พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าห้องชุดรายวันขัดต่อข้อบังคับอาคารชุด สิทธิของนิติบุคคลในการบังคับใช้ข้อบังคับและเรียกค่าเสียหาย
แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้สอยกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แต่ก็ต้องคำนึงว่าการใช้สอยนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของร่วมอื่นในอาคารชุดดังกล่าวด้วยหรือไม่ ซึ่งตามข้อบังคับของโจทก์ข้อ 11.8 กำหนดว่า ผู้ใดประกอบการค้าในอาคารชุด "การค้า" หมายถึง การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการ หรือทั้งสองอย่าง เช่น การให้เช่ารายชั่วโมง หรือการเปิดให้เป็นสถานบริการอื่น ๆ เป็นต้น เจ้าของร่วมต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การใช้ห้องชุดของตนเป็นการใช้ห้องชุดเพื่อเป็นการอยู่อาศัยของตน และ/หรือบริวาร และ/หรือผู้เช่ารายเดือนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้การใช้ห้องชุดของตนให้เช่าเป็นที่พักอาศัยรายวัน ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 17/1 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 มาตรา 15 และไม่อนุญาตให้ใช้ห้องชุดของตนเป็นที่ทำงานบริษัท ห้างร้าน ที่พักชั่วคราว อะพาร์ตเมนต์ให้เช่าระยะสั้น หรือการใช้ประเภทอื่นใดซึ่งผู้จัดการนิติบุคคลพิจารณาแล้วถือว่าเป็นการให้ใช้เพื่อพักชั่วคราว และข้อบังคับข้อ 11.12 กำหนดว่า หากเจ้าของร่วม หรือบริวาร ญาติ เพื่อน อันมีความสัมพันธ์กับเจ้าของร่วมไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับนี้ หรือผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งเตือนให้ปรับปรุงแก้ไขหรือปฏิบัติตามให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดแล้ว หากยังเพิกเฉย นิติบุคคลอาคารชุดจะถือว่าผู้นั้นจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกวันละห้าพันบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ ดังนั้น โจทก์จะมีสิทธิคิดค่าปรับเป็นค่าเสียหายตามข้อบังคับของโจทก์ได้ต่อเมื่อโจทก์แจ้งเตือนให้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดแต่ละครั้งที่ทำการฝ่าฝืนแล้ว เมื่อจำเลยนำห้องชุดของจำเลยออกให้บุคคลทั่วไปเช่าเป็นรายวันฝ่าฝืนข้อบังคับข้อ 11.8 ของโจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยยุติการนำห้องชุดออกให้เช่าตามสำเนาเรื่องให้ยุติการนำห้องชุดออกให้เช่ารายวันภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับแล้วเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2560 แต่เพิกเฉย ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้ดูแลอาคารชุดจึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับ 10,000 บาท ส่วนค่าปรับรายวันนั้น โจทก์จะมีสิทธิคิดได้ต่อเมื่อมีผู้เข้าพักอาศัยในห้องของจำเลยในฐานะผู้เช่ารายวันหากไม่มีผู้ใดเช่า โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิคิดค่าปรับรายวันจากจำเลย เพราะมิใช่กรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องอันจะทำให้มีสิทธิคิดค่าเสียหายต่อเนื่องได้ ซึ่งก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในช่วงวันที่ 30 เมษายน 2560 จนถึงวันฟ้อง มีผู้มาเช่าห้องเลขที่ของจำเลยหลายครั้ง ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้เป็นเงิน 300,000 บาท จึงเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ส่วนภายหลังวันฟ้องนั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า มีผู้มาเช่าห้องดังกล่าวของจำเลยในวันที่ 6 กันยายน 2561 และวันที่ 20 ถึง 22 ธันวาคม 2561 มิได้เช่าต่อเนื่องกันไปแต่อย่างใด ซึ่งโจทก์ก็ชอบที่จะไปเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนั้นจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินตาม ส.ค.1 ต้องพิจารณาเนื้อที่ทำประโยชน์ก่อน พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ การเพิ่มเนื้อที่ภายหลังไม่ได้รับการคุ้มครอง
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551 มาตรา 8 วรรคสาม กำหนดให้การพิจารณาพยานหลักฐานของผู้ร้องจะต้องได้ความว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับ และตามวรรคสี่ กำหนดให้การพิจารณาของศาลตามวรรคสาม ให้ศาลแจ้งกรมที่ดินทราบและให้กรมที่ดินตรวจสอบกับระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่ายทางอากาศฉบับที่ทำขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทางราชการมีอยู่ พร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อศาลว่า ผู้ร้องได้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ดังนั้น การพิจารณาเนื้อที่ที่ดินจึงต้องพิจารณาเนื้อที่ที่มีการครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับเป็นสาระสำคัญ มิใช่พิจารณาจากเนื้อที่ที่ครอบครองทำประโยชน์ในขณะขอออกโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ ส่วนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นในภายหลังย่อมมิใช่ที่ดินที่มีการครอบครองและทำประโยชน์อยู่ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับ ทั้งหากยินยอมให้มีการครอบครองเนื้อที่เพิ่มขึ้นจากเดิมย่อมเป็นการสนับสนุนและรับรองสิทธิให้มีการรุกล้ำพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ จ. แจ้งการครอบครองจนกระทั่งมีการโอนต่อเนื่องกันมาถึงผู้ร้องย่อมมิใช่ที่ดินที่มีการครอบครองและทำประโยชน์อยู่ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551 มาตรา 8 วรรคท้าย ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินเนื้อที่ส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากเด็กและผู้เยาว์เพื่อหากำไรและการค้าประเวณี วินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ชักชวนและแนะนำ
จำเลยที่ 1 ชักชวนและแนะนำผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กและผู้เยาว์ไปขายบริการทางเพศโดยผู้เสียหายที่ 1 สมัครใจและเดินทางไปขายบริการทางเพศด้วยตนเองให้แก่บุคคลที่จำเลยที่ 1 แนะนำ จากนั้นก็แบ่งเงินให้จำเลยที่ 1 บ้าง พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อการใช้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ไม่ว่าผู้เสียหายที่ 1 จะอยู่ที่ใดและจะยินยอมหรือไม่ เมื่อเป็นการเสื่อมเสียต่อสวัสดิภาพหรือประโยชน์สุขของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดฐานพรากเด็กและพรากผู้เยาว์ไปเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม และมาตรา 319 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์จำนองจากการขายทอดตลาดในการรับผิดชอบหนี้จำนองเดิม
จำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินจำนองจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยติดจำนองและชำระราคาครบถ้วนแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการดำเนินการทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการเพิกถอนการขายทอดตลาด ต้องถือว่าผู้จำนองเดิมไม่มีสิทธิในทรัพย์สินที่จำนองอีกต่อไป และจำเลยได้สิทธิในทรัพย์สินที่ซื้อโดยสมบูรณ์แล้ว แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 12 หมวด 5 และโจทก์ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตามมาตรา 735 ที่แก้ไขใหม่ เมื่อโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองภายในกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองและควรทราบถึงภาระหนี้จำนองมาตั้งแต่ก่อนเข้าเป็นผู้ซื้อทรัพย์จำนอง จึงต้องชำระหนี้จำนวนรวม 2,650,000 บาท พร้อมด้วยอุปกรณ์ คือดอกเบี้ยของต้นเงินตามสัญญาจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 ประกอบมาตรา 738 ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในคดีหมายเลขดำที่ ผบ.10499/2559 ของศาลจังหวัดศรีสะเกษ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ผู้จำนองรับผิดชำระเงิน 2,650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจึงต้องรับผิดไม่เกินกว่าภาระหนี้จำนองของผู้จำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเรื่องความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและค่าอุปการะเลี้ยงดู ต้องพิจารณาประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์ และให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสองคนละ 15,000 บาท ต่อเดือน โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าผู้เยาว์ทั้งสองไม่ใช่บุตรของโจทก์และมิได้คัดค้านจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงมีแต่จำเลยเพียงฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นอีก ตามจำนวนเงินที่เรียกร้องมาในฟ้องแย้ง ดังนั้นปัญหาว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่จึงยุติไป คงมีประเด็นวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์เพียงว่า สมควรที่จะกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่เท่านั้น คดีไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์หรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่ได้ปฏิเสธว่าผู้เยาว์ทั้งสองไม่ใช่บุตรของโจทก์ เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ไม่สมควรจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู มิได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าผู้เยาว์ทั้งสองไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ยกฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางศาล: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความ การพิพากษาต้องเป็นไปตามคำท้า
โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการตรวจดีเอ็นเอว่า โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของ น. หรือจำเลยคนเดียวเป็นบุตรของ น. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยกำหนดให้แพทย์โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ทำการตรวจ อันเป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งของคำท้า เมื่อโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ไม่พร้อมให้บริการตรวจดีเอ็นเอ จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขในคำท้าได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป การที่จำเลยฝ่ายเดียวยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ตรวจดีเอ็นเอ เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสำคัญของคำท้าและนอกเหนือคำท้า ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย เพราะคำท้าของคู่ความนั้นจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ก็โดยคู่ความตกลงกันเท่านั้น จำเลยหาอาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกคำท้าแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ไม่ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นผู้ตรวจดีเอ็นเอแทนตามคำร้องของจำเลย โดยมิได้สอบถามความประสงค์ของโจทก์ก่อนและโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการไม่อนุญาตถอนคำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา แม้มีการตกลงกันระหว่างคู่ความ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟัง ก่อนวันอ่านคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่าคู่ความตกลงกันได้ขอถอนฟ้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทำคำสั่งเสร็จแล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟัง ก่อนอ่านคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนฟ้อง และขอให้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้โจทก์ขอถอนคำร้องขอถอนฟ้องก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เมื่อไม่มีเหตุสมควร ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำร้องขอถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327-3328/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสัญญาจ้างพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 ข้อ 4.1 และ 4.2 ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 โจทก์ที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามฟ้องข้อ 4.1 และ 4.2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ในส่วนนี้เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับไว้พิจารณา
การพิจารณาต่อสัญญาจ้างพนักงานตามภารกิจเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างด้วย โจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2551 การที่ในเดือนกันยายน 2551 ส. ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจมีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2555 นั้น เป็นกรณีพิจารณาต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจต่อไป จึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู ข้อ 34 และข้อ 44 เมื่อก่อนที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และไม่มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี การที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 มีกำหนด 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับงบประมาณได้ สำหรับสัญญาจ้างพนักงานจ้างไม่ลงวันที่มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2556 โจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เขียนกรอกข้อความในแบบพิมพ์สัญญาจ้างตามคำบอกของจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2552 โดยไม่ปรากฏว่ามีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เพื่อใช้ประกอบการต่อสัญญาจ้างแล้วหรือไม่ จึงอยู่ในขั้นเตรียมการที่จะเสนอให้จำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้างหรือไม่เท่านั้น ยังไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา เพราะจะต้องเสนอให้จำเลยที่ 1 พิจารณาเสียก่อนว่าเห็นชอบและอนุมัติตามระยะเวลาการจ้างดังกล่าวหรือไม่ การที่ ย. แก้ไขกำหนดระยะเวลาการจ้างและปีสิ้นสุดสัญญาและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ใช้สัญญาจ้างพนักงานแสดงต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภูก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม และไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ประเมินชั้นต้น ประเมินการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ว่าควรปรับปรุง คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง ประกอบด้วยจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ ส. เห็นด้วยกับการประเมินข้างต้นว่าไม่ผ่านการประเมิน อันเป็นดุลพินิจของผู้ประเมินและคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานจ้างจึงมิใช่เอกสารปลอมหรือเอกสารเท็จ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
การพิจารณาต่อสัญญาจ้างพนักงานตามภารกิจเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างด้วย โจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2551 การที่ในเดือนกันยายน 2551 ส. ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจมีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2555 นั้น เป็นกรณีพิจารณาต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจต่อไป จึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู ข้อ 34 และข้อ 44 เมื่อก่อนที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และไม่มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี การที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 มีกำหนด 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับงบประมาณได้ สำหรับสัญญาจ้างพนักงานจ้างไม่ลงวันที่มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2556 โจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เขียนกรอกข้อความในแบบพิมพ์สัญญาจ้างตามคำบอกของจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2552 โดยไม่ปรากฏว่ามีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เพื่อใช้ประกอบการต่อสัญญาจ้างแล้วหรือไม่ จึงอยู่ในขั้นเตรียมการที่จะเสนอให้จำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้างหรือไม่เท่านั้น ยังไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา เพราะจะต้องเสนอให้จำเลยที่ 1 พิจารณาเสียก่อนว่าเห็นชอบและอนุมัติตามระยะเวลาการจ้างดังกล่าวหรือไม่ การที่ ย. แก้ไขกำหนดระยะเวลาการจ้างและปีสิ้นสุดสัญญาและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ใช้สัญญาจ้างพนักงานแสดงต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภูก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม และไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ประเมินชั้นต้น ประเมินการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ว่าควรปรับปรุง คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง ประกอบด้วยจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ ส. เห็นด้วยกับการประเมินข้างต้นว่าไม่ผ่านการประเมิน อันเป็นดุลพินิจของผู้ประเมินและคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานจ้างจึงมิใช่เอกสารปลอมหรือเอกสารเท็จ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้: การชำระหนี้แทนและการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน - การประเมินความเสียเปรียบ
แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าได้เชิดจำเลยแสดงออกเป็นตัวแทนโจทก์ทั้งสองในการทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง ซึ่งจำเลยให้การยอมรับ และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าการที่จำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์คืนให้แก่โจทก์ทั้งสอง ซึ่งในคำฟ้องและทางนำสืบโจทก์ทั้งสองก็ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินกู้ แต่โจทก์ทั้งสองผ่อนชำระหนี้เพียง 55 งวด แล้วผิดนัดชำระหนี้ เป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ส่วนที่ค้างชำระและทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการผ่อนชำระหนี้เดือนละ 50,000 บาท ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จนกว่าจะชำระครบถ้วน อันเป็นกรณีที่ฟังได้ว่าในการจัดทำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออกเงินทดรองหรือออกเงินค่าใช้จ่ายไปหรือตัวแทนต้องรับภาระเป็นหนี้ขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็น ตัวแทนจะเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการและเรียกให้ตัวการชำระหนี้แทนตนก็ได้ หรือถ้ายังไม่ถึงเวลากำหนดชำระหนี้ จะให้ตัวการให้ประกันอันสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ส่วนโจทก์ทั้งสองในฐานตัวการชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์อันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 และโจทก์ทั้งสองต้องคืนเงินที่จำเลยชำระให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้รวมทั้งดอกเบี้ยและต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยแทนจำเลย แต่โจทก์ทั้งสองกลับฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินมัดจำ ค่าจ้างตกแต่งอาคาร และเงินที่ผ่อนชำระแก่ธนาคารผู้ให้กู้ ซึ่งมิใช่เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนที่ตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น กรณีไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความมาปรับเข้ากับบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 ได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นพิพาทโดยนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 406 ฐานลาภมิควรได้มาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาท อันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา..." การอันจะเป็นลาภมิควรได้ ต้องเป็นกรณีที่ได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลผู้ชำระหนี้เสียเปรียบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้แทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์คืนแก่โจทก์ทั้งสองก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสองผ่อนชำระเงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยแก่ธนาคาร ท. ผู้ให้กู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระเงินให้แก่ธนาคาร ท. และทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นการชำระเงินและรับภาระหนี้แทนโจทก์ทั้งสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ การที่ศาลชั้นต้นนำ ป.พ.พ. มาตรา 406 มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา..." การอันจะเป็นลาภมิควรได้ ต้องเป็นกรณีที่ได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลผู้ชำระหนี้เสียเปรียบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้แทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์คืนแก่โจทก์ทั้งสองก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสองผ่อนชำระเงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยแก่ธนาคาร ท. ผู้ให้กู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระเงินให้แก่ธนาคาร ท. และทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นการชำระเงินและรับภาระหนี้แทนโจทก์ทั้งสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ การที่ศาลชั้นต้นนำ ป.พ.พ. มาตรา 406 มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการกระทำผิดฟอกเงิน: การคืนสิทธิสถาบันการเงินและเงินลงทุนที่เหลือ
ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากผู้คัดค้านที่ 2 โดยนำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาชำระเงินดาวน์และค่างวดเช่าซื้อ แต่ผู้คัดค้านที่ 1 จะได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์เมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วเท่านั้น เมื่อยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังคงเป็นของผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อกรณีมีเหตุควรเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 2 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์และรับเงินตามสัญญาเช่าซื้อโดยสุจริตจึงชอบที่จะขอคืนรถยนต์ได้ แต่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมาชำระราคาค่าเช่าซื้อบางส่วนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 รถยนต์จึงมีส่วนที่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดซึ่งต้องตกเป็นของแผ่นดินรวมอยู่ด้วย เมื่อตามสัญญาเช่าซื้อเหลือเงินลงทุนของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ยังขาดอยู่ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 มีสิทธิจะได้รับ 358,504.59 บาท จึงต้องคืนราคารถยนต์ตามสิทธิของผู้คัดค้านที่ 2 โดยต้องขายทอดตลาดรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ที่แบ่งแยกไม่ได้แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่เกิน 358,504.59 บาท พร้อมดอกผล