คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851-853/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิในที่ดินวัด: การโอนกรรมสิทธิที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
ม.1332 ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์สินธรรมดา แต่สำหรับที่วัดและที่ธรณีสงฆ์นั้น พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ม.41 บัญญัติว่าจะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดย พ.ร.บ.เท่านั้น ดังนั้นแม้จะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจากการขายทอดตลาดก็หาได้กรรมสิทธิไม่ และเมื่อวัดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินก็ไม่มีหน้าที่คืนหรือชดใช้ราคาแก่ผู้ซื้อ เพราะกรณีไม่เข้า ม.1332
บรรยายฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของวัดกลางมาแต่สร้างวัดเช่นนี้หาเป็นเคลือบคลุมไม่ กรณีวัดจะได้ที่มาโดยเหตุใด เมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและไม่มีทางที่จะหลงผิดในการต่อสู้คดี
เจ้าอาวาสแห่งวัดมอบอำนาจให้บุคคลดำเนินคดีแทนวัดได้ อ้างฎีกาที่ 823,824,825/2496
การมอบอำนาจก็คือการให้ตัวแทนมีอำนาจแทนตัวการนั่นเอง และการแต่งตั้งตัวแทนนั้นจะแต่งตั้งโดยเปิดเผยหรือโดยปริยายก็ได้ (ม.797 วรรค 2) และกิจการใดที่ ก.ม.บัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย.การที่ทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือย่อมหมายถึงหนังสือหรือหลักฐานอันมีลายมือชื่อของผู้เป็นตัวการซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง (ม.9) สวนสำหรับตัวแทนหรือผู้รับมอบนั้น หามี ก.ม.ใดบังคับให้ต้องลงนามด้วยไม่
ข้อ ก.ม. ที่เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาเป็นการต้องห้าม หาฎีกาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851-853/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินธรณีสงฆ์: การโอนกรรมสิทธิ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์, การซื้อสุจริตจากการขายทอดตลาดไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
มาตรา 1332 ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์สินธรรมดาสำหรับที่วัดและที่ธรณีสงฆ์นั้นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 มาตรา 41บัญญัติว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้นดังนั้นแม้จะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนจากการขายทอดตลาดก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ และวัดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินก็ไม่มีหน้าที่คืนหรือชดใช้ราคาแก่ผู้ซื้อเพราะกรณีไม่เข้ามาตรา 1332
บรรยายฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของวัดกลางมาแต่สร้างวัดเช่นนี้หาเป็นเคลือบคลุมไม่ กรณีวัดจะได้ที่มาโดยเหตุใด เมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและไม่มีทางที่จะหลงผิดในการต่อสู้คดี
เจ้าอาวาสแห่งวัดมอบอำนาจให้บุคคลดำเนินคดีแทนวัดได้อ้างฎีกาที่ 823,824,825/2496
การมอบอำนาจก็คือการให้ตัวแทนมีอำนาจทำการแทนตัวการนั่นเอง และการแต่งตั้งตัวแทนนั้นจะแต่งตั้งโดยเปิดเผยหรือโดยปริยายก็ได้(มาตรา 797 วรรคสอง) และกิจการใดที่กฎหมายบัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย การที่ทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือย่อมหมายถึงหนังสือหรือหลักฐานอันมีลายมือชื่อของผู้เป็นตัวการซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง(มาตรา 9)ส่วนสำหรับตัวแทนหรือผู้รับมอบนั้นหามีกฎหมายใดบังคับให้ต้องลงนามด้วยไม่
ข้อกฎหมายที่เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาเป็นการต้องห้ามหาฎีกาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611-612/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดและธรณีสงฆ์ห้ามโอนโดยมิชอบ โฉนดที่ได้มาจึงใช้ต่อสู้วัดไม่ได้
ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์นั้นผู้ใดจะยกเอาโฉนดมาต่อสู้ถือกรรมสิทธิมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611-612/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินวัดและธรณีสงฆ์ ห้ามโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โฉนดที่ได้มาจากการแย่งชิงถือเป็นโมฆะ
ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์นั้นผู้ใดจะยกเอาโฉนดมาต่อสู้ถือกรรมสิทธิมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ธรณีสงฆ์: สิทธิเหนือที่ดินสงฆ์ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์ การพิสูจน์ความเป็นที่ธรณีสงฆ์
ที่ธรณีสงฆ์นั้นแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองทั้งนี้ก็เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 มาตรา 7ความว่า 'ที่วัดก็ดีที่ธรณีสงฆ์ก็ดีเป็นสมบัติทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทางปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้' แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดย พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะและแม้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความในมาตรา 41 ว่า 'ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่โดยพระราชบัญญัติ'หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิมคือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิ์ของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอายุความไม่ได้ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าที่แปลงใดเป็นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์หรือมิใช่ซึ่งในกรณีนี้จะต้องสืบให้ได้ความชัดฟังได้ว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ธรณีสงฆ์: การครอบครองปรปักษ์ใช้ไม่ได้ แม้ระยะเวลานาน
ที่ธรณีสงฆ์นั้นแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ม.7 ความว่า " ที่วัดก็ดีที่ธรณีสงฆ์ก็ดีเป็นสมบัติทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทางปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.ลักษณปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความในมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ " หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกันที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิม คือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกันปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าที่แปลงใดเป็นที่วัดได้ประกอบกับพฤติการณ์แวดล้อมเป็นสำคัญ ถึงโจทก์สืบไม่ได้ความชัดว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไร เพียงแต่นำสืบว่าเป็นที่ของวัดก็เพียงพอแล้วตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 948/2474 ระหว่างพระยาเพ็ชร์พิสัยศรีสวัสดิ์โจทก์ นายกบ นางเฮือน จำเลย กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เพิกถอนโฉนดที่ 5140 เฉพาะตอนที่ทับที่พิพาท
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นฟ้องกับศาลอุทธรณ์ในข้อกฎหมายในเบื้องต้นว่าที่ธรณีสงฆ์นั้นถึงแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 ความว่า " ที่วัดก็ดี ที่ธรณีสงฆ์ก็ดี เป็นสมบัติสำหรับทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความนมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิมคือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอาศัยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่า ที่แปลงหนึ่งๆ เป็นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์หรือมิใช่ คดีนี้พิพาทกันในปัญหาข้อเท็จจริง คือโจทก์ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ การที่จำเลยไปขอรังวัดออกโฉนดทับที่พิพาทนี้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ธรณณีสงฆ์
ศาลฎีกาเห็นว่าข้อนำสืบของโจทก์เลื่อนลอย ฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ณ เวลาใดๆ จำเลยสืบได้ชัดว่าเป็นที่ของนางคำแม่ยายจำเลยและพวกจำเลยได้ปกครองติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยมิได้เสียค่าเช่าให้แก่ผู้ใด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองดีกว่าบุคคลอื่น ๆ เมื่อจำเลยไปร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนด เจ้าพนักงานได้ไต่สวนแล้วได้ความว่าเป็นที่ว่างเปล่า แม้ศึกษาธิการจังหวัดจะคัดค้านแทนวัดดาวเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินก็เห็นว่าหลักฐานทางวัดสู้ทางจำเลยไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ออกโฉนดสำหรับที่รายพิพาทให้จำเลยรวมไปกับที่ดินซึ่งจำเลยซื้อนายเบิ้ม คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2474 ที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้าง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ คดีนั้นศาลเชื่อว่าที่ที่พิพาทกันเป็นที่ธรณีสงฆ์มาแต่เดิม คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่รายพิพาทเคยเป็นที่ธรณีสงฆ์ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ธรณีสงฆ์คือทรัพย์สินวัด ได้มาหลายทาง ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
ที่ธรณีสงฆ์หมายถึงที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด แต่ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นที่มีผู้ยกให้ อาจได้มาโดยทางอื่น เช่นโดยทางซื้อก็ได้ ใครจะอ้างการครอบครองโดยปรปักษ์แก่ที่ของวัดไม่ได้
of 6