พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์สำคัญกว่าการกระทำ: ถอนเสารั้วเพื่อใช้ทางเดิม ไม่ถือเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา358 นั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย จึงจะเป็นผิด
เพราะฉะนั้น การที่จำเลยเพียงแต่ถอนเสารั้วของโจทก์แล้วเอาไปกองไว้ เพื่อใช้ทางเดินตามที่เคยใช้เท่านั้น มิได้มีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายอย่างใด จึงยังไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2507)
หมายเหตุ เคยมีฎีกาที่ 1111/2504 ว่าไม่จำเป็นต้องทำโดยแกล้งหรือทำให้เสียหายถึงขนาด ก็ผิด
เพราะฉะนั้น การที่จำเลยเพียงแต่ถอนเสารั้วของโจทก์แล้วเอาไปกองไว้ เพื่อใช้ทางเดินตามที่เคยใช้เท่านั้น มิได้มีเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายอย่างใด จึงยังไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2507)
หมายเหตุ เคยมีฎีกาที่ 1111/2504 ว่าไม่จำเป็นต้องทำโดยแกล้งหรือทำให้เสียหายถึงขนาด ก็ผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิบัติในการฟ้องคดีอาญา: จำนวนเงินของกลางต่างจากที่ฟ้อง ไม่ถึงเหตุยกฟ้อง
ข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง โดยโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเล่นการพนันไพ่ผสมสิบ ไม่ได้รับอนุญาตจับได้เงินของกลาง 21 บาท แต่บันทึกการจับกุมของพยานโจทก์ปรากฏว่าจับได้เงินเพียง 20 บาท เห็นว่า เป็นแต่เพียงปรากฏว่าจำนวนเงินของกลางตามฟ้องกับตามบันทึกการจับกุมต่างกันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้ความว่าจำนวนเงินตามคำฟ้องไม่ใช่ความจริง ถึงหากความจริงเป็นดังบันทึกการจับกุม ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ผิดเพี้ยนกับคำฟ้องเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นเหตุสำคัญที่จะยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายเล็กน้อยไม่ถึงขั้นอันตราย ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
เตะและถีบผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายถึงถลอกและช้ำ ต้องรักษาประมาณ 2 วันจึงจะหาย ดังนี้ถือว่ายังไม่ถึงขั้นเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหาย คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินมือเปล่าและการละเมิดสิทธิในที่ดิน การพิสูจน์การครอบครองและอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองที่ดินมือเปล่าไว้แปลงหนึ่งสำหรับทำนาและบำรุงต้นไม้ไว้เผาถ่าน ได้ทำประโยชน์ในที่ดินนี้ตลอดมาจนทุกวันนี้ จำเลยได้บุกรุกเข้าตัดฟันต้นไม้ในที่ดินของโจทก์เพื่อทำฟืนหรือเผาถ่าน ขอให้ใช้ค่าเสียหายและห้ามเข้าเกี่ยวข้อง แล้วโจทก์แถลงรับสมดังคำให้การของจำเลยว่า เมื่อ 5-6 ปีมานี้จำเลยเข้าไปตัดฟันไม้ในที่พิพาทนี้ ฝ่ายโจทก์ไปแจ้งความ จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยแล้วเรื่องก็เงียบไป คำแถลงของโจทก์ดังนี้ ไม่เป็นการตัดคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองมาในระหว่าง 5-6 ปีมานี้ ต้องสืบพยานกันในข้อนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองปรปักษ์ และการฟ้องเรียกคืนการครอบครอง
ผู้ที่มิใช่เจ้าของที่ดิน ทำหนังสือสัญญาโอนขายที่ดินมือเปล่าที่อำเภอ แม้ผู้ซื้อจะได้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299,1300
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ดูแลจัดให้คนเช่าจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่2 โดยทำสัญญาซื้อขายกันที่อำเภอ จำเลยที่ 2 รับโอนไว้โดยสุจริต ดังนี้ แม้จะได้ความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่พิพาทนั้นมาเกินกว่า 1 ปีแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงได้สิทธิไปเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ คือ มีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 2 แย่งการครอบครองจากโจทก์ยังไม่ได้ จนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ดูแลจัดให้คนเช่าจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่2 โดยทำสัญญาซื้อขายกันที่อำเภอ จำเลยที่ 2 รับโอนไว้โดยสุจริต ดังนี้ แม้จะได้ความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่พิพาทนั้นมาเกินกว่า 1 ปีแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงได้สิทธิไปเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ คือ มีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 2 แย่งการครอบครองจากโจทก์ยังไม่ได้ จนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายผิดทั้งฉบับขัดต่อหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการตีความข้อยกเว้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน"ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่างๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา ฉะนั้น จึงนำพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาใช้บังคับลงโทษจำเลยซึ่งเป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสี่ แต่เป็นการอ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามมาตรา 192 วรรคต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสี่ แต่เป็นการอ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามมาตรา 192 วรรคต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งรายละเอียดทรัพย์สินที่เสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ถือเป็นเงื่อนไขหลุดพ้นความรับผิด และการหักค่าซาก
คำให้การจำเลยว่า โจทก์ได้นำทรัพย์สินที่ประกันภัยไว้ไปประกันกับบริษัทอื่นโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบ ประเด็นในคดีจึงมีแต่เพียงว่าฝ่ายโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงว่าการทราบนี้จะได้มีการบันทึกหรือสลักหลังในกรมธรรม์หรือไม่
เงื่อนไขในกรมธรรม์ข้อ 10 ให้โจทก์แจ้งรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่เสียหายให้จำเลยทราบ เมื่อในกรมธรรม์ไม่มีข้อความต่อไปว่า ถ้าโจทก์ไม่แจ้ง ผู้ประกันภัยย่อมหลุดพ้นความรับผิด ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 10 นี้ จำเลยหาหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาไม่
ซากเพลิงไหม้ที่ยังเหลืออยู่ควรคิดหักให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยทุกบริษัทตามส่วนเฉลี่ยแห่งเงินที่เอาประกันภัย จึงจะชอบด้วยความยุติธรรม
เงื่อนไขในกรมธรรม์ข้อ 10 ให้โจทก์แจ้งรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่เสียหายให้จำเลยทราบ เมื่อในกรมธรรม์ไม่มีข้อความต่อไปว่า ถ้าโจทก์ไม่แจ้ง ผู้ประกันภัยย่อมหลุดพ้นความรับผิด ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 10 นี้ จำเลยหาหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาไม่
ซากเพลิงไหม้ที่ยังเหลืออยู่ควรคิดหักให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยทุกบริษัทตามส่วนเฉลี่ยแห่งเงินที่เอาประกันภัย จึงจะชอบด้วยความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ตราชื่อหรือเครื่องหมายการค้าปลอมเพื่อหลอกลวงประชาชน แม้สินค้าเป็นของแท้ก็ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
คำฟ้องที่บรรยายว่า จำเลยนำสุราแม่โขงซึ่งทำตราชื่อรูปรอยประดิษฐ์ ของผู้มีชื่อปลอมปิดที่ขวดสุราแม่โขงออกจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสุราแม่โขงของผู้มีชื่อนั้น มีข้อความเข้าใจได้แล้วว่าเท่ากับบรรยายว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่า ตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์นั้นเป็นตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ปลอมไม่ขาดองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275,272
เอาตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ของผู้มีชื่อซึ่งปลอมปิดลงไปบนสินค้า(ที่แท้จริง) เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่มาจากร้านค้าของผู้เป็นเจ้าของตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ แม้เจ้าของตราชื่อ รูปรอยประดิษฐ์ จะไม่ใช่ผู้ผลิตสินค้านั้น เพียงแต่เป็นผู้รับมาจำหน่าย ผู้เอาตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ปลอมมาใช้ดังกล่าวก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272(1)
เอาตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ของผู้มีชื่อซึ่งปลอมปิดลงไปบนสินค้า(ที่แท้จริง) เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่มาจากร้านค้าของผู้เป็นเจ้าของตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ แม้เจ้าของตราชื่อ รูปรอยประดิษฐ์ จะไม่ใช่ผู้ผลิตสินค้านั้น เพียงแต่เป็นผู้รับมาจำหน่าย ผู้เอาตราชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ปลอมมาใช้ดังกล่าวก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยินยอมขายฝากและการกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยขายฝากเรือนพิพาท แต่เอกสารยินยอมอนุญาตให้ขายฝากมิได้ระบุถึงกำหนดระยะเวลาแห่งการขายฝากไว้จำเลยไปทำหนังสือสัญญาขายฝากมีกำหนด 1 ปีจึงมิใช่เป็นการกระทำเกินขอบเขตหนังสือยินยอมอนุญาตและการกำหนดระยะเวลาขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 495 ก็อนุญาตให้คู่กรณีตกลงกันได้เป็นแต่ไม่ให้กำหนดระยะเวลาเกินสิบปีหรือสามปีตามประเภทของทรัพย์เท่านั้น ฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาขายฝากในกรณีนี้จึงไม่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 798 ประมวลกฎหมายแพ่งฯ กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน-ตัวการ และบุคคลภายนอก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หมายความถึงกิจการที่ตัวแทนจะไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ ถ้ามีกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนไปทำกิจการนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย มิฉะนั้นกิจการที่ตัวแทนกระทำกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์ แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ในกรณีที่ตัวการเรียกร้องเอาประโยชน์จากตัวแทนที่ได้รับไว้แทนตัวการจากบุคคลภายนอกนั้น ตัวแทนจะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้