คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยพากย์สุวมัณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 870 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างคนต่างด้าวกับคนไทย ไม่เป็นโมฆะ หากยังสามารถขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ได้ การรบกวนสิทธิครอบครองเป็นละเมิด
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวกับจำเลยซึ่งเป็นคนไทยหาเป็นโมฆะหรือโมฆียะตามกฎหมายไม่ เพราะกฎหมายหาได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียทีเดียวไม่คนต่างด้าวยังอาจขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าตึกเพื่ออยู่อาศัยหรือค้าขาย: พฤติการณ์จริงสำคัญกว่าข้อตกลงในสัญญาเช่า
แม้ในสัญญาเช่าลงว่าเช่าตึกพิพาทเพื่อค้าขายยาก็ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ตามความจริงว่าเช่าเพื่อทำการค้าหรือเพื่ออยู่อาศัยอันจะนำไปสู่ประเด็นข้อวินิจฉัยว่าเป็น "เคหะ"หรือไม่
จำเลยเช่าตึกพิพาทของโจทก์และใช้ตึกพิพาทอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายยาในตึกของพระคลังฯซึ่งอยู่ติดต่อกันเช่นนี้ จะถือว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อทำการค้าเพราะเหตุว่าอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าหาได้ไม่มิฉะนั้นแล้วการที่ผู้ใดเช่าตึกอยู่แห่งหนึ่ง แล้วไปทำการค้าอีกแห่งหนึ่ง ก็จะเป็นการเช่าเพื่อทำการค้าไปหมด
การที่ต่อมาภายหลังจำเลยได้เปิดร้านดัดผมในห้องพิพาทชั้นล่างเฉพาะซีกคูหาเดียวและไม่สุดตลอดคูหาด้วยคือใช้เนื้อที่เพียง 1 ใน4 ของตึกชั้นล่าง และในการนี้จำเลยก็ได้ขออนุญาตจากโจทก์แล้วว่าเพื่อช่วยค่าครองชีพทางหนึ่ง กับได้ขอให้โจทก์แยกใบเสร็จค่าเช่าห้องพิพาทเดือนละ 100 บาทเป็น 40 บาทฉบับหนึ่งคือสำหรับค่าเช่าตรงที่เป็นร้านดัดผม และ 60 บาทอีกฉบับหนึ่งเหตุที่แยกดังนี้เนื่องจากการตั้งร้านดัดผมจำเลยเข้าหุ้นกับคนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การคิดเงินระหว่างหุ้นส่วน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ จะฟังว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อการค้ายังไม่ได้ ต้องถือว่าตึกพิพาทเป็น "เคหะ" อันได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุเถียงข้อเท็จจริงเรื่องการชำระหนี้ค่าที่ดินในสัญญาซื้อขาย
จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท 4,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ ต้องห้ามฏีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.248
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า สามีโจทก์และโจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่พิพาทให้แก่จำเลย โจทก์จะฎีกาว่เป็นการซื้อขายเด็ดขาด โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าได้ชำระเงินและรับเงินไปแล้ว ไม่ได้เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 ว.พ.พ. กรณีโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท 4,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าสามีโจทก์และโจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่พิพาทให้แก่จำเลยโจทก์จะฎีกาว่าเป็นการซื้อขายเด็ดขาด โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าได้ชำระเงินและรับเงินไปแล้ว ไม่ได้เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธอันตรายถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้ขวานมีคมหน้ากว้าง 3 นิ้วมือเรียงเลือกฟันที่ศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญจนกระดูกกระโหลกศีรษะแตกถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าให้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าและการพิพากษาคดีขับไล่ เมื่อจำเลยยังคงอยู่ในอสังหาริมทรัพย์หลังบอกเลิกสัญญา
เมื่อตึกพิพาทมิได้เป็นเคหะ จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แล้วก็ไม่มีทางที่จำเลยจะมาคัดค้านว่าโจทก์ทำผิด พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯประการใดได้
เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยยังขืนอยู่ในตึกของโจทก์โดยไม่มีสิทธิอย่างใดจึงเป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ต้องเสียหายในสิทธิแห่งทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า แม้ไม่คัดค้านตามมาตรา 20 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
มาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการที่จะยื่นคัดค้านต่อเจ้าพนักงานเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสิทธิฟ้องร้อง ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่คัดค้านต่อเจ้าพนักงานภายใน 3 เดือนตามมาตรา 20 นี้ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพราะใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไม่ตัดสิทธิฟ้องเพิกถอน แม้มิได้คัดค้านตามมาตรา 20
มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการที่จะยื่นตัดค้านต่อเจ้าพนักงานเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสิทธิฟ้องร้อง ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่คัดค้านต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 3 เดือน ตามมาตรา 20 นี้ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลย ให้เพิกถอนการจดทะเบียน เพราะใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994-1995/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์ และการลงโทษจำเลยเกินขอบเขตฟ้อง
ศาลชั้นต้นลงโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 251,59จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ก็คงลงโทษตาม มาตรา 251,59 ดุจกัน แต่ให้จำคุก 4 ปี เช่นนี้เป็นกรณีแก้ไขน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
โจทก์บรรยายฟ้องหาว่าจำเลยหลายคนกระทำผิดฐานวิวาททำให้คนตายตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 253 เท่านั้นจะลงโทษจำเลยคนที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในคดีนี้ในฐานฆ่าคนตายตาม มาตรา 251 ไม่ได้ แม้จะฟังได้ว่าผู้ตายได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยคนนั้นทำร้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นไม่ลงโทษจำเลยที่ 3 และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะลงโทษจำเลยที่ 3 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994-1995/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาโดยศาลอุทธรณ์และข้อจำกัดในการฎีกาในข้อเท็จจริง รวมถึงประเด็นการบรรยายฟ้อง
ศาลชั้นต้นลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.251, 59 จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ก็คงลงโทษตาม ม.251, 59 ดุจกัน แต่ให้จำคุก 4 ปี เช่นนี้เป็นกรณีแก้ไขน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218
โจทก์บรรยายฟ้องหาว่า จำเลยหลายคนกระทำผิดฐานวิวาททำให้คนตายตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.253 เท่านั้น จะลงโทษจำเลยจำเลยคนที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในคดีนี้ในฐานฆ่าคนตายตาม ม.251 ไม่ได้ แม้จะฟังได้ว่าผู้ตายได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยคนนั้นทำร้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นไม่ลงโทษจำเลยที่ 3 และโจทก์ก็ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะลงโทษจำเลยที่ 3 ไม่ได้
of 87