พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4019/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบกันเพื่อจำหน่ายยาเสพติด การครอบครองเพื่อจำหน่าย และการส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิด
จำเลยกับ ป. ส่งข้อความทางแอปพลิเคชันเมสเซนเจอร์โต้ตอบกัน เนื่องจาก ศ. ไปขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ป. ที่บ้านจำเลย แต่ ป. ไม่ทราบว่าจำเลยซุกซ่อนไว้ที่ใด บ่งชี้ว่า ป. ทราบดีว่าจำเลยเก็บเมทแอมเฟตามีนไว้ภายในบ้านและ ป. ต้องการนำเมทแอมเฟตามีนไปจำหน่ายให้แก่ ศ. ซึ่งจำเลยก็ประสงค์ให้ ป. นำเมทแอมเฟตามีนที่เก็บไว้ไปจำหน่ายให้แก่ ศ. เช่นกัน พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดฐานสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน ส่วนการที่จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ป. เสพที่บ้านจำเลยและให้ ป.จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแก่ลูกค้าผู้ซื้อไปด้วย จึงเป็นการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน ไม่ถือว่าเป็นการจำหน่าย เพราะคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 หมายถึง การจำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้กระทำความผิดด้วยกัน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ปลอมเอกสารราชการ-ใช้เอกสารราชการปลอม-แจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยเป็นผู้เสียหายที่ 2 ให้ผู้เสียหายที่ 1 จดข้อความเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน และเป็นเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่น เพื่อย้ายชื่อผู้เสียหายที่ 2 ออกจากบ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 6 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และนำชื่อย้ายเข้าบ้านเลขที่ 3/2 หมู่ที่ 3 ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด แล้วจำเลยลงลายมือชื่อปลอมเป็นผู้เสียหายที่ 2 ในเอกสารราชการดังกล่าว ต่อมาจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้เสียหายที่ 3 ว่า จำเลยเป็นผู้เสียหายที่ 2 ได้ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองปรากฏว่าสูญหาย/ถูกทำลาย เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 3 จดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในบันทึกการรับแจ้งเอกสารเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนสูญหายหรือถูกทำลาย (บ.ป.7) อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จากนั้นจำเลยกับ ย. ร่วมกันยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ต่อผู้เสียหายที่ 3 และผู้เสียหายที่ 4 โดยใช้บันทึกคำให้การรับรองบุคคลเอกสารราชการอันเป็นเท็จอันเกิดจากการกระทำความผิดของ ย. ประกอบคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน (บ.ป.1) โดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นผู้เสียหายที่ 2 จนทำให้ผู้เสียหายที่ 3 หลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียว คือ เพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานก่อการร้าย พยายามฆ่า มีวัตถุระเบิด และเป็นซ่องโจร ศาลแก้โทษและข้อหาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันประกอบ ทำและมีวัตถุระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบขึ้นเองเป็นระบบไฟฟ้า ควบคุมจากระยะไกลเป็นสวิตช์จุดระเบิดใช้โซเดียมคลอเรตผสมร่วมกับวัตถุระเบิดแรงสูงชนิดแอนโฟร์ดัดแปลงเป็นดินระเบิดหลัก ใช้วัตถุระเบิดแรงสูงเป็นดินขยายระเบิด ใช้เหล็กเส้นตัดท่อนดัดแปลงเป็นสะเก็ดระเบิดประกอบรวมกันไว้ในภาชนะถังน้ำยาเคมีดับเพลิงดัดแปลง 1 ลูก ซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฯ มาตรา 38, 74 ซึ่งเป็นบทความผิดและบทลงโทษมาด้วย ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตราดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 74 มาด้วยนั้น จึงเป็นการพิพากษาในข้อที่มิได้กล่าวมาในฟ้องและเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจทำได้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องด้วยเหตุต่างจากศาลชั้นต้น โดยอาศัย ป.วิ.อ. มาตรา 220
แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยเหตุคนละเหตุกัน คู่ความก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตรวจรับงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์โดยเจตนาทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162(4)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจการจ้างโครงการก่อสร้างถนน คสล. สายบวงสรวง - น้ำร้อน ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้าง จัดทำเอกสารและลงลายมือชื่อทำการตรวจรับงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว งวดที่ 10 และ 11 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 อันเป็นการรับรองเป็นหลักฐาน ซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (4) ประกอบมาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับพร้อมกัน โดยถือเอาคำฟ้องโจทก์ที่กล่าวหาจำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารตรวจรับงานโครงการก่อสร้างถนน คสล. สายบวงสรวง - น้ำร้อน เป็นการกระทำความผิด และความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จและจะเป็นความผิดต่อเมื่อเจ้าพนักงานผู้นั้นลงลายมือชื่อรับรองในเอกสารดังกล่าว ตราบใดที่เจ้าพนักงานผู้นั้นยังไม่ได้ลงลายมือรับรองเอกสารแล้วความผิดยังไม่เกิดขึ้น สัญญาโครงการก่อสร้างถนน คสล. สายบวงสรวง - น้ำร้อน กำหนดอายุโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 8 มิถุนายน 2551 จึงไม่ใช่วันกระทำความผิด เพราะจำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับรองเอกสารตรวจรับงาน ส่วนจำเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ทำหนังสือขอส่งมอบงานงวดที่ 10 และ 11 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาตามสัญญาแล้วก็ไม่มีผลทำให้เกิดการกระทำความผิดในวันที่ 8 มิถุนายน 2551 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จำเลยที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อรับรองในใบตรวจรับงานจ้างเหมาว่า จำเลยที่ 6 ทำงานงวดที่ 10 และ 11 ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแล้วเสร็จ และได้ส่งมอบงานถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2551 ตามใบตรวจรับงานจ้างเหมา จึงถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2551 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 จึงอยู่ภายในอายุความสิบปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
หนังสือส่งงานก่อสร้างว่า จำเลยที่ 6 ได้ทำงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เป็นความเท็จ ซึ่งความจริงงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่างานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายที่จำเลยที่ 6 ทำหนังสือส่งงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างต้องไม่รับตรวจงานจ้างดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กลับทำใบรับงานจ้างเหมาว่าผู้รับจ้างทำงานงวดที่ 10 และ 11 ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแล้วเสร็จและได้ส่งมอบงานถูกต้องเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2551 จึงเห็นสมควรจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างตามสัญญา ตามใบตรวจรับงานจ้างเหมา จึงเป็นการทำเอกสารในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86
หนังสือส่งงานก่อสร้างว่า จำเลยที่ 6 ได้ทำงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เป็นความเท็จ ซึ่งความจริงงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่างานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายที่จำเลยที่ 6 ทำหนังสือส่งงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างต้องไม่รับตรวจงานจ้างดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กลับทำใบรับงานจ้างเหมาว่าผู้รับจ้างทำงานงวดที่ 10 และ 11 ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแล้วเสร็จและได้ส่งมอบงานถูกต้องเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2551 จึงเห็นสมควรจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างตามสัญญา ตามใบตรวจรับงานจ้างเหมา จึงเป็นการทำเอกสารในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5315/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน แม้ความผิดมูลฐานเกิดขึ้นภายหลังการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
แม้ความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ถูกกำหนดให้เป็นความผิดมูลฐานภายหลังจากที่มีการกระทำความผิดมูลฐานดังกล่าวหรือเป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ทรัพย์สินมา ศาลก็มีอำนาจนำบทบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่คดีของผู้คัดค้านที่ 1 ได้ เพราะไม่ได้นำมาวินิจฉัยและลงโทษจำเลยในทางอาญาพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่มุ่งถึงตัวทรัพย์สินเป็นสำคัญ ส่วนความผิดมูลฐานที่ผู้ร้องอ้างเป็นเหตุขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นข้อเท็จจริงประกอบว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือไม่ แม้คำร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินอ้างเหตุจากความผิดมูลฐานเดียวกัน แต่เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องยังไม่เคยยื่นคำร้องขอมาก่อน ผู้ร้องก็ยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินได้ เมื่อทรัพย์สินที่ผู้ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ ฟ.93/2558 ของศาลชั้นต้น เป็นทรัพย์สินต่างรายการกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้จึงไม่เป็นการร้องซ้อน ร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ศาลจะมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 ไม่ได้จะต้องเป็นทรัพย์สินในคดีที่มีคำพิพากษาและมีผู้ถูกลงโทษแล้วเท่านั้น เนื่องจากการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินเป็นมาตรการทางแพ่งที่มาตรา 59 บัญญัติให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธินำสืบพิสูจน์ได้ตามมาตรา 50 หรือนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของมาตรา 51 วรรคสาม ในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องรอให้การดำเนินคดีอาญาในความผิดมูลฐานถึงที่สุดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการค้ายาเสพติด: ศาลฎีกายกเลิกการลงโทษตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ และใช้บทลงโทษประมวลกฎหมายอาญาแทน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 3 มิได้สมคบเป็นตัวการร่วมกับผู้ร่วมกระบวนการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางมาตั้งแต่เริ่มต้นติดต่อและตกลงซื้อขายหรือในการรับมอบเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางนำไปส่งให้ผู้ล่อซื้อหรือการคอยรับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลาง ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้สมคบกับจำเลยอื่นเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว แม้ในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 3 คงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 6 (1) ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาในคำขอท้ายฟ้อง ย่อมถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ตามบทบัญญัติดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 86 เท่านั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ แม้ผู้รู้รหัส แต่ระบบเปิดให้เข้าถึงได้
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ห้ามมิให้ส่งข้อมูลที่จำเลยเข้าถึงและส่งไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของจำเลย เผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอก ให้ใช้ได้เฉพาะภายในบริษัทโจทก์เท่านั้น แสดงว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าว เป็นข้อมูลที่โจทก์หวงแหน ห้ามมิให้บุคคลอื่นได้เข้าถึง ดังนี้ การกระทำของจำเลยซึ่งลาออกจากบริษัทโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยยังเข้าไปในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่โจทก์มอบให้จำเลยสำหรับปฏิบัติงาน และส่งไฟล์ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการบินพาณิชย์ อันเป็นความลับของโจทก์ ไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 7 และมีสิทธิฟ้องจำเลย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำอนาจารและพรากผู้เยาว์ โดยพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการปรับบทความผิด
การร้องทุกข์มิใช่เป็นการทำนิติกรรม โจทก์ร่วมที่ 1 จึงกระทำเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากโจทก์ร่วมที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม การปรับวรรคความผิดเป็นหน้าที่ของศาล โจทก์จึงไม่จำต้องระบุวรรคความผิดไว้ท้ายคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 318 วรรคสาม จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากโจทก์ร่วมที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม การปรับวรรคความผิดเป็นหน้าที่ของศาล โจทก์จึงไม่จำต้องระบุวรรคความผิดไว้ท้ายคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 318 วรรคสาม จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ