คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วัฒนา วิทยกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษหลายกระทงความผิดที่ผู้เสียหายต่างรายกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่านับโทษรวมได้เกิน 20 ปีได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
แม้การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีอื่น ๆ ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จะเป็นการกระทำด้วยเจตนาเหมือนกัน และมีการดำเนินการในลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายต่างรายกัน ทั้งการกระทำความผิดเกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน คดีแต่ละสำนวนจึงมิได้เกี่ยวพันกัน แม้โดยรูปคดีอาจพิจารณาไปด้วยกันได้ก็เป็นเพราะจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันเพื่อความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แล้ว มีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินกว่า 20 ปี ก็ย่อมพิพากษาให้บังคับเช่นนี้ได้ หาได้อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2853/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์อ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ที่ยกให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของ ส. เบียดบังที่ดินพิพาทไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ กลับจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ตาม ป.อ. มาตรา 354 ประกอบมาตรา 353 โจทก์จึงต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 96 แต่เมื่อในวันที่ 2 สิงหาคม 2559 ซึ่งโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่โอนให้ เนื่องจากโจทก์ไม่มีเงินให้ตามที่จำเลยที่ 1 เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทต่อโจทก์ และมูลความแห่งคดีเกิดขึ้นในวันดังกล่าวแล้ว เมื่อนับจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยสนับสนุนการกระทำชำเราเด็กหญิง ศาลแก้โทษเป็นผู้สนับสนุน ลดโทษตามกฎหมาย
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยคบคิดกับพวกที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ทั้งขณะพวกของจำเลยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์และมิได้ร่วมกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปให้พวกของจำเลยกระทำชำเรา และมิได้ช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 หรือห้ามปรามพวกของจำเลย เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่พวกของจำเลยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ก่อนกระทำความผิด จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8337/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหลักประกันหลังการฟื้นฟูกิจการ: เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนจากการฟื้นฟูกิจการ จำเลยมีสิทธิขอคืนหลักประกันได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับผิดคืนเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ได้รับไปจนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดห้องชุดเลขที่ 1095/161 ของจำเลยที่ 3 และที่ดิน 4 แปลงในจังหวัดภูเก็ต ของจำเลยที่ 1 ไว้ แต่ระหว่างที่มีการอุทธรณ์คำพิพากษา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีสำหรับห้องชุดของจำเลยที่ 3 และที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นการชั่วคราว ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนหลักประกันที่โจทก์ได้นำยึดไว้ โดยขอให้ถอนการยึดที่ดิน 4 แปลง และจำเลยที่ 1 ยินยอมทำหนังสือค้ำประกันในคดีแพ่ง โดยนำห้องชุดเลขที่ 252/252 และเลขที่ 252/11 รวม 2 ห้อง มาวางเป็นหลักประกันแทนโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 แพ้คดี และไม่ชำระเงินตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 ยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินที่นำมาวางไว้เป็นหลักประกันต่อศาลทันที ต่อมาศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งอายัดกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองห้องไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อให้ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนห้องชุดทั้งสองห้อง จึงถือได้ว่า ห้องชุดเลขที่ 252/252 และเลขที่ 252/11 รวม 2 ห้อง ของจำเลยที่ 1 เป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 1 วางต่อศาลสำหรับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อให้ศาลงดการบังคับคดี หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง โจทก์จะต้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ก็ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ และได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ตามแผนฟื้นฟูกิจการจนครบถ้วน เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงส่งผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ อันรวมถึงหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/75 โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อันรวมถึงทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาวางเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ได้อีก จึงต้องคืนหลักประกันที่วางประกันให้แก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลชั้นต้น/อุทธรณ์พิพากษาลงโทษกักขังแทนจำคุก ถือเป็นการต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี และกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้ การอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินประโยชน์ตอบแทนพิเศษของข้าราชการ แม้มีการทักท้วงภายหลัง การยกเลิกคำสั่งไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจ
เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) ที่จำเลยรับไปแล้วนั้น เป็นเงินที่จำเลยมีสิทธิได้โดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่จำเลย หลังจากจำเลยรับเงินดังกล่าวไปแล้ว แม้ต่อมาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 11 และสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดพิจิตรจะมีหนังสือทักท้วงไปยังโจทก์ว่าการเบิกจ่ายเงินดังกล่าวไม่ถูกต้อง โดยแจ้งว่าเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) ต้องเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่สามารถเบิกจ่ายจากเงินสะสมได้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้เงินที่จำเลยรับไปแล้วเป็นเงินที่ไม่ชอบ เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่การเงินของโจทก์เบิกเงินดังกล่าวจากเงินสะสมซึ่งสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดพิจิตรอ้างว่าไม่ถูกต้องตามระเบียบ ก็เป็นการทำงานที่บกพร่องของเจ้าหน้าที่การเงินของโจทก์เอง หาได้เกี่ยวข้องกับจำเลยแต่อย่างใดไม่ และการยกเลิกคำสั่งของเทศบาลตำบลวังกรดที่อนุมัติให้จำเลยได้รับเงินประโยชน์ดังกล่าว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีอำนาจตามกฎหมายข้อใดที่จะยกเลิกคำสั่งดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นการตัดสิทธิจำเลยที่จะได้รับเงินทั้งที่จำเลยมีสิทธิได้รับเงินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์เองก็ได้อนุมัติให้จำเลยรับเงินดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะยึดถือเงินทั้งสองจำนวนไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินทั้งสองจำนวนคืนจากจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องดำเนินการทางบัญชีเบิกจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษจากกองเงินงบประมาณที่ถูกต้องตามระเบียบการจ่ายเงินชดใช้คืนแก่กองเงินงบประมาณที่เจ้าหน้าที่การเงินของโจทก์เบิกผิดพลาดไป หาใช่มาฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยเช่นนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษคดีอาวุธปืน: เหตุบรรเทาโทษ, การรอการลงโทษ, และการแก้ไขบทมาตราที่ผิดพลาด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง, 72 ทวิ วรรคสอง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพ: พิจารณาความเหมาะสมตามสถานะพระภิกษุและศรัทธาของประชาชน
โจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระครู อ. ซึ่งถึงแก่มรณภาพขณะบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าอาวาส และมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เมื่อพระครู อ. ถึงแก่มรณภาพ โจทก์ติดต่อขอรับสังขารของพระครู อ. เพื่อนำไปฌาปนกิจตามประเพณี แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอม จำเลยทั้งสองให้การว่า ก่อนถึงแก่มรณภาพ พระครู อ. สั่งเสียลูกศิษย์ให้เก็บสังขารไว้ให้บรรพชนรุ่นหลังกราบสักการะ เนื้อหาแห่งคดีเป็นเรื่องสิทธิในการจัดการศพของผู้ตาย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองมีหน้าที่จัดการศพผู้ตาย แม้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ แต่การที่โจทก์จะมีอำนาจฟ้องหรือไม่ อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 55 ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิจัดการศพผู้ตายหรือไม่ และในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาลต้องพิจารณาฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานทั้งมวลที่ปรากฏในสำนวนว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นบุคคลต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้มีหน้าที่จัดการศพผู้ตายหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ก่อนถึงแก่มรณภาพพระครู อ. มีทรัพย์สินรถยนต์ส่วนบุคคลเป็นมรดกตกทอดแก่วัดจำเลยที่ 1 เนื่องจากมิได้ร้องขอแก้ไขภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีผลเพียงว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ปรากฏขึ้นจากการกล่าวอ้างในคำให้การของจำเลยทั้งสองเท่านั้น หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงส่วนนี้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ถูกต้องแท้จริงก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับฟังจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้ใดได้รับมรดกของผู้ตายมากที่สุดซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองมีหน้าที่จัดการศพผู้ตาย จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการชี้ขาดคดี
พระครู อ. มีทายาทเหลืออยู่เพียงคนเดียวคือโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้หนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่จัดการศพของพระครู อ. ได้ แต่เมื่อตามสถานะของผู้ตายซึ่งได้บวชเป็นพระภิกษุตั้งแต่อายุ 25 ปี และมรณภาพอายุ 75 ปี รวมเวลาที่อยู่ในสมณเพศนานถึง 50 พรรษา หลังจากพระครู อ. ถึงแก่มรณภาพแล้ว ญาติพี่น้องรวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันจัดงานสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 15 วัน โดยวัดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแล้วบรรจุเก็บสังขารของพระครู อ. ไว้บำเพ็ญกุศลทุกวันพระเป็นเวลา 100 วันพระ และได้ความตามรายงานการประชุมเกี่ยวกับการจัดการศพพระครู อ. ว่า มีประชาชนศรัทธามาสักการะสังขารของพระครู อ. เป็นจำนวนมาก แสดงว่าพระครู อ. เป็นพระที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา ยิ่งไปกว่านั้น การที่พระครู อ. บวชเป็นพระภิกษุตลอดมา แสดงว่าพระครู อ. มีศรัทธาอุทิศตนเพื่ออยู่ในพุทธศาสนา ซึ่งมีวัดเป็นสถานรวมกิจกรรมของสงฆ์และการประกอบพิธีทางศาสนาของประชาชน การที่โจทก์เป็นผู้จัดการศพของพระครู อ. น่าจะไม่สอดคล้องกับความศรัทธาของประชาชนผู้เลื่อมใสเคารพนับถือแก่พระครู อ. จึงเป็นการสมควรที่วัดจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับสรีระสังขารของพระครู อ. ต่อไป โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือวัดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับมรดกของผู้ตายมากที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ความผิดฐานกระทำชำเรา พาเด็กไปเพื่ออนาจาร และพรากเด็กจากผู้ปกครอง
จำเลยใช้วาจาล่อลวงชักชวนให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปหาจำเลยยังที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร การกระทำชำเราต่อเนื่อง และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
การพรากผู้ร้องที่ 1 ไปจากผู้ร้องที่ 2 เริ่มขึ้นด้วยการกระทำของจำเลยที่ 1 ไปจนถึงบ้าน ห. แล้วจำเลยที่ 1 ยังพาผู้ร้องที่ 1 จากบ้าน ห. ต่อไปยังบ้านจำเลยที่ 2 อีก โดยในช่วงนี้จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมรู้เห็นยินยอมและเดินทางไปพร้อมกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้กระทำชำเราผู้ร้องที่ 1 ต่อจากจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 2 ด้วย ทั้งที่จำเลยที่ 2 รู้ว่าผู้ร้องที่ 1 เป็นคนรักของจำเลยที่ 1 จึงบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้เห็นกันในการพาผู้ร้องที่ 1 จากบ้าน ห. ไปกระทำชำเราที่บ้านจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 พรากผู้ร้องที่ 1 ไปพ้นจากอำนาจปกครองของผู้ร้องที่ 2 ตั้งแต่บ้าน ห. เป็นต้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ก่อนนั้นจะเสร็จสิ้นขาดตอนลงหรือไม่หาเป็นสาระสำคัญไม่จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานโดยปราศจากเหตุอันสมควรร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร
การกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร และความผิดฐานร่วมกันกับจำเลยที่ 2 พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
of 4