คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินธรณีสงฆ์: การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกในชื่อจำเลย และยืนยันสิทธิของวัด
แม้จำเลยจะมีชื่อใน น.ส.3 ก. อันมีผลให้จำเลยได้รับคำรับรองของทางราชการว่าจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว และยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตาม แต่เมื่อวัดโจทก์กล่าวอ้างว่าสิทธิของจำเลยไม่ถูกต้อง จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
หลังจากตั้งวัดโจทก์ขึ้นแล้ว มีการตั้งโรงเรียนขึ้นโดยยืมศาลาวัดสร้างเป็นโรงเรียนอยู่ 10 ปี จึงสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดด้วยความยินยอมของโจทก์ แต่เมื่อวัดโจทก์ย้ายออกไปแล้ว โจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาทยังคงนำที่ดินออกหาผลประโยชน์ตลอดมา การที่โจทก์ยอมให้ทางราชการใช้ที่ดินพิพาทเป็นโรงเรียนหาใช่เป็นการยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่ เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้ยกให้เพื่อสร้างวัด ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้ยกให้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่วัดและเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โดยที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่มีผู้นำที่ดินพิพาทไปออก น.ส. 3 ก. เป็นชื่อจำเลยและต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ดินพิพาทยังคงสภาพเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์อยู่เช่นเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินของวัดให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย ไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนายินยอมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทเป็นผืนเดียวกับถนนสายเถินบุรี เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ เป็นวงเวียนให้รถอ้อม และให้สร้างป้องตำรวจในที่ดินพิพาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย กรณีดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิอุทิศที่ดินวัดเพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนายินยอมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทเป็นผืนเดียวกับถนนสายเถินบุรี เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ เป็นวงเวียนให้รถอ้อม และให้สร้างป้อมตำรวจในที่ดินพิพาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย กรณีดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัดห้ามโอน/อ้างอายุความ แม้มีการครอบครองทำประโยชน์นานก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่วัด แม้จำเลยจะได้นำรังวัดออกโฉนดเป็นของจำเลย และครอบครองทำประโยชน์มานานสักเท่าใดก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทั้งจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดไม่ได้ เพราะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ก็ดี พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 ก็ดี พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ก็ดี และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ดี ได้มีข้อบัญญัติไว้ตลอดมาว่า ที่วัด ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: แม้มีการครอบครองและรังวัดออกโฉนดแล้ว แต่กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของวัดและห้ามอ้างอายุความ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่วัด แม้จำเลยจะได้นำรังวัดออกโฉนดเป็นของจำเลย และครอบครองทำประโยชน์มานานสักเท่าใดก็ตามจำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทั้งจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดไม่ได้ เพราะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ก็ดีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 ก็ดีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ดี ได้มีข้อบัญญัติไว้ตลอดมาว่าที่วัดผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066-1067/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การได้มาซึ่งที่ดินของวัดและการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายคณะสงฆ์
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 มาตรา 7 ซึ่งต่อมาได้ถูกแก้ไขตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์พ.ศ.2477 มาตรา 3 ก็ดีตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 ก็ดี และตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ก็ดี จำเลยจะได้ที่วัดไปเป็นของตนก็โดยพระราชบัญญัติทางเดียวเท่านั้น
ฎีกาจำเลยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่ากรมการศาสนาไม่มีอำนาจฟ้อง และใบมอบอำนาจใช้ไม่ได้ เรียกค่าเสียหายไม่ได้เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 (ประชุมใหญ่ครั้ง ที่ 5/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066-1067/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การได้มาซึ่งที่ดินวัดต้องเป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น และประเด็นอำนาจฟ้องของกรมการศาสนา
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 ซึ่งต่อมาได้ถูกแก้ไขตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 มาตรา 3 ก็ดี ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 ก็ดี และตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ก็ดี จำเลยจะได้ที่วัดไปเป็นของตนก็โดยพระราชบัญญัติทางเดียวเท่านั้น
ฎีกาจำเลยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่ากรมการศาสนาไม่มีอำนาจฟ้อง และใบมอบอำนาจใช้ไม่ได้เรียกค่าเสียหายไม่ได้เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดเป็นอสังหาริมทรัพย์สาธารณะ ห้ามโอนหรือแย่งการครอบครอง แม้ครอบครองนาน ก็ไม่เกิดสิทธิ
ที่วัดจะโอนกันได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เท่านั้น ใครจะเอาที่วัดไปเป็นของตนไม่ได้ ไม่ว่าจะโอนไปโดยนิติกรรมหรือโดยการแย่งการครอบครอง
อำนาจที่ให้เจ้าอาวาสห้ามบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่ในวัด หรือขับไล่ให้ออกจากวัดนั้นมีอยู่ถาวร ไม่จำกัดเวลา การที่จำเลยเข้าไปพำนักอาศัยอยู่ในที่พิพาทซึ่งเป็นของวัดแม้จะช้านานเท่าใด เจ้าอาวาสก็มีอำนาจห้ามและขับไล่จำเลยได้
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็นกฎหมายพิเศษซึ่งเป็นข้อยกเว้นกฎหมายทั่วไป จำเลยจึงอ้างสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อแย่งครอบครองที่วัดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่วัดไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้ครอบครองนานปี เจ้าอาวาสมีอำนาจขับไล่ผู้บุกรุก
ที่วัดจะโอนกันได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เท่านั้น ใครจะเอาที่วัดไปเป็นของตนไม่ได้ ไม่ว่าจะโอนไปโดยนิติกรรมหรือโดยการแย่งการครอบครอง
อำนาจที่ให้เจ้าอาวาสห้ามบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่ในวัด หรือขับไล่ให้ออกจากวัดนั้นมีอยู่ถาวร ไม่จำกัดเวลา การที่จำเลยเข้าไปพำนักอาศัยอยู่ในที่พิพาทซึ่งเป็นของวัด แม้จะช้านานเท่าใด เจ้าอาวาสก็มีอำนาจห้ามและขับไล่จำเลยได้
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็นกฎหมายพิเศษซึ่งเป็นข้อยกเว้นกฎหมายทั่วไป จำเลยจึงอ้างสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อแย่งครอบครองที่วัดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านพยานภายหลังและการแบ่งทรัพย์สินร่วมระหว่างวัดกับบุคคลธรรมดา
ถ้าคู่ความฝ่ายที่ต้องนำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรค 1 ต่อมากลับนำพยานของตนมาสืบถึงข้อความดังกล่าวนั้น เช่นนี้ คู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนต้องคัดค้านเสียในขณะที่พยานของฝ่ายนำสืบภายหลังกำลังเบิกความ มิฉะนั้นจะมาคัดค้านภายหลังไม่ได้
ในกรณีที่วัดกับบุคคลอื่นเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน เมื่อมีเหตุที่จะต้องแบ่งทรัพย์ต่อกัน ศาลก็พิพากษาให้แบ่งทรัพย์นั้นได้ และย่อมพิพากษาถึงวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
of 6