พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การไม่ฟ้องคดีภายใน 90 วันหลังคำวินิจฉัยนายทะเบียนทำให้สิทธิสิ้นสุด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างพิพาทกันด้วยสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ที่บังคับให้โจทก์จะต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน มิฉะนั้นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไป แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลแต่โจทก์ก็ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเสีย ซึ่งทำให้ลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ใหม่ ก็เท่ากับยื่นฟ้องเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิจะทำได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516)และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516)และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าเมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นก่อน – สิทธิในการฟ้องเพิกถอนยังคงมี
แม้โจทก์จะมิได้แจ้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าได้ตกลงกับจำเลยหรือได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดสามเดือนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 17 มาตรานี้ ก็เพียงแต่ให้นายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของฝ่ายที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อนเท่านั้นต่อมาเมื่อนายทะเบียนฯประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 21 เพื่อดำเนินการรับจดทะเบียนต่อไปโจทก์กลับยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 22 และจำเลยยื่นคำโต้แย้งแล้ว นายทะเบียนฯก็หาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 โจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 22 วรรคสี่และวรรคห้า ดังนั้นเมื่อนายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้วถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: ต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความสุจริตในการใช้เครื่องหมาย
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ นั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตามมาตรา 22, 23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎ๊กาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องมหายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องง่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องมหายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องง่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีการโต้แย้งสิทธิ หรือความเสียหายจากการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต
กรณีที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้านั้น ถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 16 ก็เป็นเรื่องนายทะเบียนมีหนังสือปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเพราะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว หรือมีการโต้แย้งคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม มาตรา22,23 อันเป็นการโต้แย้งสิทธิกัน ส่วนกรณีที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42 คือจดทะเบียนไว้โดยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น ก็ต้องมีการโต้แย้งสิทธิและทำเป็นคำฟ้องเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่ 232/2504)
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำบรรยายฟ้องของโจทก์มีเพียงว่า นายทะเบียนไม่ยอมพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 หรือจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ตามมาตรา 22 ดังนี้ย่อมไม่มีการโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทมาตราดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าจำเลยมิได้ตั้งใจสุจริตที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้ อันเป็นการฟ้องโดยอ้างเหตุตามมาตรา 42นั้น การฟ้องตามมาตรานี้ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิเช่นเดียวกัน คือโจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าแบบที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าตราเสือที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตราเสือที่จำเลยจดทะเบียนไว้เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 42 นี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: แม้เลียนแบบแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนภายใน 5 ปี ไม่มีสิทธิขอห้ามหรือเรียกคืนสินค้า
อ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปลประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์ เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม.ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด
อ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปรประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม. ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ(กล่อง) สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนกันหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้สินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้ นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และกรณีไม่ต้องด้วยวรรค 2 เพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายให้การล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน โจทก์ย่อมไม่สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ(กล่อง) สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนกันหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้สินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้ นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และกรณีไม่ต้องด้วยวรรค 2 เพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายให้การล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน โจทก์ย่อมไม่สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ: ผลของการไม่คัดค้านการจดทะเบียนและการขาดอายุความ
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยกคำร้องคัดค้านของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หรือนำคดีไปสู่ศาลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยของนายทะเบียน นายทะเบียนจึงได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นให้แก่จำเลย ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 27 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเหมือนคล้ายเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยประการใดๆ อีกหาได้ไม่ และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย หรือบังคับให้จำเลยเลิกใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้นั้นอีกได้
ที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนได้รับจดทะเบียน แม้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในระยะเวลานั้น แต่เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว ถ้าจำเลยได้กระทำการโดยไม่สุจริต เช่น เอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยดัดแปลงให้เหมือนของโจทก์ ก็อาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ แต่เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตามที่จดทะเบียนไว้โดย มิได้ดัดแปลงให้ผิดแผกเป็นอย่างอื่น ย่อมชอบที่จะกระทำได้ หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านหรือพูดเร็วฟังเสียงคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก และยังผลิตสินค้ากางเกงให้มีสีและใช้กระดุมสีเดียวกับสินค้าของโจทก์ ทำให้บุคคลที่พบเห็นเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โดยจำเลยมีเจตนาลวงประชาชนให้เข้าใจเช่นนั้น แม้จะเป็นความจริง ก็มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งต่างกับของโจทก์ติดอยู่ที่สินค้ากางเกงเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วจึงไม่ถึงขนาดที่จะฟังว่าเป็นการทำให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนได้รับจดทะเบียน แม้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในระยะเวลานั้น แต่เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
แม้จำเลยจะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว ถ้าจำเลยได้กระทำการโดยไม่สุจริต เช่น เอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยดัดแปลงให้เหมือนของโจทก์ ก็อาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ แต่เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตามที่จดทะเบียนไว้โดย มิได้ดัดแปลงให้ผิดแผกเป็นอย่างอื่น ย่อมชอบที่จะกระทำได้ หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านหรือพูดเร็วฟังเสียงคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก และยังผลิตสินค้ากางเกงให้มีสีและใช้กระดุมสีเดียวกับสินค้าของโจทก์ ทำให้บุคคลที่พบเห็นเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โดยจำเลยมีเจตนาลวงประชาชนให้เข้าใจเช่นนั้น แม้จะเป็นความจริง ก็มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งต่างกับของโจทก์ติดอยู่ที่สินค้ากางเกงเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วจึงไม่ถึงขนาดที่จะฟังว่าเป็นการทำให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดหลังยอมรับอำนาจคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า: สิทธิฟ้องสิ้นสุดเมื่อไม่นำคดีสู่ศาล
การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิกฎหมายให้อุทธรณ์ได้ใน 2 กรณีคือ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งตามมาตรา 16, 18 หรือ 19 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น ๆ ภายใน 90 วัน หรือเมื่อนายทะเบียนประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามมาตรา 21 แล้ว และมีผู้คัดค้าน ผู้ขอจดทะเบียนต้องยื่นคำโต้แย้งแล้วให้นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เมื่อนายทะเบียนวินิจฉัยแล้วภายใน 90 วัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนถึงการนำคดีไปสู่ศาลใน 90 วันด้วย และให้นายทะเบียนรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ถ้ามิได้อุทธรณ์ หรือมิได้นำคดีไปสู่ศาล สิทธิอุทธรณ์หรือสิทธินำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา 22
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบ และนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี(2)ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1)อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบ และนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี(2)ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1)อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า: หากไม่มีลักษณะทำให้สาธารณชนสับสน การจดทะเบียนย่อมสมเหตุสมผล
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "ควิ้ง" ใช้กับสินค้าน้ำหมึก ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำว่า "ควีน" สำหรับสินค้าน้ำหมึกเช่นเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยไม่คล้ายกัน ทั้งชื่อและสีตลอดจนส่วนประกอบอื่นๆและไม่มีลักษณะถึงขนาดจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดด้วยเช่นนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียน หรือห้ามไม่ให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าเมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับทุกประเภทสินค้า
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว สำหรับสินค้าประเภท 2และโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับประเภท 3 ในสินค้าอย่างเดียวกันซึ่งนายทะเบียนไม่ยอมรับจดให้จนกว่าโจทก์จำเลยจะตกลงกันเองหรือนำคดีขึ้นสู่ศาลซึ่งเป็นการสั่งให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 21,22 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยห้ามใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้