พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และให้เด็กนั่งดริ๊งค์บริการลูกค้า รวมถึงให้เด็กมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานบริการ และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก
จําเลยรับและให้ผู้เสียหายทั้งสองทํางานเป็นเด็กนั่งดริ๊งก์บริการลูกค้า ลูกค้าที่ร่วมโต๊ะจะกอด จูบ ลูบ คลําตัวผู้เสียหายทั้งสอง ค่านั่งดริ๊งก์ชั่วโมงละ 120 บาท จําเลยหักไว้ 20 บาท จําเลยบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ออกไปมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า ได้ค่าตัว 1,500 บาท จําเลยหักไว้ 500 บาท และบอกให้ผู้เสียหายที่ 2 ออกไปกับลูกค้าแต่ผู้เสียหายที่ 2 ปฏิเสธเนื่องจากมีประจำเดือน การกระทำของจำเลยทําให้อํานาจปกครองของ ท. และ ณ. ถูกรบกวน โดย ท. และ ณ. ไม่รู้เห็นยินยอม เป็นการพรากผู้เสียหายทั้งสองไปจากอํานาจปกครองเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีใช้อาวุธปืนเถื่อน, ฆ่า, พยายามฆ่า: ศาลแก้โทษเป็นกรรมเดียว, เพิ่มโทษตามกรรม
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 วรรคสาม กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยร่วมกันมีอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อความประสงค์อันเดียวกันและร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืน ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 และเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซี่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 เมื่อจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยต้องเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด เว้นแต่ในความผิดใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการการรื่นเริง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และ 225
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 เมื่อจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยต้องเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด เว้นแต่ในความผิดใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการการรื่นเริง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด: การประเมินระดับความประมาทและข้อยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่
แม้ที่เกิดเหตุจะเป็นทางร่วมทางแยกที่มีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท และการที่จำเลยขับรถตู้ของโจทก์ไปตามถนนซอย 2 สายตรี มุ่งหน้าไปทางถนนเซาน์เทิร์นซีบอร์ด ซึ่งเป็นทางโทไม่หยุดรถรอให้รถกระบะที่ ว. ขับมาตามถนนซอย 2 จากทางอำเภอกาญจนดิษฐ์ ซึ่งเป็นทางเอกผ่านไปก่อนแล้วจึงจะขับเข้าไปในทางร่วมทางแยก เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71 (2) แต่การฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวจะถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดีประกอบด้วย เมื่อตามคำเบิกความของพยานโจทก์ปาก ช. ซึ่งขณะเกิดเหตุนั่งด้านหน้ารถคู่กับจำเลยบ่งชี้ให้เห็นว่า ในการขับรถตู้ของโจทก์ผ่านสี่แยกที่เกิดเหตุ จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังในระดับหนึ่งแล้วแม้จะไม่ใช่ความระมัดระวังในระดับที่วิญญูชนในภาวะเช่นเดียวกับจำเลยจะต้องมีก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความประมาทเลินเล่อธรรมดาหาใช่ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และแม้จำเลยมีหน้าที่ขับรถให้แก่โจทก์ แต่ตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยนั้นไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการใช้ความระมัดระวังไว้เป็นอย่างอื่น การพิจารณาในเรื่องความประมาทเลินเล่อจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จำเลยอยู่ในสังกัดขณะทำละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 10 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกาคดียาเสพติด: วันที่คดีถึงที่สุดคือวันที่ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษา
จำเลยที่ 4 ซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำยื่นฎีกาต่อพัศดีภายในกำหนดเวลาฎีกา หากส่งฎีกาไปถึงศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาฎีกาแล้ว ให้ถือว่าเป็นฎีกาที่ได้ยื่นภายในกำหนดเวลา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 199 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 บทบัญญัติดังกล่าว สามารถใช้แก่การถอนฎีกาต่อพัศดีด้วยเช่นกัน การที่จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกาผ่านเรือนจำกลางคลองไผ่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ก่อนที่ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 และเรือนจำกลางคลองไผ่รับคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลยที่ 4 แล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลยที่ 4 ไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 หลังจากที่ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำสั่งศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกาแล้วก็ตาม กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ก่อนที่คำสั่งศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกามีผล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ถอนฎีกา ย่อมมีผลลบล้างการยื่นฎีกาและขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่ 4 คดีของจำเลยที่ 4 จึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นวันที่ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 4 ฟัง ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่ถึงที่สุดวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้ต้องรับโทษหรือผู้เกี่ยวข้อง ไม่รวมโจทก์/ผู้เสียหาย
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 วรรคหนึ่งและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า และตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับสำนวนการไต่สวนและความเห็นแล้ว ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับคำร้องและสั่งให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป แต่ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยมิได้ส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 9 วรรคสาม และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 บัญญัติเกี่ยวกับบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ คือ บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องรับโทษอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ปรากฏว่า กฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์แต่อย่างใด แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้ร้องได้ใช้สิทธิในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องคดี มีโอกาสนำเสนอพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างตามข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่แล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาตามสิทธิได้ต่อไป มิใช่ว่าเมื่อพบพยานหลักฐานใหม่ก็จะมาใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ กฎหมายมิได้บัญญัติให้สิทธิดังกล่าวแก่ผู้ร้อง มิฉะนั้นแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีของผู้ร้องในฐานะโจทก์ก็ย่อมไม่มีวันจบสิ้น
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 บัญญัติเกี่ยวกับบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ คือ บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องรับโทษอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ปรากฏว่า กฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์แต่อย่างใด แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้ร้องได้ใช้สิทธิในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องคดี มีโอกาสนำเสนอพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างตามข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่แล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาตามสิทธิได้ต่อไป มิใช่ว่าเมื่อพบพยานหลักฐานใหม่ก็จะมาใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ กฎหมายมิได้บัญญัติให้สิทธิดังกล่าวแก่ผู้ร้อง มิฉะนั้นแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีของผู้ร้องในฐานะโจทก์ก็ย่อมไม่มีวันจบสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอาญาคดีทุจริตฯ หลังเปิดทำการ: คดีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 3 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 อันเป็นวันภายหลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 8 เปิดทำการแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ภาพฤาษีเป็นสิ่งใช้กันทั่วไป ขัดต่อลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย
ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้น คำว่า โยคี กับฤาษี มีความหมายในทำนองเดียวกัน หากสาธารณชนทั่วไปพบเห็นเฉพาะภาพในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ย่อมอาจเรียกขานได้ว่า ภาพฤาษี ซึ่งเมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้า ตามทะเบียนเลขที่ ค275169 แล้ว ประกอบไปด้วยภาพโยคีหรือฤาษีอยู่ในวงกลม โดยไม่มีชื่อ คำ หรือข้อความใดประกอบอีก ภาพดังกล่าวจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ส่วนเครื่องหมายการค้า ตามทะเบียนเลขที่ ค296443 แม้มีคำว่า "โยคี" และ "YOKI" ประกอบอยู่ใต้ภาพ แต่คำดังกล่าวก็มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของภาพ ในเครื่องหมาย จึงมีเฉพาะภาคส่วนภาพเท่านั้นที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเช่นเดียวกับเครื่องหมายแรก อีกทั้งภาพดังกล่าวไม่พบว่ามีรายละเอียดหรือลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากภาพโยคีหรือฤาษีตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป เมื่อตามประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 กำหนดให้ "ฤาษี" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยารักษาโรคมนุษย์ การใช้เครื่องหมายการค้าที่มีสาระสำคัญของเครื่องหมายเพียงแค่ภาพโยคีหรือฤาษีดังเช่นเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาของโจทก์ย่อมไม่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง นอกจากนั้นโจทก์ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาและได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 และวันที่ 26 มิถุนายน 2551 ตามลำดับ ซึ่งตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นคำขอจดทะเบียน การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้นั้นอาจทำได้เฉพาะกรณี ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตามมาตรา 7 (1) หรือ (2) (เดิม) เท่านั้น เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาของโจทก์ล้วนมีสาระสำคัญเป็นภาพดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น จึงไม่อาจมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) ได้ การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาของโจทก์ย่อมขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้ปัจจุบัน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 จะอนุญาตให้พิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าในลักษณะภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นได้แล้ว แต่การจะพิสูจน์เครื่องหมายการค้าในลักษณะดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่ยื่นคำขอจดทะเบียนหลังจาก พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น เนื่องจากตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มาตรา 35 (1) กำหนดให้บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับในกรณีที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดไว้แล้ว ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เดิมต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด
แม้ปัจจุบัน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 จะอนุญาตให้พิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าในลักษณะภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นได้แล้ว แต่การจะพิสูจน์เครื่องหมายการค้าในลักษณะดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่ยื่นคำขอจดทะเบียนหลังจาก พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น เนื่องจากตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มาตรา 35 (1) กำหนดให้บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับในกรณีที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดไว้แล้ว ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เดิมต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับคืนทะเบียนสมาคมการค้าที่ถูกขีดชื่อออกจากการทะเบียน และข้อจำกัดระยะเวลาการร้องขอ
ตาม พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ.2509 มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีดำเนินการในกรณีสมาคมการค้าที่ร้างเนื่องจากมีการเลิกหรือถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนไว้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งจดชื่อสมาคมการค้าที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนให้กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมนำมาตรา 1273/4 ซึ่งอยู่ในหมวด 6 ว่าด้วยการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดร้างแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชย์ อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีให้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งเฉพาะศาลชั้นต้น ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความมาจากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิ้น คงมีการแก้ไขเฉพาะคำว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นศาลฎีกา และมีส่วนเพิ่มเติม พิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิดไปจากอุทธรณ์บ้างเล็กน้อยในรายละเอียด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่า พิพากษาไม่ชอบอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพราะเหตุใด ทั้งเหตุผลในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีบางส่วนก็แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 216 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 และศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายคล้ายกัน, เครื่องหมายมีชื่อเสียง, ห้ามจดทะเบียน, ทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมาย ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า "F-1" "FORMULA-1 OPTICAL FRAME" และ "COLLECTION" เรียงกัน 3 บรรทัด และภาคส่วนรูปช่อหรีดหรือรวงข้าวประดิษฐ์ โอบล้อมคำว่า "F-1" ซึ่งคำดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าคำอื่น ๆ ในเครื่องหมายภาคส่วนคำว่า "F-1" จึงถือเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า "เอฟ วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยภาคส่วนอักษร "F" ประดิษฐ์ และตัวเลขประดิษฐ์ "1" และคำว่า "Formula 1" ในลักษณะเอียง และภาคส่วนลายเส้นหลังตัวเลขประดิษฐ์ "1" โดยภาคส่วนคำว่า "F1" มีขนาดอักษรใหญ่กว่าคำว่า "Formula 1" อย่างเห็นได้ชัด ภาคส่วนคำว่า "F1" จึงถือเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า "เอฟ วัน" เช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ คำว่า "F-1" และ "F1" ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกันมาก ทั้งสาธารณชนที่พบเห็นโดยทั่วไปก็อาจเรียกขานเครื่องหมายของทั้งสองฝ่ายได้ว่า "เอฟ วัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายทั้งสองจะมีส่วนประกอบอื่นแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมาย นอกจากนี้เครื่องหมายทั้งสองต่างก็มีคำว่า "FORMULA-1" และ "Formula 1" ในขนาดที่เล็กกว่าวางตำแหน่งอยู่ในบริเวณใต้คำว่า "F-1" และ "F1" อันทำให้สาธารณชนที่พบเห็นเครื่องหมายทั้งสองดังกล่าวเข้าใจได้ว่า คำว่า "FORMULA-1" และ "Formula 1" เป็นคำเต็มของคำว่า "F-1" และ "F1" ดังนี้ เครื่องหมาย และ จึงมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน
เครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA-1" และอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA 1" ในบรรทัดบน กับตัวอักษรไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง ตัวอักษรทั้งสองบรรทัดมีขนาดใกล้เคียงกัน คำในทั้งสองบรรทัดจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมาย และ แล้ว เห็นว่า ทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นเครื่องหมายที่มีคำว่า "FORMULA" มีตัวสะกดเหมือนกันทุกประการ ตามด้วยเลขอารบิก "1" เหมือนกัน และต่างเป็นเครื่องหมายที่มีเฉพาะภาคส่วนคำทั้งสองเครื่องหมายอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่าวัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายของโจทก์จะมีคำภาษาไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง แต่ก็เป็นคำทับศัพท์จากอักษรโรมันซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษในบรรทัดบน โดยอาจอ่านออกเสียงได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน และแม้เครื่องหมายของจำเลยร่วมจะมีเครื่องหมาย "-" อยู่ระหว่างคำว่า "FORMULA" และเลข "1" แต่ก็เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เสียงเรียกขานแตกต่างไปจากคำในเครื่องหมายของโจทก์ กรณีจึงนับได้ว่าเครื่องหมาย และ มีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกัน
บริษัทโจทก์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เป็นบริษัทในเครือของเดอะ ฟอร์มูล่า วัน กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำมันเครื่อง อะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนตกแต่งรถยนต์และรถแข่ง รวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขันรถแข่งภายใต้เครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" โจทก์มีหน้าที่ในด้านส่งเสริมการขายและจัดกิจกรรมแข่งขันรถชิงแชมป์โลก "ฟอร์มูล่าวัน" ร่วมกับสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติซึ่งเป็นการแข่งขันรถระดับสูงสุดของโลก มีผู้ติดตามชมการแข่งขันทางโทรทัศน์กว่า 400,000,000 คน ต่อปี ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โจทก์ยื่นขอและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" ในหลายประเทศทั่วโลก เครื่องหมายการค้าและบริการคำว่า "Formula 1" และ "F1" ของโจทก์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยมาประมาณ 70 ปี แล้ว นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันเป็นครั้งแรกปี 2490 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงนับเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ดังนี้ เมื่อได้ความว่าเครื่องหมาย และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมาย และ ของโจทก์ เครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมจึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10)
เครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA-1" และอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA 1" ในบรรทัดบน กับตัวอักษรไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง ตัวอักษรทั้งสองบรรทัดมีขนาดใกล้เคียงกัน คำในทั้งสองบรรทัดจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมาย และ แล้ว เห็นว่า ทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นเครื่องหมายที่มีคำว่า "FORMULA" มีตัวสะกดเหมือนกันทุกประการ ตามด้วยเลขอารบิก "1" เหมือนกัน และต่างเป็นเครื่องหมายที่มีเฉพาะภาคส่วนคำทั้งสองเครื่องหมายอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่าวัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายของโจทก์จะมีคำภาษาไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง แต่ก็เป็นคำทับศัพท์จากอักษรโรมันซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษในบรรทัดบน โดยอาจอ่านออกเสียงได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน และแม้เครื่องหมายของจำเลยร่วมจะมีเครื่องหมาย "-" อยู่ระหว่างคำว่า "FORMULA" และเลข "1" แต่ก็เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เสียงเรียกขานแตกต่างไปจากคำในเครื่องหมายของโจทก์ กรณีจึงนับได้ว่าเครื่องหมาย และ มีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกัน
บริษัทโจทก์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เป็นบริษัทในเครือของเดอะ ฟอร์มูล่า วัน กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำมันเครื่อง อะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนตกแต่งรถยนต์และรถแข่ง รวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขันรถแข่งภายใต้เครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" โจทก์มีหน้าที่ในด้านส่งเสริมการขายและจัดกิจกรรมแข่งขันรถชิงแชมป์โลก "ฟอร์มูล่าวัน" ร่วมกับสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติซึ่งเป็นการแข่งขันรถระดับสูงสุดของโลก มีผู้ติดตามชมการแข่งขันทางโทรทัศน์กว่า 400,000,000 คน ต่อปี ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โจทก์ยื่นขอและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" ในหลายประเทศทั่วโลก เครื่องหมายการค้าและบริการคำว่า "Formula 1" และ "F1" ของโจทก์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยมาประมาณ 70 ปี แล้ว นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันเป็นครั้งแรกปี 2490 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงนับเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ดังนี้ เมื่อได้ความว่าเครื่องหมาย และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมาย และ ของโจทก์ เครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมจึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10)