คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กฤษฎิ์จิรัฐ คุณาจิรภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทางเข้าออกที่ดินร่วมกันขัดสิทธิแบ่งทรัพย์ เจ้าของรวมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์และจำเลยมีข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกที่ใช้ร่วมกันและยังไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แล้ว โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมจึงไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์ เนื่องจากมีนิติกรรมขัดอยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนขอรับฎีกาในคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 โดยมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" ดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินรางวัลทนายความในคดีริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด: ศาลไม่จำเป็นต้องจ่ายหากไม่มีบทบัญญัติรองรับ
ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้จำเลยมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือจำคุก อันเป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ แม้การริบทรัพย์เป็นโทษทางอาญาอย่างหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 และผู้คัดค้านได้รับความช่วยเหลือทางคดีจากผู้ขอรับเงินรางวัลทนายความดังที่ผู้ขอรับเงินรางวัลทนายความฎีกาก็ตาม แต่โทษดังกล่าวก็มิใช่โทษประหารชีวิตหรือจำคุกตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่งและวรรคสอง กรณีจึงไม่สามารถนำบทบัญญัติดังกล่าวมาเทียบเคียงเพื่อจ่ายเงินรางวัลทนายความให้แก่ผู้ขอรับเงินรางวัลทนายความในคดีซึ่งผู้ร้องขอให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านให้มาเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ได้ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้ศาลตั้งทนายความให้แก่ผู้คัดค้านกับให้ศาลจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้ง ผู้ขอรับเงินรางวัลทนายความจึงไม่มีสิทธิขอรับเงินรางวัลทนายความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: ฟ้องชอบแม้ไม่ได้ระบุเจตนาผู้เยาว์
การพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ไม่ได้บรรยายว่าผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค แม้เหตุหนี้แตกต่างกันในรายละเอียด หากหนี้มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้บางส่วนอันเนื่องจากลูกค้าของโจทก์ได้ชำระค่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปแก่โจทก์และจำเลยรับไว้แทน แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าผ้าที่จำเลยเอาผ้าของโจทก์ไปผลิตเกินจากที่โจทก์สั่งแล้วนำไปจำหน่ายก็ตาม เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ตามที่โจทก์ฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญอันเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้ามลำดับชั้นศาล: จำเป็นต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก่อน จึงจะฎีกาได้
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยไม่เพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นกรณีที่พิจารณาเกี่ยวกับการบังคับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีอาญา ดังนี้ การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของจำเลย และสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยแล้วส่งมายังศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นอุทธรณ์ข้ามลำดับของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเฉพาะตัวตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่มีความผิด
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ข้อ 17 บัญญัติว่า "ผู้ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานตามข้อ 4 หรือผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 5 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อ 7 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังทำการฝ่าฝืนอยู่" เห็นได้ว่าผู้ที่จะมีความผิดดังกล่าว คือ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับสัมปทานเท่านั้น จึงเป็นความผิดเฉพาะตัว ไม่อาจมีการร่วมกันกระทำความผิดกับผู้ที่มิได้รับใบอนุญาตหรือมิได้รับสัมปทานด้วยได้เพราะเป็นความผิดอาญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน คือ จำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ว่าจะในฐานะกรรมการผู้จัดการหรือในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 17 แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา: ข้อจำกัดการเรียกค่าดอกเบี้ยและข้อยกเว้นค่าธรรมเนียม
พนักงานอัยการมีคำขอให้จำเลยคืนเงินจำนวน 43,150 บาท แก่ผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้คืนเงินจำนวน 43,150 บาท แก่โจทก์ร่วมอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสาม
ดอกเบี้ยของเงินจำนวน 43,150 บาท ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด แต่เป็นค่าเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย เพราะฉะนั้นพนักงานอัยการจะมีคำขอเรียกค่าดอกเบี้ยแทนโจทก์ร่วมไม่ได้ โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 43,150 บาท ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง ได้ ซึ่งตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง มิให้เรียกค่าธรรมเนียมจากโจทก์ร่วม เว้นแต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้เสียหายเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนสูงเกินสมควร หรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้เสียหายชำระธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาขัดกับเจตนาจำเลย ศาลต้องสอบถามก่อนอนุญาต การไม่สอบถามทำให้คดีถึงที่สุด
แม้ ป. ทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แต่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ก่อนที่ทนายความของจำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 26 เมษายน 2549 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาและขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ด้วย หลังจากนั้นทนายความของจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 อีกสองฉบับ และยื่นฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับความประสงค์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งทนายความตามที่ระบุไว้ในคำร้องของจำเลยที่ 2 ฉบับดังกล่าว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายความของจำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 โดยไม่สอบถามจำเลยที่ 2 ก่อน จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 223 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ฎีกาและวันที่ครบกำหนดฎีกาวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 เป็นวันอาทิตย์หยุดราชการ คดีของจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาคดีอาญา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 225
of 14