อจำเลยอ้างว่าคูซึ่งเป็นเขตระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313-314/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเจ้าของรวมในที่ดินติดกัน และอำนาจการรุกล้ำคูคลอง
คูพิพาทเป็นเขตระหว่างที่ของโจทก์และจำเลย จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 ว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของรวมกันเมื่อจำเลยอ้างว่าคูซึ่งเป็นเขตระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวจำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957-958/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตที่ดินพิพาท - สันนิษฐานเจ้าของร่วม - คูเป็นทรัพย์สินร่วม
โจทก์จำเลยพิพากกันเรื่องคูที่กั้นเขตระหว่างที่ว่าเป็นของตน แต่นำสืบให้เห็นโดยชัดเจนไม่ได้ว่าเป็นของใคร ก็ต้องใช้บทสันนิษฐานของประมวลแพ่ง ฯ ม.1344 คือถือว่าคู่ความเป็นเจ้าของคูร่วมกัน ตัดสินให้เป็นเจ้าของคนละครึ่ง.