พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษจำคุกสำหรับความผิดเจ้าพนักงานปลอมหนังสือ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุก ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปีก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ซึ่งไม่กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่า มาตรา ใดตรงกับมาตรา ของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่า และใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่า จำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่า จำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษและความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา กรณีเจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสาร และการฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปี ก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีซึ่งไม่มีกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่ามาตราใดตรงกับมาตราของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่าและใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดฐานะ ‘เจ้าพนักงาน’ และความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่: จำเลยไม่ใช่ข้าราชการจึงไม่อยู่ในอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่และจดหลักฐานเท็จแต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยได้รับแต่งตั้งจากอธิบดีกรมชลประทานให้เป็นช่างบังคับหมู่เขื่อนระบายน้ำโพธิ์เตี้ยมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษา ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงคนงาน ควบคุมคนงานโดยได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวันจากงบประมาณ ซึ่งมิใช่ประเภทเงินเดือน เมื่อจำเลยได้เบิกค่าแรงคนงานเกินความจริงและจดหลักฐานเท็จ ก็จะเอาผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่และทำหลักฐานเท็จตามฟ้องไม่ได้เพราะถือว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและตามฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายถึงความผิดอย่างอื่นอันเป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยซึ่งไม่ใช่ในฐานเป็นเจ้าพนักงานด้วย เมื่อเป็นดังนี้ คดีก็ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดฐานะ 'เจ้าพนักงาน' สำหรับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยต้องมีคุณสมบัติเป็นข้าราชการหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่ และจดหลักฐานเท็จ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยได้รับแต่งตั้ง จากอธิบดีกรมชลประทานให้เป็นช่างบังคับหมู่เขื่อนระบายน้ำโพธิ์เตี้ย มีหน้าที่ควบคุมงานก่อนสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษา ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงคนงาน ควบคุมคนงาน โดยได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวันจากงบประมาณ ซึ่งมิใช่ประเภทเงินเดือน เมื่อจำเลยได้เบิกค่าแรงคนงานเกินความจริงและจดหลักฐานเท็จ ก็จะเอาผิดฐานเท็จความฟ้องไม่ได้ เพราะถือว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและตามฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายถึงความผิดอย่างอื่นอันเป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยซึ่งไม่ใช่ในฐานเป็นเจ้าพนักงานด้วย เมื่อเป็นดังนี้ คดีก็ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์จำเลย: เลือกบทที่มีโทษเบากว่าได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง 7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปี และคั่นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใด ก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
การที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใด ก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์แก่จำเลย: เลือกใช้บทที่มีอัตราโทษเบากว่า
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปีและชั้นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใดก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใดก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่ออกบัตรประชาชน แม้รับสินบนหรือจดแจ้งความเท็จก็ไม่ผิด
สารวัตรศึกษาไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน ฉะนั้นแม้จะรับสินบนหรือจดแจ้งความเท็จในการทำบัตรนั้น ก็ไม่เป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 138,230
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่ออกบัตรประชาชน ไม่ผิดฐานรับสินบน
สารวัตรศึกษาไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน ฉะนั้นแม้จะรับสินบนหรือจดแจ้งความเท็จในการทำบัตรนั้น ก็ไม่เป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 138,230
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมกระทงลงโทษและการปรับโทษตามกฎหมายใหม่ ศาลไม่จำเป็นต้องปรับโทษหากโทษเดิมไม่หนักกว่า
ศาลรวมกระทงลงโทษจำคุกจำเลย 15 ปีตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 131 และ 230 มิใช่ลงโทษตามบทที่หนัก โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในกรณีนี้จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 162 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา ม.3 (1) ไม่เป็นกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดโทษเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมกระทงลงโทษ – มาตรา 3(1) ประมวลกฎหมายอาญา – ไม่หนักกว่ากฎหมายเดิม
ศาลรวมกระทงลงโทษจำคุกจำเลย 15 ปีตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 และ 230 มิใช่ลงโทษตามบทที่หนัก โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในกรณีนี้จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 162 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3(1) ไม่เป็นกรณีที่ศาลจะต้องกำหนดโทษเสียใหม่