พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรณีสัญญาจะซื้อขายและประเด็นฟ้องซ้ำ
ฟ้องคดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยได้สละสิทธิมอบที่พิพาทให้โจทก์และภริยาโจทก์แล้วหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้โจทก์หรือไม่ จึงมีประเด็นคนละอย่าง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ภริยาโจทก์ซึ่งเป็นบุตรจำเลยได้ไถ่ถอนการขายฝากที่พิพาทแทนจำเลยแล้วจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันนั้น ครั้นเมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรม จำเลยกลับยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาทดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จะบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาท โจทก์ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไป อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับแต่วันนั้น ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาท ฉะนั้น เมื่อนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทจนถึงวันฟ้องคดีเกินสิบปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163,164
โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อน ศาลพิพากษายกฟ้องอายุความ จึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174
ภริยาโจทก์ซึ่งเป็นบุตรจำเลยได้ไถ่ถอนการขายฝากที่พิพาทแทนจำเลยแล้วจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันเดียวกันนั้น ครั้นเมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรม จำเลยกลับยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาทดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จะบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาท โจทก์ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไป อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับแต่วันนั้น ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอขายที่พิพาท ฉะนั้น เมื่อนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอขายที่พิพาทจนถึงวันฟ้องคดีเกินสิบปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163,164
โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อน ศาลพิพากษายกฟ้องอายุความ จึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่งเพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้อายุความสะดุดหยุดต่อเนื่อง
เดิม ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ฟ้องลูกหนี้(จำเลย) เป็นคดีแพ่งสามัญ(เรียกเงินตามเช็ค แล้วต่อมาลูกหนี้ถูกฟ้องและศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ด็ดขาดในคดีล้มละลาย ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จึงขอถอนฟ้องคดีแพ่งโดยใช้ถ้อยคำว่า ถอนฟ้องเพื่อไปดำเนินการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องขอรัรบชำระหนี้มิได้มีเจตนาที่จะถอนฟ้องไปเสียเลยโดยเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 ที่ว่า "คดีนั้นได้ถอนเสีย" อย่างไรก็ดี คดีแพ่งสามัญจะดำเนินไปหรือไม่ก็ตาม แม้ชนะคดีแล้ว ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ก็ต้องไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอยู่นั่นเอง และศาลก็ได้อนุญาตตามที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้แถลง เท่ากับเป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องทางศาลโดยการฟ้องคดีแพ่งและขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย ต่อเนื่องเกี่ยวโยงกันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดต่อเนื่องกันไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 หาเป็นเหตุให้อายุความไม่สะดุดหยุดลงตามมาตรา 174 ไม่
(ประชุมใหญ่ ครื่งที่ 12/2508)
(ประชุมใหญ่ ครื่งที่ 12/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการถอนฟ้องคดีแพ่งเพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การฟ้องคดีแพ่งและการพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องกันทำให้อายุความสะดุดหยุด
เดิม ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ฟ้องลูกหนี้ (จำเลย) เป็นคดีแพ่งสามัญ (เรียกเงินตามเช็ค) แล้วต่อมาลูกหนี้ถูกฟ้องและศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จึงขอถอนฟ้องคดีแพ่งโดยใช้ถ้อยคำว่า ถอนฟ้องเพื่อไปดำเนินการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องขอชำระหนี้มิได้มีเจตนาที่จะถอนฟ้องไปเสียเลยโดยเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 ที่ว่า 'คดีนั้นได้ถอนเสีย' อย่างไรก็ดี คดีแพ่งสามัญจะดำเนินไปหรือไม่ก็ตามแม้ชนะคดีแล้วผู้ร้องขอรับชำระหนี้ก็ต้องไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอยู่นั่นเอง และศาลก็ได้อนุญาตตามที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้แถลงเท่ากับเป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องทางศาล โดยการฟ้องคดีแพ่งและขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องเกี่ยวโยงกันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดต่อเนื่องกันไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 หาเป็นเหตุให้อายุความไม่สะดุดหยุดลงตามมาตรา174 ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: เริ่มนับระยะเวลาหลังแบ่งแยกโฉนด, อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องร้อง
อ.และฉ.กับคนอื่นมีชื่อในโฉนดว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งยังมิได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด การที่ อ.ครอบครองที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงนั้นย่อมต้องถือว่าครอบครองที่ส่วนนั้นในฐานะเจ้าของร่วมคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียว ครั้นแบ่งแยกโฉนดเป็นที่ดิน 2 แปลงแล้วปรากฏว่าส่วนที่ อ.ครอบครองอยู่นั้นล้ำเข้าไปอยู่ในเขตโฉนดของฉ.8ตารางวา เมื่ออ.ยังคงครอบครองที่ส่วนนี้ต่อมา ก็อาจอ้างได้ว่าครอบครองในลักษณะปรปักษ์ตั้งแต่เวลาที่มีการแบ่งแยกโฉนดกันนั้น
อ.ครอบครองที่ดินพิพาทในลักษณะปรปักษ์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วโอนให้ จ. ดังนี้ ย่อมนับเวลาซึ่ง อ.ครอบครองกับที่ จ.ครอบครอง รวมกันเป็นอายุความครอบครองโดยปรปักษ์ได้
จ.มีรั้วล้ำเข้าไปอยู่ในเขตที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8 ตารางวา ฉ.ฟ้องจ.ขอบังคับให้รื้อรั้ว จ.ให้การว่าอ.สามีตนทำรั้วเข้าไปในเขตที่ดินของ ฉ.ฉ.ไม่ทักท้วงจนเกิน10ปีแล้ว ฉ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่ไม่ได้ใช้ที่ดิน ศาลพิพากษาให้จ.รื้อรั้ว ดังนี้ อายุความการครอบครองโดยปรปักษ์ในที่ดิน 8 ตารางวานั้น ย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ฉ.ยื่นฟ้อง (แม้ศาลจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงในปัญหาที่ว่าฝ่าย จ.ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานี้มาเกิน10 ปีหรือไม่ก็ตาม)
อ.เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 5449 ได้ทำรั้วเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8ตารางวา ต่อมาอ.โอนที่ดินโฉนดที่ 5449 นั้นให้แก่ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียวและนับแต่นั้นเองก็ไม่ได้แสดงกิริยาอาการอย่างใดให้ถือว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานั้นอยู่โดยเฉพาะเจาะจงอีก ดังนี้ เมื่อ ฉ.จะฟ้องคดีเพื่อให้อายุความครอบครองโดยปรปักษ์สะดุดหยุดลงก็ชอบที่จะฟ้องแต่ จ.คนเดียวได้
อ.ครอบครองที่ดินพิพาทในลักษณะปรปักษ์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วโอนให้ จ. ดังนี้ ย่อมนับเวลาซึ่ง อ.ครอบครองกับที่ จ.ครอบครอง รวมกันเป็นอายุความครอบครองโดยปรปักษ์ได้
จ.มีรั้วล้ำเข้าไปอยู่ในเขตที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8 ตารางวา ฉ.ฟ้องจ.ขอบังคับให้รื้อรั้ว จ.ให้การว่าอ.สามีตนทำรั้วเข้าไปในเขตที่ดินของ ฉ.ฉ.ไม่ทักท้วงจนเกิน10ปีแล้ว ฉ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่ไม่ได้ใช้ที่ดิน ศาลพิพากษาให้จ.รื้อรั้ว ดังนี้ อายุความการครอบครองโดยปรปักษ์ในที่ดิน 8 ตารางวานั้น ย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ฉ.ยื่นฟ้อง (แม้ศาลจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงในปัญหาที่ว่าฝ่าย จ.ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานี้มาเกิน10 ปีหรือไม่ก็ตาม)
อ.เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 5449 ได้ทำรั้วเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8ตารางวา ต่อมาอ.โอนที่ดินโฉนดที่ 5449 นั้นให้แก่ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียวและนับแต่นั้นเองก็ไม่ได้แสดงกิริยาอาการอย่างใดให้ถือว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานั้นอยู่โดยเฉพาะเจาะจงอีก ดังนี้ เมื่อ ฉ.จะฟ้องคดีเพื่อให้อายุความครอบครองโดยปรปักษ์สะดุดหยุดลงก็ชอบที่จะฟ้องแต่ จ.คนเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแย่งการครอบครอง: การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ไม่ทำให้สิทธิเสื่อม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองแล้ว แต่ในระหว่างพิจารณาถูกจำเลยที่ 3 ที่ 4 ฟ้องเป็นจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 หาว่าโจทก์นำชี้ทำแผนที่พิพาทรุกล้ำที่ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 คู่ความทุกสำนวนจึงได้ตกลงกันต่างถอนฟ้องคดีของตนไป และให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยที่ 1, 2, 3, 4 เป็นคดีใหม่เพื่อสะดวกในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่าย ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องคดีใหม่นั้นเกิน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองก็ไม่ทำให้คดีใหม่ของโจทก์ขาดอายุความ การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ในกรณีเช่นนี้ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องไว้เดิมเสื่อมเสียแต่ประการใด และกรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ไม่ทำให้สิทธิในการฟ้องเดิมเสื่อมเสีย ไม่ถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองแล้วแต่ในระหว่างพิจารณาโจทก์ถูกจำเลยที่ 3 ที่ 4 ฟ้องเป็นจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 หาว่าโจทก์นำชี้ทำแผนที่พิพาทรุกล้ำที่ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 คู่ความทุกสำนวนจึงได้ตกลงกันต่างถอนฟ้องคดีของตนไปและให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยที่ 1,2,3,4 เป็นคดีใหม่เพื่อสะดวกในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่ายดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีใหม่นั้นเกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครอง ก็ไม่ทำให้คดีใหม่ของโจทก์ขาดอายุความการถอนฟ้องและฟ้องใหม่ในกรณีเช่นนี้ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องไว้เดิมเสื่อมเสียแต่ประการใดและกรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำโดยไม่มีอำนาจลงนาม อายุความไม่สะดุดหยุด
บริษัทจำกัดฟ้องความโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจโดยถูกต้องลงชื่อในคำฟ้องนั้น ถือเสมือนว่าฟ้องไม่มีการลงชื่อและไม่ถือว่าบริษัทจำกัดได้เคยฟ้องคดีนั้นใหม่เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุความที่จะฟ้องร้องแล้วก็ย่อมขาดอายุความ ไม่มีเหตุจะอ้างได้ว่าอายุความได้สะดุดหยุดลง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำโดยผู้ไม่มีอำนาจ ทำให้คดีขาดอายุความ แม้จะฟ้องใหม่
บริษัทจำกัดฟ้องความโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจโดยถูกต้องลงชื่อในคำฟ้องนั้น ถือเสมือนว่าฟ้องไม่มีการลงชื่อและไม่ถือว่าบริษัทจำกัดได้ เคยฟ้องคดีนั้นเลยฉะนั้นเมื่อบริษัทฟ้องคดีนั้นใหม่เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุความที่จะฟ้องร้องแล้วก็ย่อมขาดอายุความ ไม่มีเหตุจะอ้างได้ว่าอายุความได้สดุดหยุดลง (ป.ช.ญ.ครั้งที่ 8/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากผู้ไม่ร่วมกระทำผิดทางอาญา และอายุความจากความผิดอาญา
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในฐานะละเมิดจากผู้อื่น ซึ่งมิได้ร่วมในการกระทำผิดทางอาญาด้วยนั้น ต้องนับอายุความตาม ป.พ.พ.ม.448 วรรค 1 ( อ้างฎีกาที่ 383/2497 )
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.ม.168
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.ม.168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากผู้ไม่ร่วมกระทำผิดทางอาญา และผลของการถอนฟ้องคดีแพ่ง
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในฐานละเมิดจากผู้อื่น ซึ่งมิได้ร่วมในการกระทำผิดทางอาญาด้วยนั้น ต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 383/2497)
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168