พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกกฎกระทรวงทำให้จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
ในขณะพิจารณาคดี ได้มีกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 7 ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน 2485 ลงวันที่14 มีนาคม 2491 ยกเลิกความใน ข้อ 2,11 แห่งกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 1 อันเป็นบทบัญญัติความผิดในคดีแล้ว จึงต้องใช้กฎหมายที่มีโทษเบาแก่ผู้ต้องหาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายหลังกระทำผิดและการยกฟ้องอาญาเนื่องจากกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกักกันข้าวในเขตห้ามกักกันข้าวในระหว่างพิจารณาได้มีพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว(ฉบับที่ 2)2489 ออกใช้ ซึ่งบัญญัติว่าผู้มีข้าวเกินปริมาณจะมีผิดต่อเมื่อไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับเดิมและเป็นคุณแก่จำเลย เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีผิดตามกฎหมายฉบับหลัง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 (อ้างฎีกาที่ 621-622/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายอาญาหลังกระทำผิด: ผลกระทบต่อการลงโทษจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกักกันข้าวในเขตต์ห้ามกักกันข้าว ในระหว่างพิจารณาได้มี พระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว (ฉะบับที่ 2) 2489 ออกใช้ ซึ่งบัญญัติว่าผู้มีข้าวเกินปริมาณจะมีผิดต่อเมื่อไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายฉะบับเดิมและเป็นคุณแก่จำเลย เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีผิดตาม ก.ม.ฉะบับหลัง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 8
(อ้างฎีกาที่ 621-622 / 2491)
(อ้างฎีกาที่ 621-622 / 2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิดหากมีโทษเบากว่า ตามหลัก ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 8
การริบทรัพย์เป็นโทษทางอาญาอย่างหนึ่ง ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะที่จำเลยกระทำผิดให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล จะริบหรือไม่ริบก็ได้ แต่กฎหมายที่ใช้ในขณะพิจารณาคดีบัญญัติว่าต้องริบ เช่นนี้ต้องใช้กฎหมายในขณะจำเลยกระทำผิด คือศาลจะไม่ริบก็ได้ ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 8.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด แม้กฎหมายปัจจุบันจะให้อำนาจริบได้
การริบทรัพย์เป็นโทษทางอาญาอย่างหนึ่งถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะที่จำเลยกระทำผิดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล จะริบหรือไม่ริบก็ได้ แต่กฎหมายที่ใช้ในขณะพิจารณาคดีบัญญัติว่าต้องริบ เช่นนี้ต้องใช้กฎหมายในขณะจำเลยกระทำผิด คือศาลจะไม่ริบก็ได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ราคาข้าว: พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคยังใช้ได้ แม้มี พ.ร.บ.การค้าข้าว เหตุราคาข้าวใหม่ยังไม่ออก
ขายข้าวสารเกินราคากว่าที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ กำหนดไว้ แม้จะเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติการค้าข้าว 2489 ประกาศใช้แล้วแต่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว 2489 ยังหาได้ประกาศกำหนดราคาข้าว ทั้งยังมิได้ยกเลิกราคาข้าวเดิมจึงต้องอาศัยราคาข้าวที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ กำหนดไว้เมื่อขายเกินราคาก็ต้องมีผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและกฎหมายสำรวจห้ามกักกันข้าวควบคู่กัน โดยมิได้ขัดแย้งกัน
จำเลยขนย้ายข้าวสารจากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่งภายในจังหวัดเดียวกัน ซึ่งอยู่ภายในขอบเขตที่คณะกรรมการสำรวจห้ามกักกันข้าวได้ประกาศอนุญาตไว้ให้ขนย้ายได้ภายในแต่ละจังหวัดแต่เป็นฝ่าฝืนประกาศข้าหลวงประจำจังหวัดซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค 2488 นั้น ถ้าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนประกาศ ซึ่งออกตามอำนาจในพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯแล้ว ก็ต้องใช้ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ 2488 มาบังคับและจำเลยต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพราะพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ 2488 และพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 มิใช่กฎหมายที่ใช้แทนกันหรือขัดกันโดยมีความมุ่งหมายต่างกัน ผู้ใดละเมิดกฎหมายฉบับใดก็ต้องใช้กฎหมายฉบับนั้นบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197-198/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและกฎหมายสำรวจข้าว: การพิจารณาความผิดฐานไม่แจ้งปริมาณข้าว
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ 2488 กับพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 ไม่ใช่กฎหมาย ที่ใช้แทนกันหรือขัดกันเพราะพระราชบัญญัติฉบับแรกมีความมุ่งหมายเพื่อให้มีเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของต่างๆ เพียงพอแก่ความต้องการของประเทศ ส่วนความมุ่งหมายในพระราชบัญญัติฉบับหลังมีเพียงแต่สำรวจและห้ามกักกันข้าว เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดละเมิดพระราชบัญญัติ ฉบับใด ก็ต้องใช้พระราชบัญญัตินั้นบังคับ
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคโดยมิได้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวสารต่อคณะกรรมการตามประกาศศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยได้ละเมิดต่อ พระราชบัญญัติที่กล่าวหรือไม่
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคโดยมิได้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวสารต่อคณะกรรมการตามประกาศศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยได้ละเมิดต่อ พระราชบัญญัติที่กล่าวหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค แม้มีประกาศยกเลิกภายหลัง ก็ไม่ทำให้ความผิดนั้นระงับ
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ไปออกคำสั่งเพื่อให้การเป็นไปตามพ.ร.บ. เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนประกาศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นก็ย่อมมีผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานอันมีโทษตามพ.ร.บ.นี้
ประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคฯนั้นหาใช่กฎหมายไม่ประกาศที่ออกมาภายหลังยกเลิกการควบคุมสิ่งของบางอย่างจึงไม่ใช่กฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือไม่เอาโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดฐานฝ่าฝืนประกาศฉบับแรกกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5) หรือกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 ผู้ฝ่าฝืนจึงยังคงมีความผิดและมีโทษ
ประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคฯนั้นหาใช่กฎหมายไม่ประกาศที่ออกมาภายหลังยกเลิกการควบคุมสิ่งของบางอย่างจึงไม่ใช่กฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือไม่เอาโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดฐานฝ่าฝืนประกาศฉบับแรกกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5) หรือกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 ผู้ฝ่าฝืนจึงยังคงมีความผิดและมีโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและการริบของกลาง ศาลต้องใช้บทบัญญัติเดิม แม้มีกฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ 2488 กับพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 มิใช่กฎหมายที่จะใช้แทนกันได้
ของกลางที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ 2488 นั้น ศาลต้องริบจะใช้ดุลพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ของกลางที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ 2488 นั้น ศาลต้องริบจะใช้ดุลพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นไม่ได้