พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายน้ำมัน: การตีความราคาที่รวมภาษีแล้ว และไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม
กรณีที่ข้อความในสัญญาซื้อขายชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่จำต้องสืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงความประสงค์ของคู่สัญญา และปกติประเพณีอีก
การตีความสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
การตีความสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายน้ำมัน: การตีความราคารวมภาษี และขอบเขตการคิดราคาเพิ่มตามราคาตลาดโลก
กรณีที่ข้อความในสัญญาซื้อขายชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่จำต้อง สืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงความประสงค์ของคู่สัญญา และปกติประเพณีอีก
การตีความสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม
การตีความสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกจำกัดเมื่อคำสั่งฝ่ายบริหารและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดมีผลผูกพันทางกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรีให้ริบทรัพย์สิน สั่งตามอำนาจในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 มาตรา 17 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในเวลานั้น ไม่ขัดแย้งและไม่ต้องวินิจฉัยตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอีก
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ ชั้นฎีกาโจทก์ขอให้สืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ เสียค่าขึ้นศาล 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ ชั้นฎีกาโจทก์ขอให้สืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ เสียค่าขึ้นศาล 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนของคณะปฏิวัติมีอำนาจตามกฎหมายหรือไม่ และการหักเงินจากผู้รับเหมาเข้าลักษณะความผิดอาญาอย่างไร
สมุห์บัญชีและพนักงานเทศบาลผู้มีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานจ้างหักเงินที่จ่ายแก่ผู้รับเหมาไว้ร้อยละ 10 แบ่งกัน เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
ประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมาย ผู้ได้รับอำนาจสอบสวนตามประกาศทำการสอบสวนแล้ว อัยการฟ้องได้
จำเลยที่ 5 ถอนอุทธรณ์ก่อนส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตและออกหมายแจ้งโทษเด็ดขาดแล้วจำเลยอื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 คนเดียวไม่ชอบ ให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมาย ผู้ได้รับอำนาจสอบสวนตามประกาศทำการสอบสวนแล้ว อัยการฟ้องได้
จำเลยที่ 5 ถอนอุทธรณ์ก่อนส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตและออกหมายแจ้งโทษเด็ดขาดแล้วจำเลยอื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 คนเดียวไม่ชอบ ให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดสัญญา จำเลยต้องจัดทำถนนและชำระเบี้ยปรับตามสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันและแทนกันทำการจัดสรรที่ดินให้โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ แล้วจำเลยทั้งสามประพฤติผิดสัญญา โดยไม่จัดการทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ และที่ดินที่จำเลยร่วมกันจัดสรรทุกแปลง จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดตามสัญญา เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ขึ้นก่อน ต่อมามีความจำเป็นต้องใช้ทุนมาก จึงได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้น แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์หลายฉบับ และยังมีหนังสือถึงโจทก์เกี่ยวกับการทำถนนและท่อระบายน้ำชี้แจงให้โจทก์ทราบว่า ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำแล้ว โดยกรรมการผู้จัดการลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือนั้น เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมรับเอากิจการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 มาดำเนินการร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย และยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ จำเลยที่ 2 โดยไม่มีจำกัดจำนวน จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
เหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี จำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ การนำสืบถึงประเด็นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การไว้ รับฟังไม่ได้
นับตั้งแต่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าซื้อ และโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อจนส่งเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนเป็นเวลาหลายปี จำเลยมีโอกาสขวนขวายจัดหาซื้อวัสดุก่อสร้างเตรียมไว้ดำเนินการตามสัญญาเช่าซื้อได้ การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น มิใช่ว่าจะหาซื้อไม่ได้เสียทีเดียว ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย และจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่จัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินจัดสรรของโจทก์ ให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเช่าซื้อภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันใดอันหนึ่ง เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้น โดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า หากจำเลยไม่ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำให้โจทก์ ให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำ และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า "หากผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับ และให้บังคับตามกฎหมาย ทั้งยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้วอีกโสดหนึ่งด้วย" สัญญาเช่าซื้อระบุชัดเช่นนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือ ทำถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำ และเรียกร้องเอาเบี้ยปรับได้ทั้งสองกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคแรก
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า "ยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไป" หมายความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเงินเท่ากับเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้จำเลยไป
ได้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ขึ้นก่อน ต่อมามีความจำเป็นต้องใช้ทุนมาก จึงได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้น แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์หลายฉบับ และยังมีหนังสือถึงโจทก์เกี่ยวกับการทำถนนและท่อระบายน้ำชี้แจงให้โจทก์ทราบว่า ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำแล้ว โดยกรรมการผู้จัดการลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือนั้น เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมรับเอากิจการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 มาดำเนินการร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย และยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ จำเลยที่ 2 โดยไม่มีจำกัดจำนวน จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
เหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี จำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ การนำสืบถึงประเด็นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การไว้ รับฟังไม่ได้
นับตั้งแต่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าซื้อ และโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อจนส่งเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนเป็นเวลาหลายปี จำเลยมีโอกาสขวนขวายจัดหาซื้อวัสดุก่อสร้างเตรียมไว้ดำเนินการตามสัญญาเช่าซื้อได้ การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น มิใช่ว่าจะหาซื้อไม่ได้เสียทีเดียว ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย และจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่จัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินจัดสรรของโจทก์ ให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเช่าซื้อภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันใดอันหนึ่ง เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้น โดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า หากจำเลยไม่ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำให้โจทก์ ให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำ และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ด้วยนั้น ตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า "หากผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับ และให้บังคับตามกฎหมาย ทั้งยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้วอีกโสดหนึ่งด้วย" สัญญาเช่าซื้อระบุชัดเช่นนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือ ทำถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำ และเรียกร้องเอาเบี้ยปรับได้ทั้งสองกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคแรก
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า "ยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไป" หมายความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเงินเท่ากับเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้จำเลยไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดสัญญา จำเลยต้องจัดทำถนน-ท่อระบายน้ำ และจ่ายเบี้ยปรับตามสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันและแทนกันทำการจัดสรรที่ดินให้โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ แล้วจำเลยทั้งสามประพฤติผิดสัญญาโดยไม่จัดการทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินของโจทก์และที่ดินที่จำเลยร่วมกันจัดสรรทุกแปลง จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดตามสัญญาเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ขึ้นก่อนต่อมามีความจำเป็นต้องใช้ทุนมากจึงได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้นแต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์หลายฉบับ และยังมีหนังสือถึงโจทก์เกี่ยวกับการทำถนนและท่อระบายน้ำชี้แจงให้โจทก์ทราบว่า ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำแล้ว โดยกรรมการผู้จัดการลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือนั้น เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมรับเอากิจการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 มาดำเนินการร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย และยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ จำเลยที่ 2 โดยไม่มีจำกัดจำนวนจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
เหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ การนำสืบถึงประเด็นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การไว้ รับฟังไม่ได้
นับตั้งแต่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าซื้อ และโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อจนส่งเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนเป็นเวลาหลายปีจำเลยมีโอกาสขวนขวายจัดหาซื้อวัสดุก่อสร้างเตรียมไว้ดำเนินการตามสัญญาเช่าซื้อได้การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้นมิใช่ว่าจะหาซื้อไม่ได้เสียทีเดียว ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยและจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้เมื่อจำเลยไม่จัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินจัดสรรของโจทก์ให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเช่าซื้อภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันใดอันหนึ่ง เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้น โดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำ และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ด้วยนั้นตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า"หากผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับ และให้บังคับตามกฎหมายทั้งยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้วอีกโสดหนึ่งด้วย" สัญญาเช่าซื้อระบุชัดเช่นนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือทำถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำและเรียกร้องเอาเบี้ยปรับได้ทั้งสองกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคแรก
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า "ยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไป" หมายความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเงินเท่ากับเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้จำเลยไป
ได้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ขึ้นก่อนต่อมามีความจำเป็นต้องใช้ทุนมากจึงได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้นแต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายที่ดินเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์หลายฉบับ และยังมีหนังสือถึงโจทก์เกี่ยวกับการทำถนนและท่อระบายน้ำชี้แจงให้โจทก์ทราบว่า ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาให้ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำแล้ว โดยกรรมการผู้จัดการลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือนั้น เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมรับเอากิจการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 มาดำเนินการร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย และยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ จำเลยที่ 2 โดยไม่มีจำกัดจำนวนจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
เหตุที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ การนำสืบถึงประเด็นนั้นจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การไว้ รับฟังไม่ได้
นับตั้งแต่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าซื้อ และโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อจนส่งเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนเป็นเวลาหลายปีจำเลยมีโอกาสขวนขวายจัดหาซื้อวัสดุก่อสร้างเตรียมไว้ดำเนินการตามสัญญาเช่าซื้อได้การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้นมิใช่ว่าจะหาซื้อไม่ได้เสียทีเดียว ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยและจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้เมื่อจำเลยไม่จัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำผ่านหน้าที่ดินจัดสรรของโจทก์ให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเช่าซื้อภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 บัญญัติถึงกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันใดอันหนึ่ง เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้น โดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ทำให้โจทก์จ้างบุคคลภายนอกทำโดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรค 2 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส่วนที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจัดทำถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำ และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ด้วยนั้นตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า"หากผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับ และให้บังคับตามกฎหมายทั้งยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้วอีกโสดหนึ่งด้วย" สัญญาเช่าซื้อระบุชัดเช่นนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือทำถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำและเรียกร้องเอาเบี้ยปรับได้ทั้งสองกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคแรก
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า "ยอมให้ผู้เช่าซื้อปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไป" หมายความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเงินเท่ากับเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้จำเลยไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเจ้าของเรือต่างประเทศไม่ต้องรับผิดละเมิดของลูกจ้างที่ทำตามหน้าที่
เจ้าของเรือที่นายเรือทำละเมิดอยู่ต่างประเทศ จำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือในประเทศไทย ไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้ทำตามหน้าที่ด้วย จะตีความคำว่าทำสัญญาใน มาตรา 824หมายความถึงทำละเมิด ฝืนถ้อยคำที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยไม่ได้เป็นปัญหากฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การยินยอมโดยปริยาย และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้ โจทก์ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส. ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วย ก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์ และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การยินยอมโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้โจทก์ ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส.ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วยก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้ เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตป่าคุ้มครองตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาสำคัญกว่าชื่อตำบล หนังสือรับรองการทำประโยชน์หลังมีกฎหมายไม่มีผลยันแผ่นดิน
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤฎีกากำหนดป่าไสโป๊ะ ๆ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2496 บัญญัติว่า "ให้ป่าไสโป๊ะในท้องที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง" ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วย แม้ได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในท้องที่ตำบลกระบี่ใหญ่ มิใช่ตำบลกระบี่น้อยก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าอยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่