คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยเจริญ สันติศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 553 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพลเรือนพิจารณาคดีลักทรัพย์เมื่อฟ้องรวมกับคดีบุกรุกทำลายทรัพย์สิน
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ในวันตามฟ้องต่อเนื่องกันนั้น เป็นคดีที่เกี่ยวกันพันตามความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ฉะนั้น เมื่อมีการฟ้องคดีในข้อหาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลพลเรือนแล้ว ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในข้อหาฐานลักทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินก่อนสมรส & ค่าใช้จ่ายระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยา: ไม่ถือเป็นสิทธิในกองมรดก
จำเลยเป็นภรรยาของเจ้ามรดกโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเจ้ามรดกมีที่ไร่มาก่อนได้จำเลยเป็นภรรยา การที่จำเลยช่วยเจ้ามรดกทำไร่และต่อมาดัดแปลงเป็นนา จะถือว่าเจ้ามรดกให้จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วยไม่ได้นานี้ยังต้องถือว่าเป็นทรัพย์เดิมของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วจำเลยไม่มีส่วนได้ด้วย
จำเลยอยู่กินกับเจ้ามรดกฉันสามีภรรยา หากจำเลยออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ้ามรดกเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายนั้นย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้ามรดกหรือกองมรดกจะต้องชดใช้ให้
เมื่อจำเลยไม่ใช่ภรรยายโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1649 ถ้าจำเลยออกเงินของจำเลยทำศพเจ้ามรดกไป ก็จะขอให้หักทรัพย์มรดกชดใช้ให้ในคดีที่ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องเรียกจำเลยใหม่เข้ามาในคดี และขอบเขตการบังคับตามคำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1-2 ปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกับบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนออกไปต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่า เรือนเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1-2 อาศัยอยู่ด้วยในฐานะบริวาร ขอให้เรียกมารดาจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งขอให้บังคับจำเลยที่ 1-2 ให้รวมถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 ตามคำขอนั้นได้เพราะตามคำฟ้องเดิมของโจทก์ ประกอบกับคำร้องขอแก้ฟ้องก็ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดแจ้งอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเรียกจำเลยใหม่ ศาลพิพากษาบังคับจำเลยใหม่ได้หากคำฟ้องเดิมครอบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 - 2 ปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกับบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนออกไป ต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่า เรือนเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 - 2 อาศัยอยู่ด้วยในฐานะบริวาร ขอให้เรียกมารดาจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งขอให้บังคับจำเลยที่ 1 - 2 ให้รวมถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 ตามคำขอนั้นได้เพราะตามคำฟ้องเดิมของโจทก์ ประกอบคำร้องขอแก้ฟ้องก็ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 รวมทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดแจ้งอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมจากการซื้อของเชื่อเพื่อประโยชน์ร่วมกันในสัญญาซื้อขายกิจการ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายกิจการและโรงงานให้จำเลยที่ 2ระหว่างรอโอนกรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 มอบกิจการและโรงงานซึ่งตนเป็นเจ้าของให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการซึ่งต้องมีการซื้อสิ่งของมาใช้และกลายเป็นทรัพย์ที่ติดไปกับโรงงานและกิจการของโรงงานซึ่งจำเลยที่ 1ก็ได้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้นด้วยส่วนจำเลยที่ 2 ก็ได้รับประโยชน์จากผลผลิตของโรงงานอันเป็นประโยชน์ร่วมกันเช่นนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไปซื้อของเชื่อจากโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมในการซื้อของเชื่อเพื่อประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ขายกิจการและผู้ซื้อที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายกิจการและโรงงานให้จำเลยที่ 2 ระหว่างรอโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 มอบกิจการและโรงงานซึ่งตนเป็นเจ้าของให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการ ซึ่งต้องมีการซื้อสิ่งของมาใช้และกลายเป็นทรัพย์ที่ติดไปกับโรงงานและกิจการของโรงงานซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้นด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ได้รับผลประโยชน์จากผลผลิตของโรงงานอันเป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่นนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไปซื้อของเชื่อจากโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501-502/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดทำนบตามคำสั่งกำนันเพื่อระบายน้ำ ไม่ถือเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากเจ้าของทำนบยินยอม
จำเลยขุดทำลายทำนบของผู้อื่นเพื่อระบายน้ำไม่ให้ท่วมทางตามคำสั่งของกำนันโดยเจ้าของทำนบได้ตกลงไว้กับทางอำเภอรับจะระบายน้ำให้แล้วย่อมจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501-502/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดทำลายทำนบโดยได้รับอนุญาตจากกำนันเพื่อระบายน้ำ ไม่ถือว่าทำให้เสียทรัพย์
จำเลยขุดทำลายทำนบของผู้อื่นเพื่อระบายน้ำไม่ให้ท่วมทางตามคำสั่งของกำนัน โดยเจ้าของทำนบได้ตกลงไว้กับทางอำเภอรับจะระบายน้ำให้แล้ว ย่อมจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ไม่ระบุชัดเจน หากผู้กู้เข้าใจและชำระเกิน ก็ไม่สามารถเรียกคืนได้
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมาย ย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้ แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี และผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้น ถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าว โดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การชำระเกินและผลทางกฎหมาย
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมายย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้นถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าวโดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้
of 56