คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทักษ์มนูศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 197 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สมรสไม่จดทะเบียนสมรส ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหาย
คู่สมรสที่แต่งงานกันหลังวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งตายไป คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหายเนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
คู่สมรสที่แต่งงานกันหลังวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น ไม่ถือว่า เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งตายไป คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์หลังซ่อมรถให้คืนสภาพเดิม
เจ้าของรถยนต์ที่ถูกรถจำเลยชน ได้เอารถประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับประกันวินาศภัย บริษัทโจทก์ได้เอารถยนต์ที่ถูกรถจำเลยชนเสียหายไปให้อู่ซ่อมเสร็จและมอบรถให้เจ้าของรับไปเรียบร้อยแล้ว บริษัทโจทก์ก็ต้องมีความผูกพันที่จะต้องใช้ราคาค่าซ่อมให้แก่อู่ผู้ทำการซ่อมตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ เช่นนี้ นับว่าบริษัทโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนเงินราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ผู้ทำการซ่อม บริษัทโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าของรถที่ถูกชนซึ่งมีต่อจำเลย บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยบริษัทประกันภัยและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้ทำละเมิด
เจ้าของรถยนต์ที่ถูกรถจำเลยชน ได้เอารถประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับประกันวินาศภัย บริษัทโจทก์ได้เอารถยนต์ที่ถูกรถจำเลยชนเสียหายไปให้อู่ซ่อมเสร็จ และมอบรถให้เจ้าของรับไปเรียบร้อยแล้ว บริษัทโจทก์ก็ต้องมีความผูกพันที่จะต้องใช้ราคาค่าซ่อมให้แก่อู่ผู้ทำการซ่อมตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ เช่นนี้ นับว่าบริษัท โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนเงินราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ผู้ทำการซ่อม บริษัทโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าของรถที่ถูกชนซึ่งมีต่อจำเลย บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรค 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าและสิทธิของผู้เช่าตามพรบ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเช่าเดิมไม่ผูกพันผู้เช่ารายใหม่
โจทก์ให้บุคคลที่ 3 เช่าที่ดินปลูกสร้างอาคารให้เช่าช่วง มีกำหนด 10 ปี โดยมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบ10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์ โดยบุคคลที่ 3 ผู้เช่าที่ดินจะไม่กระทำให้อาคารที่ปลูกสร้างนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไป เมื่อครบ 10 ปี ปรากฏว่าจำเลยเช่าอาคารนี้จากบุคคลที่ 3 นั้นเพื่ออยู่อาศัยมา 7 ปีแล้ว ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ดังนี้โจทก์จะอาศัยสัญญาที่โจทก์ทำกับบุคคลที่ 3 ในข้อที่ว่าเมื่อครบ 10 ปี บุคคลที่ 3 จะไม่กระทำให้อาคารนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไปมาฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ผู้รับโอนอาคารพิพาทจากบุคคลที่ 3 ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่ 3 ซึ่งมีต่อจำเลยนั้นด้วย สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคนนอกสัญญากล่าวในแง่การเช่า จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกได้รับสิทธิให้เช่ามาจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยเช่าแล้วจำเลยได้รับสิทธิเพิ่มเติมโดยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าและการโอนสิทธิสัญญาเช่า: สัญญาเช่าเดิมไม่ผูกพันผู้เช่ารายใหม่ที่ได้รับสิทธิจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
โจทก์ให้บุคคลที่ 3 เช่าที่ดินปลูกสร้างอาคารให้เช่าช่วง มีกำหนด 10 ปี โดยมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์ โดยบุคคลที่ 3 ผู้เช่าที่ดินจะไม่กระทำให้อาคารที่ปลูกสร้างนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไป เมื่อครบ 10 ปี ปรากฏว่า จำเลยเช่าอาคารนี้จากบุคคลที่ 3 นั้นเพื่ออยู่อาศัยมา 7 ปีแล้ว ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ ดังนี้ โจทก์จะอาศัยสัญญาที่โจทก์ทำกับบุคคลที่ 3 ในข้อที่ว่าเมื่อครบ 10 ปี บุคคลที่ 3 จะไม่กระทำให้อาคารนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไปมาขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ผู้รับโอนอาคารพิพาทจากบุคคลที่ 3 ย่อมรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่ 3 ซึ่งมีต่อจำเลยนั้นด้วย สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคนนอกสัญญากล่าวในแง่การเช่า จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกได้รับสิทธิให้เช่ามาจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยเช่าแล้ว จำเลยได้รับสิทธิเพิ่มเติมโดยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีและการยกข้อกฎหมายที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในชั้นศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ ในชั้นศาลชั้นต้น จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยไม่ได้กู้ โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง มิได้ต่อสู้ไว้เลยว่าสัญญากู้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ และเพิ่งจะมายกขึ้นเป็นข้อฎีกาเท่านั้นไม่รับพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีโดยจำเลยที่ยกเหตุผลเรื่องเอกสารไม่สมบูรณ์ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ในชั้นศาลชั้นต้น จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยไม่ได้กู้ โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง มิได้ต่อสู้ไว้เลยว่าสัญญากู้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ และเพิ่งจะมายกขึ้นเป็นข้อฎีกาเท่านั้น ไม่รับพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอแบ่งสินบริคณห์ แม้ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิขอแบ่งสินบริคณห์เพื่อชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินบริคณห์ขอให้แยกสินบริคณห์ซึ่งถูกศาลยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดแยกเป็นส่วนของสามี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หากแต่เป็นการขอแบ่งแยกสินบริคณห์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2503)
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือ การขอให้ได้รับชำระหนี้โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยแล้ว แม้เจ้าหนี้นั้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในชั้นขอเฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการขอแบ่งสินบริคณห์ แม้เคยขอเฉลี่ยทรัพย์แล้ว ไม่ตัดสิทธิในการขอแบ่งสินบริคณห์เพิ่มเติม
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินบริคณห์ ขอให้แยกสินบริคณห์ซึ่งถูกศาลยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดแยกเป็นส่วนของสามี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 288 หากแต่เป็นการขอแบ่งแยกสิบริคณห์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2503)
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือการขอให้ได้รับชำระหนี้ โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์ คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก
of 20