คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 205

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีละเมิด ทายาทผู้รับมรดก
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งกระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และผู้ตายมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทอย่างใดหรือไม่ แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของผู้ตายไม่เป็นละเมิดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็อาจยกฟ้องโจทก์โดยเหตุดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามข้ออุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลพิจารณาฝ่ายเดียวได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่มาศาลและพยานโจทก์ให้การเสร็จสิ้น
เมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 กำหนดให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว ส่วนความในมาตรา 205 นั้น หมายความเฉพาะกรณีที่จำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาฝ่ายเดียวอยู่เท่านั้นเมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบเสร็จในวันเดียวกันโดยจำเลยไม่มาศาล ต้องถือว่าเสร็จการพิจารณาแล้ว ไม่มีทางที่จะเลื่อนคดีไปเพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการสืบพยานฝ่ายเดียว ศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยไม่มาศาล
เมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 กำหนดให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวส่วนความในมาตรา 205 นั้น หมายความเฉพาะกรณีที่จำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาฝ่ายเดียวอยู่เท่านั้น เมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบเสร็จในวันเดียวกันโดยจำเลยไม่มาศาล ต้องถือว่าเสร็จการพิจารณาแล้ว ไม่มีทางที่จะเลื่อนคดีไปเพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นในการอุทธรณ์ก่อนมีคำพิพากษา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและนัดฟังคำพิพากษาในเวลาอีก 20 วัน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งก่อนวันนัดไม่ได้ เพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) และจะขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ได้เพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณา.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้จำเลยขาดนัด ศาลยังต้องพิจารณาพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อพิสูจน์ความประมาทตามหลักกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถยนต์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดในการที่จำเลยที่ 1ขับรถยนต์ประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเสียหายจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ แม้หากฝ่ายจำเลยขาดนัดไม่มาศาล ศาลก็ยังวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าคดีมีมูลตามข้ออ้างแห่งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ทั้งเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้การและนำสืบต่อสู้คดี จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเมื่อฟังว่า เหตุมิได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้จำเลยขาดนัด ศาลยังต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเพื่อพิสูจน์ความประมาทก่อนตัดสินคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถยนต์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดในการที่จำเลยที่1 ขับรถยนต์ประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเสียหายจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ แม้หากฝ่ายจำเลยขาดนัดไม่มาศาล ศาลก็ยังวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าคดีมีมูลตามข้ออ้างแห่งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ทั้งเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้การและนำสืบต่อสู้คดี จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเมื่อฟังว่า เหตุมิได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4263/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาคดีใหม่: การยื่นคำขอหลังศาลมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว
จำเลยยื่นคำขอพิจารณาใหม่ ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวมาแล้วศาลชั้นต้นยกคำร้อง เพราะเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและไม่ได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว จำเลยกลับยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่อีกเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา205(3) ประกอบด้วยมาตรา 207(3) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอพิจารณาคดีใหม่อีกจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4263/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาคดีใหม่: สิทธิและข้อจำกัดตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำขอพิจารณาใหม่ ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวมาแล้วศาลชั้นต้นยกคำร้อง เพราะเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและไม่ได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว จำเลยกลับยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่อีกเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 (3) ประกอบด้วยมาตรา 207 (3) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอพิจารณาคดีใหม่อีกจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่ง ผลของกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527
จำเลยทราบนัดชี้ สองสถานแล้ว แต่ไม่มาศาลตามนัด ศาลชี้ สองสถานโดยกำหนดให้ภาระการพิสูจน์ตก จำเลย และนัดสืบพยานจำเลยพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้ถือว่าจำเลยทราบวันนัดแล้ว โดยไม่ต้องแจ้งจำเลยอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายนั้นไม่มีเหตุผลที่จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดพิจารณาจากไม่มาศาลตามนัด แม้จะทราบวันนัดแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องแจ้งนัดซ้ำ
จำเลยทราบนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มาศาลตามนัด ศาลได้ชี้สองสถานไปโดยกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์และนำสืบพยานก่อน และนัดสืบพยานจำเลยพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดทั้งสองแล้วโดยศาลไม่ต้องแจ้งนัดแก่จำเลยอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้.
of 13