คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 185

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในสินสมรส: การยึดทรัพย์และการปล่อยทรัพย์
ที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ซึ่งจำเลยกับผู้ร้องตกลงถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันสืบไปโดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายรักษาไว้ เช่นนี้ จำเลยยังไม่ขาดสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินนั้น ผู้ร้องจะถือว่าได้สิทธิโดยการครอบครองเกิน 1 ปีหาได้ไม่
โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องจะขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ดังกล่าวนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินหลังหย่า: สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องเมื่อถูกยึดทรัพย์
ที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ซึ่งจำเลยกับผู้ร้องตกลงถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันสืบไปโดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายรักษาไว้ เช่นนี้ จำเลยยังไม่ขาดสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินนั้น ผู้ร้องจะถือว่าได้สิทธิโดยการครอบครองเกิน 1 ปีหาได้ไม่
โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องจะขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ดังกล่าวนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเป็นข้อเท็จจริง, อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปี ไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีที่จะต้องแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ม.164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและการพิสูจน์เจตนาทุจริต
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ป.พ.พ. มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปีไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จะต้องแบ่งตาม ป.พ.พ. ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม.164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งสินสมรส, ผลพินัยกรรม, ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูบุตร และการหักค่าใช้จ่าย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นเรื่องของการขยายเวลาคือถ้าสิทธิเรียกร้องจะขาดอายุความสั้นกว่า 1 ปีก็ให้ขยายออกไป 1 ปี ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องเกินกว่า 1 ปี ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัตินั้น จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับ โดยย่นเวลาให้สั้นเข้ามานั้นหาได้ไม่
โจทก์จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรมร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรมก็มีผลบังคับเฉพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็เฉพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งสินสมรส และผลของพินัยกรรมเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรมก่อน
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 185 เป็นเรื่องของการขยายเวลาคือถ้าสิทธิเรียกร้องจะขาดอายุความสั้นกว่า 1 ปี ก็ให้ขยายออกไป 1 ปี ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องเกินกว่า 1 ปี ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัตินั้น จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับ โดยย่นเวลาให้สั้นเข้านั้นหาได้ไม่
โจทก์,จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 164.แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรม์ร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรม์ก็มีผลบังคับฉะเพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็ฉะเพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้.