คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2481 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์เมื่อไม่ระบุกฎกระทรวงที่จำเลยฝ่าฝืน แม้กฎหมายหลักอ้างถึงกฎกระทรวง
พระราชบัญญัติควบคุมยาง มาตรา 5มิได้บัญญัติโทษไว้โดยลำพังแต่ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ระบุกฎกระทรวงที่ว่าจำเลยฝ่าฝืนมาในฟ้องแล้วฟ้องของโจทก์ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม มาตรา 158(6)
อ้างฎีกาที่ 790/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องอาญา พ.ร.บ.ควบคุมยาง ต้องระบุข้อหาที่ชัดเจนตามกฎกระทรวงที่อ้างถึง
พ.ร.บ.ควบคุมยาง ม.5 มิได้บัญญัติโทษไว้โดยลำพังแต่ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วยเมื่อโจทก์ไม่ได้ระบุกฎกระทรวงที่ว่าจำเลยฝ่าฝืนมาในฟ้องแล้วฟ้องของโจทก์ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ม.158 (6)
อ้างฎีกาที่ 790/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์หากมิได้ระบุข้อกฎหมายที่จำเลยฝ่าฝืน แม้จะรับสารภาพ
การมียางไว้ในครอบครองไม่มีความผิด
การทำยางโดยไม่รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมยาง 2481
โจทก์ไม่กล่าวอ้างกฎกระทรวงที่จำเลยฝ่าฝืนไว้ในฟ้องย่อมเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 158(6) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องอาญา กรณีมิได้ระบุข้อกฎหมายที่จำเลยฝ่าฝืน
การมียางไว้ในครอบครองไม่มีความผิด
การทำยางโดยไม่รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมยาง 2481
โจทก์ไม่กล่าวอ้างกฎกระทรวงที่จำเลยฝ่าฝืนไว้ในฟ้อง ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 158 (6) ป.วิ.อาญา. ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การส่งต่อสำนวนระหว่างอำเภอไม่ทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
อำเภอท้องที่ ๆเกิดเหตุเพียงแต่รับเอกสารและสำนวนการสอบสวนจากอำเภออื่นซึ่งได้ขอให้แล้วรวบรวมส่งพนักงานอัยยการดำเนินการฟ้องร้องดังนี้ ถือว่าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการสอบสวนผิดท้องที่