พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือฯ ต้องคำนวณตามพื้นที่และลงโทษเรียงรายบุคคล
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 118 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 117... ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท" ดังนี้ ผู้กระทำความผิดฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด เมื่อพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 โดยลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับผู้กระทำผิดร่วมกันตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย และหลักการปรับรายตัวบุคคลตาม ป.อ.
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 118 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 117? ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท" ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือในน่านน้ำไทย ฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติว่า "บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้ใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น" เมื่อ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทยมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ. มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล" ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคลชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าบุหรี่ซิกาแรตจากต่างประเทศโดยมิได้ผ่านศุลกากรและยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยตกลงซื้อบุหรี่ซิกาแรตจากผู้ขายที่อยู่ประเทศพม่าไว้ก่อนแล้ว จำเลยใช้ให้ ม. นำบุหรี่ซิกาแรตของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร ม. เพียงแต่ไปรับบุหรี่ซิกาแรตของกลางจากผู้ขายที่เกาะสอง ประเทศพม่า จำเลยจึงกระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งของความผิด ถือว่าจำเลยร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางอันเป็นยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมาย และร่วมกันนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางซึ่งผลิตในต่างประเทศและเป็นของต้องจำกัด ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร เมื่อจำเลยจะนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางไปขายให้ แก่ลูกค้าที่จังหวัดชุมพร จำเลยจึงร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางไว้เพื่อขาย.
ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ปรับ 117,000 บาท เนื่องจากจำเลยต้องรับผิดร่วมกับ ม. จำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้น และปรากฏว่าในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นลดโทษให้ ม. กึ่งหนึ่ง คงปรับ ม. สำหรับข้อหานี้ 58,500 บาท และ ม. รับโทษกักขังแทนค่าปรับครบถ้วนแล้ว ดังนั้น สำหรับคดีนี้จำเลยจึงคงรับโทษปรับอีก 58,500 บาท
ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ปรับ 117,000 บาท เนื่องจากจำเลยต้องรับผิดร่วมกับ ม. จำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้น และปรากฏว่าในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นลดโทษให้ ม. กึ่งหนึ่ง คงปรับ ม. สำหรับข้อหานี้ 58,500 บาท และ ม. รับโทษกักขังแทนค่าปรับครบถ้วนแล้ว ดังนั้น สำหรับคดีนี้จำเลยจึงคงรับโทษปรับอีก 58,500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ความรับผิดร่วม และการบังคับโทษปรับ รวมถึงการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่
การที่จำเลยคดีนี้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนที่ให้การรับสารภาพ แม้ความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันไปแล้วก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาได้ระงับลงไม่ ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกันกับค่าปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หากจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งเพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีนี้รวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ โดยมิได้ระบุว่าโทษปรับคดีนี้เป็นโทษปรับจำนวนเดียวกับคดีก่อน และมิได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับให้ชัดเจนจึงยังไม่ถูกต้อง
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษปรับศุลกากร: ลงโทษจำเลยผู้กระทำผิดเพียงผู้เดียว ไม่สามารถแบ่งโทษให้ผู้ร่วมกระทำผิดที่ยังไม่ถูกฟ้อง
ความผิดตามพ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องคดีนี้เพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษคำพิพากษาในคดีนี้ร่วมกับจำเลยได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษในความผิดครั้งแรกนี้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การลงโทษปรับเป็นรายบุคคลหรือไม่ และขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลย
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องคดีนี้เพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษคำพิพากษาในคดีนี้ร่วมกับจำเลยได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษในความผิดครั้งแรกนี้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโทษทางศุลกากร: การตีความบทบัญญัติโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการไม่ใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรีซึ่งห้ามมิให้เรือที่อยู่ในเขตต่อเนื่องขนถ่ายสิ่งของใด ๆ โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งห้ามผู้ใดช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใด ๆ ซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามหรือข้อจำกัดนั้น บทบัญญัติทั้งสองได้ระบุเน้นชัดไว้แล้วว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมอากรเข้าด้วย และปรับสองเท่าของราคาของ ตามลำดับ ดังนั้น หากศาลจะปรับจำเลยแต่ละคน คนละสี่เท่าและสองเท่า ก็จะเป็นการปรับเกินกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้และมาตรา 120 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากรฯ ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่นให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนี้ จึงจะนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ซึ่งบัญญัติให้ศาลลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคนในความผิดเดียวกัน ในกรณีเดียวกันเรียงตามตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับกรณีฝ่าฝืนพ.ร.บ.ยาสูบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องลงโทษปรับแต่ละคนตามสัดส่วนค่าแสตมป์
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสองมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยก ขึ้นฎีกาได้ ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 บัญญัติว่าผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทนั้น หมายความว่า จำเลยแต่ละคนจะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตต่างประเทศอันเป็นยาสูบตามกฎหมาย และเป็นยาสูบที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบ คิดเป็นค่าแสตมป์ที่จะต้องปิดเป็นเงินทั้งสิ้น 12,138 บาท ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันมาเป็นเงิน 182,070 บาท จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ส่วนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองฎีกาขึ้นมาอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็จะเปลี่ยนแปลงโทษให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่และหากศาลจะลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 คนละ 45,517.50 บาท ตามที่ จำเลยทั้งสองฎีกามา ก็จะเป็นการลงโทษปรับที่ต่ำกว่าโทษที่ กำหนดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจเปลี่ยนแปลง แก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ยาสูบ: จำเลยต้องถูกลงโทษปรับแยกตามสัดส่วนค่าแสตมป์ยาสูบที่ต้องปิด
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสองมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยกขึ้นฎีกาได้
ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 50 บัญญัติว่า ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทนั้น หมายความว่า จำเลยแต่ละคนจะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตต่างประเทศอันเป็นยาสูบตามกฎหมาย และเป็นยาสูบที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบ คิดเป็นค่าแสตมป์ที่จะต้องปิดเป็นเงินทั้งสิ้น 12,138 บาท ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันมาเป็นเงิน 182,070 บาท จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา50 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ส่วนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองฎีกาขึ้นมาอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็จะเปลี่ยนแปลงโทษให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่ และหากศาลจะลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวตาม ป.อ.มาตรา 31 คนละ 45,517.50 บาท ตามที่จำเลยทั้งสองฎีกามา ก็จะเป็นการลงโทษปรับที่ต่ำกว่าโทษที่กำหนดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาได้เช่นกัน
ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 50 บัญญัติว่า ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทนั้น หมายความว่า จำเลยแต่ละคนจะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตต่างประเทศอันเป็นยาสูบตามกฎหมาย และเป็นยาสูบที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบ คิดเป็นค่าแสตมป์ที่จะต้องปิดเป็นเงินทั้งสิ้น 12,138 บาท ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันมาเป็นเงิน 182,070 บาท จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา50 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ส่วนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองฎีกาขึ้นมาอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็จะเปลี่ยนแปลงโทษให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่ และหากศาลจะลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวตาม ป.อ.มาตรา 31 คนละ 45,517.50 บาท ตามที่จำเลยทั้งสองฎีกามา ก็จะเป็นการลงโทษปรับที่ต่ำกว่าโทษที่กำหนดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดครั้งเดียวและบทบัญญัติเฉพาะ
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ที่บัญญัติให้ลงโทษปรับ 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากรนั้น เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ดังนั้นการปรับจำเลยเรียงตัว คนละ 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันย่อมเป็น การปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งเกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อ บทกฎหมายดังกล่าว และในมาตรา 120 ก็บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ว่าเมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ กรณีจึงไม่อาจนำความ ในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับได้