พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้วินิจฉัยเนื้อหาของคดี โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่ได้มอบอำนาจให้บ. ฟ้องคดีแทน บ. ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีเรื่องหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ให้ชำระหนี้โจทก์เหมือนคดีก่อนได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ซ้ำในข้ออ้างเดิม แม้มีเหตุผลเพิ่มเติม ศาลยกฟ้อง
โจทก์เคยฟ้องจำเลยว่าเช่าที่ของโจทก์อยู่อาศัย และค้าขาย แต่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ต้อง การที่ จำเลยจะออก ต่อมาโจทก์ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่า จำเลยไม่ทำ โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทำสัญญาเช่า ถ้าจำเลยไม่ยอมทำก็ขอให้ขับไล่จำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่อ้างว่า จำเลย เช่าที่เพื่ออาศัยและประกอบธุรกิจการค้าเป็นการชั่วคราว บัดนี้โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ที่ตรงนั้น จึงบอกเลิก
สัญญาเช่ากับจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมออก โจทก์จึงขอให้ศาลขับไล่ ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัย เป็นฟ้องซ้ำ./
สัญญาเช่ากับจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมออก โจทก์จึงขอให้ศาลขับไล่ ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัย เป็นฟ้องซ้ำ./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินตามการครอบครองจริง แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้สืบสิทธิ คำพิพากษาเดิมผูกพัน
ผู้มีชื่อในโฉนดได้เป็นความฟ้องขอแบ่งแยกโฉนดจากกันและกัน โดยฝ่ายโจทก์อ้างว่าตนมีสิทธิในที่ดิน 2 ใน 3 ฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่า มีสิทธิคนละครึ่ง ศาลพิพากษาว่าต่างปกครองเป็นส่วนสัดกันมาฝ่ายละครึ่ง 30 ปี เศษแล้ว จึงขอให้ แบ่งโฉนดตามที่ปกครองมา คดีถึงที่สุด ดังนี้
ครั้นที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตกได้แก่ผู้อื่นต่อมาทั้งสองฝ่าย แม้ผู้อื่นนั้นจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็เป็นผู้สืบ สิทธิ มาจากคู่ความในคดีก่อนคำพิพากษาคดีก่อนจึงผูกมัดผู้นั้นด้วย ฉะนั้น ผู้ได้รับที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจะมา ฟ้องร้องตั้งข้อพิพาทว่ามีส่วนในที่ดินตามโฉนดนั้นผิดไปจากคำพิพากษาในคดีเดิมย่อมไม่ได้./
ครั้นที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตกได้แก่ผู้อื่นต่อมาทั้งสองฝ่าย แม้ผู้อื่นนั้นจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็เป็นผู้สืบ สิทธิ มาจากคู่ความในคดีก่อนคำพิพากษาคดีก่อนจึงผูกมัดผู้นั้นด้วย ฉะนั้น ผู้ได้รับที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจะมา ฟ้องร้องตั้งข้อพิพาทว่ามีส่วนในที่ดินตามโฉนดนั้นผิดไปจากคำพิพากษาในคดีเดิมย่อมไม่ได้./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าเสียหายจากการยึดครองทรัพย์สินที่ศาลเคยพิพากษาแล้ว
กรณีที่จำเลยเข้าแย่งทำนาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนนั้น เป็นการละเมิดที่เกิดขึ้นใหม่ในระหว่างที่เป็นความกัน โจทก์ไม่มีทางที่จะทราบและกล่าวเป็นข้อหาขึ้นได้ในขณะฟ้องคดีก่อนนั้น ฉะนันการที่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหาย ในการที่ จำเลยทำละเมิดระหว่างคดีก่อนนั้น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่ถ้ามีทางที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่า เสียหายที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และจะเกิดขึ้นต่อไป รวมไปในฟ้องโจทก์ในคดรก่อนได้อยู่แล้ว โจทก์มิได้นำเาเรียกร้อง เสีย การอ้างว่าไม่แน่ว่าจะชนะคดีหรือไม่ หาทำให้เกิดสิทธิฟ้องใหม่แต่อย่างไรไม่ ถ้าฟ้องใหม่ในกรณีหลังนี้ ยอ่ม ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ.
โจทก์เคยฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินจากผู้มีชื่อ ในระหว่างคดีผู้มีชื่อโอนขายที่ดินนั้นแก่จำเลย โจทก์จึงยื่นคำร้องขอ เรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยด้วย ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ส่วนแบ่งที่ดิน คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์กลับมาฟ้อง เรียกค่าเสียหายจากจำเลยอีกในการที่จำเลยได้เข้าทำนาส่วนของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีทางที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน นี้ รวมไปในฟ้องในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม าป.ม.ว.แพ่งมาตรา 148./ เพราะ ประด็นเนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยยึดครองทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินจากผู้มีชื่อ ในระหว่างคดีผู้มีชื่อโอนขายที่ดินนั้นแก่จำเลย โจทก์จึงยื่นคำร้องขอ เรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยด้วย ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ส่วนแบ่งที่ดิน คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์กลับมาฟ้อง เรียกค่าเสียหายจากจำเลยอีกในการที่จำเลยได้เข้าทำนาส่วนของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีทางที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน นี้ รวมไปในฟ้องในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม าป.ม.ว.แพ่งมาตรา 148./ เพราะ ประด็นเนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยยึดครองทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดเริ่มนับเมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำละเมิด ไม่ใช่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเสียหาย
จำเลยใช้เรือขุด ขุดแร่ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินมูลทรายไหลเข้านาโจทก์ เพราะทำนบกั้นน้ำพังนั้น เพียงทำนบกั้นน้ำ พังไม่ใช่เป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ แต่การละเมิดสิทธิเกิดขึ้นเมื่อน้ำไหลพามูลดินทรายเข้าที่นาโจทก์ ทำให้โจทก์ทำ นาไม่ได้ ฉะนั้นอายุความจึงตั้งต้นแต่น้ำเข้านาโจทก์หาใช่ตั้งแต่ทำนบพังไม่.
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ในการที่จำเลยเดินเรือขุดแร่ ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินทรายไหลเข้านา โจทก์ ่จนโจทก์นำนาไม่ได้ในปี พ.ศ. 2492 เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อจำเลยยังคงไม่ปิดทำนบกั้นน้ำ และยังคงใช้ เรือขุดแร่ ขุดต่อมาใน พ.ศ. 2493 โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการทำนาใน พ.ศ. 2493 ได้อีก ต่างหากไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นการละเมิดใหม่ ต่างหากจากที่ฟ้องคราวก่อน./
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ในการที่จำเลยเดินเรือขุดแร่ ทำให้น้ำขุ่นข้นมูลดินทรายไหลเข้านา โจทก์ ่จนโจทก์นำนาไม่ได้ในปี พ.ศ. 2492 เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อจำเลยยังคงไม่ปิดทำนบกั้นน้ำ และยังคงใช้ เรือขุดแร่ ขุดต่อมาใน พ.ศ. 2493 โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการทำนาใน พ.ศ. 2493 ได้อีก ต่างหากไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นการละเมิดใหม่ ต่างหากจากที่ฟ้องคราวก่อน./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: การพิจารณาผลของคำพิพากษาเดิมและการแก้ไขสัญญาซื้อขาย
โจทก์จำเลยตกลงปราณีประนอมยอมความกันต่อศาล และศาลพิพากษาตามยอมว่าที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายด้านกว้างยาวและทิศติดต่อปรากฎตามหนังสือสัญญาซื้อขายตามบัญชีท้ายคำร้องรวมเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 45 วา เป็นกรรมสิทธิของโจทก์ เหลือที่ดินนอกสัญญาซื้อขายให้เป็นกรรมสิทธิกับจำเลยต่อไป แต่มิได้มีการทำแผนที่ในคดีไปตามข้อตกลงของคู่ความ หาได้พิพากษาแสดงกรรมสิทธิของจำเลยว่ามีอยู่แค่ไหนเพียงไรไม่ ฉะนั้นเมื่อปรากฎว่าเนื้อที่ตามสัญญาซื้อขายที่ยอมความกันนั้น เจ้าพนักงานลงเนื้อที่ผิดไป โจทก์ได้ขอให้แก้เสียใหม่ให้ถูกต้องเป็นเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 46 วา แล้วโจทก์ได้ซื้อที่ดินแปลงนี้มาจากมารดาจำเลย แล้วสามีโจทก์กับโจทก์ได้ปกครองที่แปลงนี้ ต่อมาจำเลยมาขัดขวางสิทธิโดยไปร้องขอจัดการมรดกมารดาจำเลย ขอให้แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งปรากฎในคดีก่อนนั้นเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินพิพาทนี้ เป็นมรดกของสามีโจทก์ตกเป็นของโจทก์และบุตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือไม่ถือเป็นประนีประนอมยอมความ, สงวนสิทธิแก้ไขค่าเสียหายได้
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษฐานขับรถ โดยประมาท เป็นเหตุให้รถชนกันผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยกลัวจะต้องรับโทษจำคุก จึงขอให้ผู้เสียหายเขียนหนังสือถึงพนักงานอัยการ ผู้เสียหายจึงเขียนหนังสือถึงพนักงานอัยการว่าตนไม่ติดใจจะฟ้องจำเลย ทั้งนี้เพื่อหวังผลให้จำเลยได้รับความปราณีบรรเทาโทษในทางอาญาเท่านั้น หนังสือดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นหนังสือประนีประนอมยอมความตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 850, 851 ผู้เสียหายจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นโจทก์ เมื่อปรากฎในระหว่างพิจารณาว่า อาการบ่วยของโจทก์ยังไม่หาย ยังไม่เป็นการแน่นอนลงไปทีเดียวว่าโจทก์จะพิการต่อไปจนตลอดชีวิตหรืออาจหายได้ เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสงวนสิทธิไว้ในคำพิพากษาที่จะแก้ไขคำพิพากษาในเรื่องกำหนดค่าเสียหายได้ ภายใน 2 ปี
ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นโจทก์ เมื่อปรากฎในระหว่างพิจารณาว่า อาการบ่วยของโจทก์ยังไม่หาย ยังไม่เป็นการแน่นอนลงไปทีเดียวว่าโจทก์จะพิการต่อไปจนตลอดชีวิตหรืออาจหายได้ เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสงวนสิทธิไว้ในคำพิพากษาที่จะแก้ไขคำพิพากษาในเรื่องกำหนดค่าเสียหายได้ ภายใน 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ: คู่ความเดิมไม่เหมือนกับคู่ความใหม่ คดีไม่ขาดอายุความ
ในคดีก่อน โจทก์ฟ้องเรียกกรรมสิทธิที่ดินจากจำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์มาฟ้องมารดาจำเลยเป็นคดีอย่างเดียวกันอีกได้ และในคดีหลังนี้แม้จำเลยจะเข้ามาเป็นคู่ความในฐานะเป็นผู้ปกครองเด็กผู้เยาว์ (คือเป็นจำเลยร่วม) ถือว่ามิใช่คู่ความในคดีเดิม คดีจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและเก็บผลประโยชน์ที่ดินพิพาทช่วงระหว่างเป็นความคดีก่อน ผู้ครอบครองต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให่ศาลแสดงว่าที่ดินที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิของโจทก์และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทต่อไปแล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในระหว่างที่เป็นความกันในคดีก่อนว่า จำเลยได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์จากที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นของโจทก์ไปอีก ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องสินสมรสและมรดก แม้ทรัพย์ต่างกัน หากประเด็นและเหตุวินิจฉัยเดิมเป็นอย่างเดียวกัน ถือเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง
โจทก์เคยฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของสามีผู้วายชนม์จากจำเลย จนศาลได้พิพากษาให้แบ่งสินสมรสและแบ่งปันมรดกไปแล้ว แม้ทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขึ้นใหม่ในคดีใหม่ในคดีใหม่เป็นทรัพย์คนละอย่างกับคดีก่อนแต่ก็เป็นเรื่องเรียกทรัพย์จากจำเลยมาแบ่งเป็นสินสมรส และแบ่งมรดกเช่นเดียวกัน อันเรียกได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน ซึ่งได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148 แม้โจทก์ได้ขอสงวนสิทธิไว้ในคดีก่อน แต่ศาลก็มิได้พิพากษาว่าไม่ตัดสิทธิจะฟ้องร้องว่ากล่าว หรือนัยหนึ่งไม่ได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องใหม่ได้ จึงไม่ทำให้โจทก์กลับมีอำนาจฟ้องคดีใหม่ได้