พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องดำเนินการตามขั้นตอนภายใน 10 ปีนับจากคำพิพากษาจึงจะใช้สิทธิบังคับคดีได้
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำบังคับ เป็นกรณีที่ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 (เดิม) และมาตรา 278 (เดิม) จะเห็นได้ว่า การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแม้คดีนี้โจทก์เดิมจะได้แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยไว้เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 ก็ตาม แต่โจทก์นำเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดมายื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ครบจึงไม่สามารถยึดที่ดินของจำเลยได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งในคำขอยึดทรัพย์ของโจทก์ว่า ให้โจทก์นำส่งต้นฉบับโฉนดที่ดิน สัญญาจำนองและสำเนาทะเบียนบ้านจำเลยก่อนนำยึด แต่โจทก์ก็ไม่ดำเนินการใด ๆ จนกระทั่งวันที่ 16 มิถุนายน 2560 โจทก์เพิ่งมาตั้งเรื่องบังคับคดีใหม่โดยยื่นคำขอยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาชั้นที่สุดอันจะถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม)แม้ทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์จำนองต่อไปได้ แต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยล่วงพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาชั้นที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดทางแพ่งในคดีอาญา: การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำกัดเฉพาะการกระทำผิดของจำเลยตามฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคท้าย ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 3 ตามที่ถูกฟ้องเท่านั้น ไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของบุคคลอื่นได้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้ร้อง โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งขณะกระทำความผิดเป็นผู้เยาว์นั้นมีจำเลยที่ 3 เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 ด้วย จึงถือว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงกรณีที่ร่วมกันกระทำละเมิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำความผิดตามฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 ในฐานะมารดาซึ่งไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ปล่อยให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์พรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากความปกครองของผู้ร้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของพนักงานอัยการและคำร้องของผู้ร้อง เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือนจากละเมิด: การชดใช้ค่าเสียหายแก่บิดามารดาผู้สูญเสียผู้เยาว์
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 445 เป็นกรณีผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอก โจทก์ร่วมทั้งสองเป็นบิดามารดาผู้ตายซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ภายใต้ปกครองของโจทก์ร่วมทั้งสองตามมาตรา 1566 ซึ่งตามมาตรา 1567 กำหนดให้บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิมอบหมายให้บุตรผู้เยาว์ทำการงานในครัวเรือนตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองมอบหมายให้ผู้ตายช่วยดูแลกิจการหอพักและกิจการฟาร์มเลี้ยงสุกรในเวลาเลิกเรียนและวันหยุด แต่ผู้ตายถูกจำเลยทำละเมิดจนถึงแก่ความตาย ย่อมทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองต้องขาดแรงงาน จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: สิทธิในการยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษต้องมีฐานะผู้ได้รับอนุญาตหรือมีสิทธิโดยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เป็นมาตรการที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อบังคับให้ผู้กระทำความผิดฐานบุกรุกยึดถือครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ต้องออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิด อันทำให้รัฐได้รับคืนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การที่ผู้ร้องจะมีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อแสดงอำนาจพิเศษได้นั้น ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 หรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องในการเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ เมื่อได้ความตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพียงแต่ไม่เคยถูกจับกุมดำเนินคดีหรือเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยผู้ร้องไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากอธิบดี ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เสียหายจากการลงทุน: การพิสูจน์ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยจากการถูกหลอกลวง
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ชักชวนสมาชิกมาร่วมลงทุนกับจำเลยประมาณสิบกว่าคน โดยให้คำรับรองว่า บริษัท M. จะคืนเงินลงทุนให้ภายใน 3 เดือน หากบริษัทดังกล่าวไม่คืนเงินให้ โจทก์จะใช้เงินส่วนตัวคืนเงินลงทุนให้แก่ทุกคน อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์ในการชักชวนผู้อื่นให้มาลงทุนเช่นเดียวกับจำเลยก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในขณะที่โจทก์ชักชวนผู้อื่นมาร่วมลงทุนนั้น โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทดังกล่าวไม่สามารถให้ผลตอบแทนได้ดังที่โฆษณา แล้วไปหลอกลวงให้ผู้อื่นมาร่วมลงทุนด้วย นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังได้ความอีกว่า หลังจากโจทก์ทราบว่าบริษัทดังกล่าวหลอกลวงไม่สามารถให้ผลตอบแทนดังที่โฆษณาแล้ว โจทก์ได้คืนเงินให้แก่บุคคลที่โจทก์ชักชวนให้มาร่วมลงทุนไปแล้ว รูปคดีจึงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ซึ่งมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและการขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินต่างแปลง ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นสิทธิการรับชำระหนี้
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ส่วนที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่นมาด้วยนั้น ที่ดินที่ขอรับชำระหนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ก่อนเจ้าหนี้อื่นในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ส่วนที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่นมาด้วยนั้น ที่ดินที่ขอรับชำระหนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ก่อนเจ้าหนี้อื่นในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำเบิกความเด็ก และพฤติการณ์กระทำอนาจาร ศาลรับฟังภาพ-เสียงคำให้การในชั้นสอบสวนได้
ผู้เสียหายเป็นเด็กอายุ 5 ปีเศษ มาเบิกความด้วยตนเองแล้ว แต่ระหว่างการสืบพยานไม่ให้ความร่วมมือที่จะตอบคำถาม ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ถ่ายทอดภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหาย ซึ่งบันทึกไว้ในชั้นสอบสวนต่อหน้าคู่ความ ถือว่าภาพและเสียงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความผู้เสียหายในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคสาม มิใช่พยานบอกเล่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมผูกพันตามคดีแบ่งแยกที่ดินเดิม
การที่โจทก์ได้สิทธิความเป็นเจ้าของรวมในที่ดินในฐานะผู้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 10 ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 10 โอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 แก่โจทก์ ย่อมหมายความว่า สิทธิในที่ดินของจำเลยที่ 10 มีอยู่ในขณะที่จะขายเป็นต้นไปเพียงใด โจทก์ย่อมรับโอนสิทธิของจำเลยที่ 10 มาเพียงนั้น ซึ่งรวมถึงหน้าที่ของจำเลยที่ 10 ในฐานะเจ้าของรวมที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 10 ครอบครองเป็นส่วนสัดให้แก่จำเลยที่ 1 และเจ้าของรวมคนอื่นตามคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 ของศาลชั้นต้นด้วย ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้สืบสิทธิของจำเลยที่ 10 ที่ต้องผูกพันตามผลของคดีดังกล่าว
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 และถือเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 10 หยิบยกข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 10 มิได้ตกลงยินยอมให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันมากล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยทบทวนอีก ย่อมเป็นการซ้ำซ้อนกับข้อวินิจฉัยในคดีดังกล่าว และมีผลให้ขัดแย้งกับกระบวนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วในคดีดังกล่าว เป็นการรื้อร้องฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปและถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 และถือเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 10 หยิบยกข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 10 มิได้ตกลงยินยอมให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันมากล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยทบทวนอีก ย่อมเป็นการซ้ำซ้อนกับข้อวินิจฉัยในคดีดังกล่าว และมีผลให้ขัดแย้งกับกระบวนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วในคดีดังกล่าว เป็นการรื้อร้องฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปและถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ