คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยเจริญ สันติศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 553 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611-612/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก การชำระหนี้ และอายุความฟ้องร้อง
1. เมื่อพิจารณาตามฟ้องและคำให้การไม่มีฝ่ายใดอ้างถึงเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝากซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาให้ไถ่ถอนการขายฝากคดีเช่นนี้ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือ ก็คือ ให้ไถ่ถอนภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนรับผิดร่วมกันในละเมิดจากการดำเนินกิจการร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเดินรถโดยสารประจำทางกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมรถและเก็บค่าโดยสาร ถ้าจำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย และตัวโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์เช่นเดียวกับตัวการต้องร่วมกันรับผิดกับตัวแทนตามนัยมาตรา 1042 และ 427 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมรับผิดในละเมิดจากการดำเนินกิจการร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเดินรถโดยสารประจำทางกับจำเลยที่1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมรถและเก็บค่าโดยสาร ถ้าจำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายและตัวโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์เช่นเดียวกับตัวการต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนตามนัยมาตรา 1042และ 427 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและการสิ้นสุดสิทธิเช่าเมื่อถูกบอกกล่าว
จำเลยเช่าห้องโจทก์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงฟ้องขับไล่อ้างว่าจำเลยอาศัยดังนี้ จำเลยจะอ้างการเช่ามาต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สิทธิการเช่าไม่สามารถใช้ต่อสู้คดีขับไล่ได้
จำเลยเช่าห้องโจทก์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องขับไล่อ้างว่าจำเลยอาศัย ดังนี้ จำเลยจะอ้างการเช่ามาต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งผลผลิตข้าวแทนดอกเบี้ย ไม่ถือเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และสัญญากู้ใหม่ไม่รวมดอกเบี้ยเดิม
(1) การที่จำเลยกู้เงินโจทก์และตกลงกันให้จำเลยทำนาแบ่งผลข้าวที่ทำได้แต่ละปีแทนดอกเบี้ย บางปีได้มากบางปีได้น้อยจะถือว่ารายได้ของโจทก์ที่มากเกินกว่าอัตราที่กฎหมายรับรู้นั้นเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหาได้ไม่
(2) อนึ่ง การที่จำเลยเป็นหนี้ไม่ส่งข้าวเปลือกดังกล่าวตลอดมาจึงตกลงทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้จะอ้างว่าสัญญานี้รวมดอกเบี้ยเกินกำหนดเข้าไว้ด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งผลข้าวแทนดอกเบี้ยไม่ถือเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และสัญญากู้ใหม่ไม่รวมดอกเบี้ยเดิม
(1) การที่จำเลยกู้เงินโจทก์และตกลงกันให้จำเลยทำนาแบ่งผลข้าวที่ทำได้แต่ละปีแทนดอกเบี้ย บางปีได้มาก บางปีได้น้อย จะถือว่ารายได้ของโจทก์ที่มากเกินกว่าอัตราที่กฎหมายรับรู้นั้นเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหาได้ไม่
(2) อนึ่ง การที่จำเลยเป็นหนี้ไม่ส่งข้าวเปลือกดังกล่าวตลอดมาจึงตกลงทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ จะอ้างว่าสัญญานี้รวมดอกเบี้ยเกินกำหนดเข้าไว้ด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขับรถประมาทหลีกรถจอด-ปิดทางรถสวน ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ผู้ที่ขับรถยนต์หลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไปทางขวากินทางของฝ่ายรถที่สวนมาข้างหน้านั้นตามวิสัยจะต้องเป็นฝ่ายใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ มิฉะนั้นอาจถือว่าเป็นการเสี่ยงภัยของตนเองได้
จำเลยขับรถบรรทุกหลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไปทางขวาปิดทางรถที่กำลังลงสะพานสวนมาข้างหน้าโดยมิได้ชลอความเร็วทำให้ผู้ขับรถสวนมาไม่สามารถแก้ไขอย่างอื่นได้นอกจากห้ามล้อทันทีเป็นเหตุให้รถที่สวนมาเสียหลักการทรงตัวไถลเอาข้างไปชนรถจำเลยเข้า เกิดอันตรายแก่รถและผู้ที่นั่งมาด้วยเช่นนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานขับรถโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกรถโดยประมาท เสี่ยงภัย และการใช้ความระมัดระวังของผู้ขับขี่
ผู้ที่ขับรถยนต์หลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไปทางขวากินทางของฝ่ายรถที่สวนมาข้างหน้านั้น ตามวิสัยจะต้องเป็นฝ่ายใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ มิฉะนั้นอาจถือว่าเป็นการเสี่ยงภัยของตนเองได้
จำเลยขับรถบรรทุกหลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไปทางขวาปิดทางรถที่กำลังลงสะพานสวนมาข้างหน้าโดยมิได้ชลอความเร็ว ทำให้ผู้ขับรถสวนมาไม่สามารถแก้ไขอย่างอื่นได้ นอกจากห้ามล้อทันที เป็นเหตุให้รถที่สวนมาเสียหลักการทรงตัวไถลเอาข้างไปชนรถจำเลยเข้า เกิดอันตรายแก่รถและผู้ที่นั่งมาด้วย เช่นนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานขับรถโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพลเรือนพิจารณาคดีลักทรัพย์เมื่อฟ้องรวมกับคดีบุกรุกทำลายทรัพย์สิน
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ในวันตามฟ้องต่อเนื่องกันนั้น เป็นคดีที่เกี่ยวกันพันตามความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ฉะนั้น เมื่อมีการฟ้องคดีในข้อหาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลพลเรือนแล้ว ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในข้อหาฐานลักทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมาด้วย
of 56