พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บันทึกหลังทะเบียนหย่ามีผลผูกพันทางกฎหมาย
สามีภริยาจดทะเบียนหย่อขาดกันที่อำเภอบันทึกหลังทะเบียนการหย่อที่ว่า ในเรื่องทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรส ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเรียบร้อยก่อนมาจดทะเบียนหย่านั้น ถือได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือสัญยาประนีประนอมยอมความในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยานั้นแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องทรัพย์สินหลังหย่ามีผลผูกพันตามกฎหมาย
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดกันที่อำเภอ บันทึกหลังทะเบียนการหย่าที่ว่าในเรื่องทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเรียบร้อยก่อนมาจดทะเบียนหย่านั้น ถือได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยานั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ไม่ใช่คำมั่นสัญญา แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ ทำให้สิทธิในทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับโอน
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินให้ภริยาด้วยนั้นการแบ่งทรัพย์นี้ไม่ใช่คำมั่นว่าจะให้แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังหย่ามีผลอย่างไร? ข้อตกลงไม่ใช่คำมั่นสัญญาแต่เป็นการโอนสิทธิ
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันและทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินให้ภริยาด้วยนั้น การแบ่งทรัพย์นี้ไม่ใช่คำนั่นว่าจะให้ แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและการพิสูจน์เจตนาทุจริต
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ป.พ.พ. มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปีไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จะต้องแบ่งตาม ป.พ.พ. ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม.164.
ป.พ.พ. มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปีไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จะต้องแบ่งตาม ป.พ.พ. ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม.164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตเป็นข้อเท็จจริง, อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปี ไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีที่จะต้องแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ม.164
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปี ไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีที่จะต้องแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ม.164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในทรัพย์สินหลังหย่า: เจตนาชัดเจนถือเป็นอันสิ้นสุด
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกัน แล้วโจทก์(ภริยา) ได้โอนกรรมสิทธิที่ดินของตนให้จำเลย(สามี)แล้วทำหนังสือสละทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่จำเลยโดยระบุไว้แจ้งชัดว่าสละให้เพราะจะไปอยู่กินกับชายชู้ แล้วโจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดกันโดยโจทก์ได้แสดงเจตนาเมื่อจดทะเบียนหย่ายืนยันสละสิทธิของโจทก์ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาโดยกล่าวว่าไม่มีอะไรจะแบ่งกันแล้วดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าการหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยได้เสร็จเด็ดขาดไปแล้วโจทก์จะกลับรื้อฟื้นฟ้องร้องว่ายังไม่ได้แบ่งทรัพย์กันนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและการแบ่งทรัพย์หลังหย่าขาด โดยการแสดงเจตนาสละสิทธิถือเป็นอันเสร็จเด็ดขาด
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกัน แล้วโจทก์( ภริยา ) ได้โอนกรรมสิทธิที่ดินของตนให้จำเลย( สามี ) แล้วทำหนังสือสละทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่จำเลยโดยระบุไว้แจ้งชัดว่าสละให้เพราะจะไปอยู่กินกับชายชู้ แล้วโจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดกันโดยโจทก์ได้แสดงเจตนาเมื่อจดทะเบียนหย่ายืนยันสละสิทธิของโจทก์ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา โดยกล่าวว่าไม่มีอะไรจะแบ่งกันแล้วดังนี้ ย่อมฟังได้ว่าการหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยได้เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โจทก์จะกลับรื้อฟื้นฟ้องร้อว่ายังไม่ได้แบ่งทรัพย์กันนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งงานไม่จดทะเบียนสมรส: สิทธิในการฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอหย่าจากการเป็นสามีภริยากับจำเลย และขอแบ่งสินสมรสทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยไม่เป็นสามีภริยากัน ศาลก็ไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องเหตุหย่าและในเรื่องแบ่งทรัพย์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากการเป็นสามีภริยาต้องด้วยกฎหมาย การแบ่งสินสมรส และการพิสูจน์สินเดิม
ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า เมื่อชายไม่พอใจหญิงก็ทิ้งหญิงได้ โดยหญิงไม่ต้องยินยอม และขาดจาการเป็นสามีภรรยากันได้ การที่สามีไม่พอใจภรรยาแล้วเขียนหนังสือเก็บไว้ และไม่ไปมาหาสู่ภริยา ไม่ว่าจะเขียนหนังสือนั้น และเลิกติดต่อกับภริยาเมื่อใดก็ตาม ไม่ทำให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้
ในคดีแพ่ง ถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ในข้อใด จำเลยจะต้องกล่าวในคำให้การโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งเหตุตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม. 177 วรรค 2
เมื่อศาลฟังว่าภริยามีสินเดิม ศาลก็พิพากษาให้ส่วนแบ่งในสินสมรสได้ ไม่มี ก.ม.จำกัดว่าแม้จะมีสินเดิม ก็ต้องอยู่ร่วมบ้านด้วย จึงจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
การแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยา จะต้องหักสินสมรสใช้สินเดิมก็ต่อเมื่อปรากฏว่าสินเดิมสูญไปแล้ว
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า สินเดิมของจำเลยไม่ปรากฏ แต่โจทก์ก็ตั้งรูปฟ้องมาในทางหาว่าจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย ฉะนั้นในการที่ศาลจะคำนวนส่วนแบ่งใน+อันโจทก์ซึ่งเป็นภรรยา+ได้รับ ศาลก็จำต้องคำนวณโดยถือว่าจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย
ในคดีแพ่ง ถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ในข้อใด จำเลยจะต้องกล่าวในคำให้การโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งเหตุตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม. 177 วรรค 2
เมื่อศาลฟังว่าภริยามีสินเดิม ศาลก็พิพากษาให้ส่วนแบ่งในสินสมรสได้ ไม่มี ก.ม.จำกัดว่าแม้จะมีสินเดิม ก็ต้องอยู่ร่วมบ้านด้วย จึงจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
การแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยา จะต้องหักสินสมรสใช้สินเดิมก็ต่อเมื่อปรากฏว่าสินเดิมสูญไปแล้ว
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า สินเดิมของจำเลยไม่ปรากฏ แต่โจทก์ก็ตั้งรูปฟ้องมาในทางหาว่าจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย ฉะนั้นในการที่ศาลจะคำนวนส่วนแบ่งใน+อันโจทก์ซึ่งเป็นภรรยา+ได้รับ ศาลก็จำต้องคำนวณโดยถือว่าจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย