คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1465

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5438/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกคบกัน แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และการสละประเด็นข้อพิพาทในชั้นศาล
โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้ตามกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก็ตาม แต่ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่ โจทก์กับจำเลยอยู่กินและมีบุตรด้วยกัน 4 คน โจทก์เป็นแม่บ้านมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ส่วนจำเลยเป็นผู้ทำมาค้าขายแล้วออกเงินซื้อที่ดินและบ้านพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยกันตลอดมา พฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์กับจำเลยเลิกร้างกันได้ตกลงแบ่งที่ดินและบ้านพิพาท และโจทก์ได้รับส่วนแบ่งเป็นเงิน 400,000 บาทไปจากจำเลยแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานไม่ได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อดังกล่าวขึ้นฎีกา ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้หย่าขาด ไม่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น กรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 และไม่อาจจัดการใด ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สินสมรส เพราะไม่มีทรัพย์สินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่โจทก์ได้สินสมรสมา การกระทำของจำเลยเป็นการถ่วงความเจริญงอกงามที่จะเกิดแก่สินสมรสของโจทก์จำเลยนั้น เป็นการฎีกาอ้างข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องของโจทก์เอง เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 แต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำกัดสิทธิทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเป็นโมฆะหรือไม่ และทรัพย์สินที่จำกัดสิทธิถือเป็นมรดกหรือไม่
ศ. กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ. จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้องสร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้ เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตาม มาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้
ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่าง ศ. กับจำเลย ระบุว่า ศ. จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ. ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ. ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำกัดสิทธิในทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส: การสละสิทธิและผลกระทบต่อมรดก
ศ.กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ.จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้อง สร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามมาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่างศ.กับจำเลยระบุว่าศ.จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ.ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ.ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำก่อนสมรสมีผลผูกพันได้หากไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม แม้จะทำหลังจดทะเบียนสมรส
ก่อนจดทะเบียนสมรสโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า 'ฝ่ายภรรยาจะไม่ประพฤติตัวให้ผิดจารีตประเพณีและให้อยู่กินปรนนิบัติในฐานะให้เป็นสามีภรรยาอยู่กินร่วมกันตลอดไปและจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกใจสามีอีกต่อไป เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้กระทำผิดพลาดเงื่อนไขดังกล่าวยินยอมให้ปรับเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท' สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งมีลักษณะเป็นทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติของภรรยาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(8) ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าภรรยาได้ หากผิดทัณฑ์บนที่ทำกันเป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ และไม่เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพในส่วนบุคคล ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายใด ๆ อีกทั้งมิได้เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสก็ได้ยอมรับสัญญาฉบับนี้ให้มีผลผูกพันบังคับระหว่างกันได้ สัญญาฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำก่อนสมรสที่มีลักษณะเป็นทัณฑ์บนความประพฤติภรรยา มีผลผูกพันหลังจดทะเบียนสมรสได้
ก่อนจดทะเบียนสมรสโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า "ฝ่ายภรรยาจะไม่ประพฤติตัวให้ผิดจารีตประเพณีและให้อยู่กินปรนนิบัติในฐานะให้เป็นสามีภรรยาอยู่กินร่วมกันตลอดไปและจะไม่ประพฤติปฏิบัตินอกใจสามีอีกต่อไป เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้กระทำผิดพลาดเงื่อนไขดังกล่าวยินยอมให้ปรับเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท" สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งมีลักษณะเป็นทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติของภรรยาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(8) ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าภรรยาได้ หากผิดทัณฑ์บนที่ทำกันเป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ และไม่เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพในส่วนบุคคล ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายใด ๆ อีกทั้งมิได้เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสก็ได้ยอมรับสัญญาฉบับนี้ให้มีผลผูกพันบังคับระหว่างกันได้สัญญาฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเจตนายินยอม
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดินต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายดังนี้หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินสินสมรสโดยไม่มีค่าตอบแทนและการยินยอมของคู่สมรสในคดีล้มละลาย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดิน ต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ดังนี้ หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน และเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้ มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้จากการโอนเพื่อระงับข้อพิพาท ถือเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส
ในระหว่างสมรสของโจทก์จำเลย จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 4084และ 4198 โดย ผ. ยกให้โดยเสน่หาระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัวกับได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 โดย ผ. ทำพินัยกรรมยกให้และระบุให้เป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน ต่อมา ล. อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ ผ. แต่เป็นของภรรยาซึ่งเป็นบุตรของ น. และฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งกับแจ้งความกล่าวหาจำเลยทางอาญาหลายคดี ในที่สุด ล. กับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาตามยอมมีใจความสำคัญว่า ให้จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 1176 และให้ ล. ได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 ส่วนที่ดินโฉนดที่ 4198 และ 4084 นั้น จำเลยตกลงโอนให้ ล. โดย ล. ต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้ 3,100,000 บาท ดังนี้ต้องถือว่าที่ดินโฉนดที่ 4084 และ 4198 กับโฉนดที่ 5191 เดิมเป็นที่ดินที่จำเลยได้รับมาเป็นสินส่วนตัว แม้จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ล. ดังกล่าว ก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับ ล. ในคดีนั้นซึ่งมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทเป็นของ ผ. และ ย. มีอำนาจยกให้จำเลยหรือไม่เท่านั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรัพย์ยังต้องถือว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่นั่นเอง และเมื่อจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวทั้งสามแปลงนั้นให้แก่ ล. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้จำเลยได้มาซึ่งที่ดินโฉนดที่ 1176 กับมีสิทธิได้เงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ก็ต้องถือว่าที่ดินและเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้ามาแทนที่ที่ดินทั้งสามแปลง อันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการขายหรือแลกเปลี่ยนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(1) ดังนั้น ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลย หาใช่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแยกกันอยู่, และการโอนทรัพย์สินโดยเสน่หา
ที่ดินซึ่งภริยาก่อนบรรพ 5 มีอยู่ก่อนสมรสและอาจนำมาใช้ประโยชน์ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอามาระคนปนกับสินเดิมของสามีก็ถือเป็นสินเดิมของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
of 2