พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินส่งผลต่อการพิจารณา 'ผู้กระทำความผิดซ้ำ' ในการขอพระราชทานอภัยโทษ
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 13 นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษจากกำหนดโทษลง 1 ใน 6"และมาตรา 3 บัญญัติว่า "ในพระราชกฤษฎีกานี้... "ผู้กระทำความผิดซ้ำ" หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว และกลับมาต้องโทษจำคุกในคราวนี้อีกภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษคราวก่อน กับความผิดทั้งสองคราวไม่ใช่ความผิดฐานลหุโทษหรือประมาท..." เมื่อคำว่าผู้กระทำความผิดซ้ำเป็นองค์ประกอบหนึ่งของมาตรา 12 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่านักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมเช่นเดียวกับผู้ร้องจะได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษหรือไม่ เพียงใด อันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้น แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในข้อที่วินิจฉัยแปลความคำว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ทั้งคู่ความไม่ได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาด้วย ศาลฎีกาก็ยกเรื่องการแปลความคำว่านักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 ขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ผู้ร้องได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ในความผิดฐานลักทรัพย์ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2829/2543 ของศาลจังหวัดกาญจนบุรีอันมีผลให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว แม้การล้างมลทินไม่ได้เป็นการลบล้างความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกลงโทษจำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ตาม แต่ผลของการล้างมลทินที่ให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว ย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีก่อน ผู้ร้องจึงไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ย่อมไม่มีทางที่ผู้ร้องจะเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำไปได้ กรณีจึงไม่อาจพิจารณาให้ผู้ร้องได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12
ผู้ร้องได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ในความผิดฐานลักทรัพย์ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2829/2543 ของศาลจังหวัดกาญจนบุรีอันมีผลให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว แม้การล้างมลทินไม่ได้เป็นการลบล้างความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกลงโทษจำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ตาม แต่ผลของการล้างมลทินที่ให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว ย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีก่อน ผู้ร้องจึงไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ย่อมไม่มีทางที่ผู้ร้องจะเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำไปได้ กรณีจึงไม่อาจพิจารณาให้ผู้ร้องได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องไม่ใช่การแก้ไขคำพิพากษา หากฎีกาถูกจำกัดสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้นำข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำสืบมาเป็นเหตุผลในการตัดสินตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 ขอให้เพิกถอนการพิจารณาวินิจฉัยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เท่ากับ เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพิกถอนคำวินิจฉัยเดิมและวินิจฉัยพยานหลักฐานใหม่ อันเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 โดยมิใช่เป็นการแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ข้อที่อ้างว่า โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การรู้เรื่องความผิดและระยะเวลาแจ้งความร้องทุกข์
ตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุงบันทึกไว้เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 มีใจความว่า โจทก์ร่วมแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่าประมาณเดือนเมษายน 2559 โจทก์ร่วมว่าจ้างจำเลยก่อสร้างสนามฟุตบอล โดยจำเลยมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้าง การจ่ายเงินในการก่อสร้าง การสั่งสินค้าต่าง ๆ ต่อมาโจทก์ร่วมเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเกินกว่างบที่ตั้งไว้ จึงให้จำเลยส่งมอบใบเสร็จรับเงินมาให้ตรวจสอบ เมื่อโจทก์ร่วมตรวจสอบแล้วจึงทราบว่าจำเลยนำใบเสร็จรับเงินซึ่งมีจำนวนเงินค่าสินค้าสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาแอบอ้างแก่โจทก์ร่วมว่าเป็นใบเสร็จรับเงินที่ร้านค้าออกให้ ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและโอนเงินเข้าบัญชีให้จำเลยไป เหตุเกิดที่ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งไว้และจะได้สอบสวนต่อไป ข้อเท็จจริงที่โจทก์ร่วมแจ้งแก่พนักงานสอบสวนดังกล่าวพอเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ร่วมถูกจำเลยหลอกลวงด้วยการนำใบเสร็จรับเงินซึ่งหมายถึงบิลเงินสดที่ระบุจำนวนเงินค่าอุปกรณ์ก่อสร้างสูงกว่าความเป็นจริงมาแสดงแก่โจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและจ่ายเงินค่าอุปกรณ์ก่อสร้างให้จำเลยไปเกินกว่าความเป็นจริง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยฉ้อโกงโจทก์ร่วม ทั้งยังได้ความดังกล่าวข้างต้นว่าโจทก์ร่วมส่งมอบบิลเงินสดให้พนักงานสอบสวนไว้ด้วย และในข้อที่พนักงานสอบสวนบันทึกในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่าจะได้สอบสวนต่อไป ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้ขอให้พนักงานสอบสวนระงับการดำเนินการสอบสวนไว้ก่อน พฤติการณ์ของโจทก์ร่วมเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ร่วมได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยแก่พนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษแล้ว จึงเป็นคำร้องทุกข์ซึ่งได้กระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องคดีเช็ค: ศาลอนุญาตแก้ฟ้องโดยไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวจำเลยได้ หากโจทก์เข้าใจผิดในตัวบุคคลตั้งแต่แรก
การที่โจทก์ยื่นฟ้องโดยระบุชื่อบุคคลที่เป็นจำเลยว่า ก. หรือ จ. ซึ่ง จ. เป็นชื่อจำเลย กับระบุอายุ ที่อยู่เลขบัตรประจำตัวประชาชนของ ก. แต่เพียงผู้เดียวมาในฟ้อง ทั้งยังขอให้มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องแก่ ก. แต่เพียงผู้เดียวด้วยเป็นเพราะโจทก์เข้าใจว่า ก. และจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นจำเลยเป็น จ. หลังจากโจทก์ทราบว่า ก. และจำเลยเป็นคนละคนกัน จึงไม่เป็นการขอแก้ฟ้องโดยเปลี่ยนตัวบุคคลที่เป็นจำเลย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องในส่วนนี้จึงหาเป็นการไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับห้องชุดในอาคารชุดให้ ศ. เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยกับ ศ. เป็นคดีอาญาในข้อหาโกงเจ้าหนี้ กับฟ้องคดีแพ่งขอเพิกถอนการฉ้อฉล คดีทั้งสองเรื่องถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินข้างต้นขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมครบถ้วนแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ ศ. ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ตามกฎหมายเป็นความเสียหาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่านั้น โดยเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ผู้ถูกทำให้เกิดเสียหายและจำเลยจะต้องทำให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดที่โจทก์มีอยู่เสียหายไป การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แสดงว่าโจทก์มีความประสงค์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษทางอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญาและค่าจ้างว่าความของทนายความที่โจทก์จ่ายไป เกิดจากการใช้สิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย จึงเป็นความเสียหายจากการใช้สิทธิ ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียสิทธิหรือทำให้สิทธิของโจทก์ที่กฎหมายรับรองว่ามีอยู่เสียหายไป ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในเหตุละเมิดตามกฎหมายได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดโดยตรง
ส่วนการที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ตามตาราง 6 และตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ.
ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับ ศ. นั้น การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินแก่โจทก์เช่นกัน
ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการบังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลย ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ ศ. ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ตามกฎหมายเป็นความเสียหาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่านั้น โดยเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ผู้ถูกทำให้เกิดเสียหายและจำเลยจะต้องทำให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดที่โจทก์มีอยู่เสียหายไป การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แสดงว่าโจทก์มีความประสงค์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษทางอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญาและค่าจ้างว่าความของทนายความที่โจทก์จ่ายไป เกิดจากการใช้สิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย จึงเป็นความเสียหายจากการใช้สิทธิ ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียสิทธิหรือทำให้สิทธิของโจทก์ที่กฎหมายรับรองว่ามีอยู่เสียหายไป ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในเหตุละเมิดตามกฎหมายได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดโดยตรง
ส่วนการที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ตามตาราง 6 และตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ.
ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับ ศ. นั้น การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินแก่โจทก์เช่นกัน
ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการบังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลย ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินต้องแจ้งให้เจ้าของทรัพย์สินทราบเพื่อชี้แจงก่อน หากไม่แจ้ง คำสั่งอายัดไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินซึ่งสรุปใจความได้ดังนี้ มาตรา 21 คณะกรรมการหรือเลขาธิการอาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินแทน โดยให้ประกาศเพื่อผู้ซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อคณะกรรมการเพื่อขอรับทรัพย์สินคืนได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่า ทรัพย์สินที่ถูกตรวจสอบไม่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือได้รับโอนทรัพย์สินนั้น มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ ให้คณะกรรมการสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องในคดีที่ต้องหานั้น บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้ซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินต้องมีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินก่อน คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินหรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจึงจะพิจารณามีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินได้ มิฉะนั้นคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินย่อมไม่ชอบ เพราะไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ได้ความจากคำเบิกความของว่าที่ร้อยตรี ป. ซึ่งเป็นพยานจำเลยเพียงปากเดียวว่า ได้มีหนังสือแจ้งคำสั่งอายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 แก่ ว. เพื่อให้มาให้ถ้อยคำและแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว โดยหนังสือดังกล่าวลงวันที่ 25 มิถุนายน 2547 อันเป็นช่วงก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายให้ถือว่า ว. ซึ่งเป็นคนสาบสูญตามคำสั่งศาลถึงแก่ความตาย แต่ว่าที่ร้อยตรี ป. เบิกความตอบคำถามค้านว่า ไม่ได้เป็นผู้ส่งหนังสือดังกล่าวและไม่มีหลักฐานการส่งหนังสือดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า ว. ทราบเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินที่เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 แล้ว ว. จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าว การที่ต่อมาคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีคำสั่งให้อายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 ไว้ทั้งที่ ว. ยังไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินนั้น คำสั่งให้อายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์เป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. ตามคำสั่งศาลแต่ไม่สามารถจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 เพราะคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีคำสั่งให้อายัดที่ดินดังกล่าว อันเป็นคำสั่งที่โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้อายัดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้คำสั่งให้อายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 เป็นคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินไม่ใช่คำสั่งของจำเลย แต่จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทรัพย์สินของ ว. มาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งมีการออกคำสั่งให้อายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้เพิกถอนคำสั่งให้อายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 24302 ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งให้อายัดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันการขอยืมวงเงินตั๋วอาวัล การพิสูจน์เจตนาและภาระหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายเช็ค
ตามหนังสือขอยืมวงเงินตั๋วอาวัล เอกสารหมาย จ.4 บริษัท ส. ขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลจากบริษัท สช. เป็นเงิน 9,518,738 บาท ซึ่งขณะนั้นกรรมการของบริษัท ส. มี 4 คน รวมโจทก์กับจำเลย ซึ่งหากต้องเฉลี่ยรับผิดในความเสียหายแล้วจะตกคนละ 2,379,684.50 บาท แต่ในเอกสารหมาย จ.4 ลงชื่อผู้ให้สัญญาเพียง 3 คน โดยไม่รวมจำเลยอยู่ด้วย ดังนั้น ความรับผิดของผู้ให้สัญญาแต่ละคนจะตกคนละ 3,172,912.67 บาท ซึ่งจำนวนเงินทั้งสองยอดดังกล่าวไม่ตรงกับจำนวนความรับผิดของโจทก์ จำนวน 2,139,184 บาท ตามที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง ซึ่งโจทก์อ้างว่าต้องรับผิดจำนวนดังกล่าวลอย ๆ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงแตกต่างกันเช่นนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าการมอบเช็คให้จำเลยได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นการสั่งจ่ายเพื่อค้ำประกันดังที่โจทก์อ้าง ทั้ง ๆ ที่เช็คมีจำนวนเงินสูงถึง 2,139,184 บาท และเป็นเช็คที่ออกในนามโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันการขอยืมวงเงินตั๋วอาวัลที่มีการชำระเงินแล้วตามฟ้อง จำเลยย่อมเป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าว และนำไปสลักหลังมอบให้บุคคลอื่นได้ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย องค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ได้ยกขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 353 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลบริหารจัดการด้านการบริหาร การเงิน วางแผนการดำเนินการรวมถึงงบประมาณของโจทก์ และรับผิดชอบงานอื่นตามที่โจทก์มอบหมายแล้วจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน ซึ่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองทรัพย์ของผู้ที่มอบหมาย การที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานต่าง ๆ ของโจทก์ตามฟ้องจึงมิใช่การได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 เห็นว่า การกระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำความผิดต่อนิติบุคคลที่บุคคลนั้นต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกันกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้น เป็นการกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย มิใช่การกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์หรือขาดรายได้ ก็มิได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมากไปกว่าเดิมในลักษณะที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน หรือสูญเสียประโยชน์ที่เคยเป็นของโจทก์มาก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่โจทก์ฟ้องว่ากระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาการรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน และความผิดที่ไม่เข้าข้อยกเว้น
ขณะศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยได้รับโทษจำคุก 14 ปี 12 เดือน ตามคดีหมายเลขแดงของศาลอาญา ในความผิดต่อ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และความผิดเกี่ยวกับเอกสาร และได้พ้นโทษในเดือนสิงหาคม 2557 ก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุก ตาม ป.อ. มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่)