คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เจน เวชศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุม & ผลของมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
คดีล้มละลาย หนี้จำพวกที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้วก่อนวันประชุมเจ้าหนี้นั้น เจ้าหนี้ย่อมมสิทธิออกเสียงในที่ประชุมได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่มาประชุมคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ต้องสั่งบั่นทอนในการออกเสียงของเจ้าหนี้นั้น และถือว่าเป็นการออกเสียงที่มีผลตามกฎหมาย เมื่อจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ฝ่ายที่ลงมติฝ่ายนี้มีมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องถือว่ามติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากนี้เป็นมติของที่ประชุมด้วย
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสทิธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และสิทธิของคู่สัญญาในการบังคับตามสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
สามีภริยาที่สมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เมื่อได้ตกลงหย่ากันโดยทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ย่อมเป็นการหย่าที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ได้ทำสัญญาหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ในสัญญานั้นได้ตกลงยกที่นาและบ้านให้แก่บุตรซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อยู่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตร โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเรียกเอาทรัพย์สินที่ตกลงกันยกให้บุตรนั้นมาเป็นของตนเอง ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องในนามของจำเลย ให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่บุตรตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิของคู่สัญญาในการบังคับตามสัญญา
สามีภริยาที่สมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เมื่อได้ตกลงหย่ากันโดยทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ย่อมเป็นการหย่าที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ได้ทำสัญญาหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ในสัญญานั้นได้ตกลงยกที่นาและบ้านให้แก่บุตรซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อยู่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตร โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเรียกเอาทรัพย์สินที่ตกลงกันยกให้บุตรนั้นมาเป็นของตนเอง ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องในนามของจำเลย ให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่บุตรตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว: การปฏิบัติตามกฎหมายที่ดินเป็นสำคัญ แม้กฎหมายจะเปลี่ยนแปลง
ตามพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินได้ ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่กฎหมายระบุไว้ และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อมิได้ปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ย่อมไม่ได้ที่ดินหรือไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน แม้พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ. 2486 จะถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ตามประมวลกฎหมายที่ดินก็บัญญัติถึงการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวจึงไม่ทำให้คนต่างด้าวที่มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายมีสิทธิในที่ดิน
โจทก์เป็นคนต่างด้าวมิได้ปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งที่พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาท และไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว: การปฏิบัติตามกฎหมายที่ดินเป็นสำคัญ
ตามพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินได้ ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่กฎหมายระบุไว้ และต้องได้รับอนุญาติจากเจ้าพนักงาน เมื่อมิได้ปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ย่อมไม่ได้ที่ดินหรือไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน แม้พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 จะถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายที่ดินแต่ตามประมวลกฎหมายที่ดินก็บัญญัติถึงการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว จึงไม่ทำให้คนต่างด้าวที่มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายมีสิทธิในที่ดิน
โจทก์เป็นคนต่างด้าวมิได้ปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งที่พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาท และไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค และการร่วมกระทำผิด
ฟ้องที่มิได้กล่าวหาว่า จำเลยร่วมกระทำความผิดด้วย จึงลงโทษไม่ได้
จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้จำเลยที่ 2 ไปยืมเงินโจทก์ร่วมจำเลยที่ 2 ก็ได้ยืมเงินและมอบเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ แม้โจทก์ร่วมรับเช็คไว้โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินในบัญชีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นเป็นใจกระทำผิดกับจำเลยอันจะถือว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินยังไม่เกิดจนกว่าจะขอรับเงิน และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นอกจากนี้โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 2 ตกลงกันขณะออกเช็คว่า จะบังคับการจ่ายเงินต่อเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันออกเช็คจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินจนกว่าจะพ้น 1 เดือน แต่เมื่อพ้น 1 เดือน จำเลยที่ 1 มิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระเงินตามเช็ค และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าปิดบัญชีจำเลยที่ 1 แล้ว จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยในขณะออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี การร่วมรู้เห็นเป็นใจของผู้รับเช็ค และการบังคับใช้เช็คตามข้อตกลง
ฟ้องที่มิได้กล่าวหาว่า จำเลยร่วมกระทำความผิดด้วย จึงลงโทษไม่ได้
จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้จำเลยที่ 2 ก็ได้ยืมเงินและมอบเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ แม้โจทก์ร่วมรับเช็คไว้โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินในบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นเป็นใจกระทำผิดกับจำเลยอันจะถือว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินยังไม่เกิดจนกว่าจะขอรับเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นอกจากนี้โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 2 ตกลงกันขณะออกเช็คว่า จะบังคับการจ่ายเงินต่อเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินจนกว่าจะพ้น 1 เดือน แต่เมื่อพ้น 1 เดือน จำเลยที่ 1 มิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระเงินตามเช็คและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าปิดบัญชีจำเลยที่ 1 แล้ว จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยในขณะออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินเกินความจำเป็น ผู้ผิดพลาดต้องดำเนินการคัดค้านตั้งแต่แรก
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 34,000 บาทเศษ และดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีในเงินต้น 30,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเลย เจ้าพนักงานจึงต้องยึดที่ทั้งแปลงราคาประมาณ 100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยจะได้ผ่อนชำระหนี้ไปถึง 35,000 บาท หากจำเลยเห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดสวนยางของจำเลยทั้งแปลงมากเกินความจำเป็น ก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานแบ่งยึดแต่พอควร หากจำเลยเห็นควรแบ่งขายให้พอดีกับหนี้สินที่ค้าง จำเลยก็น่าจะได้แถลงให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ในวันขายจำเลยได้มอบให้ทนายความมาระวังผลประโยชน์ของจำเลย ทนายความมิได้ทักท้วงในเรื่องนี้ แสดงว่าทนายจำเลยก็เห็นชอบด้วย จะยกเป็นเหตุคัดค้านเมื่อขายทอดตลาดสำเร็จแล้วย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดทรัพย์: การยึดทรัพย์ทั้งแปลงเพื่อชำระหนี้เป็นไปตามกฎหมาย หากจำเลยไม่คัดค้านหรือเพิกเฉย
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 34,000 บาทเศษ และดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินต้น 30,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเลย เจ้าพนักงานจึงต้องยึดที่ทั้งแปลงราคาประมาณ 100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยจะได้ผ่อนชำระหนี้ไปถึง 35,000 บาท หากจำเลยเห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดสวนยางของจำเลยทั้งแปลงมากเกินความจำเป็น ก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานแบ่งยึดแต่พอควร หากจำเลยเห็นควรแบ่งขายให้พอดีกับหนี้สินที่ค้าง จำเลยก็น่าจะได้แถลงให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ในวันขาย จำเลยได้มองให้ทนายความมาระวังผลประโยชน์ของจำเลย ทนายความมิได้ทักท้วงในเรื่องนี้ แสดงว่าทนายจำเลยก็เห็นชอบด้วย จะยกเป็นเหตุคัดค้านเมื่อขายทอดตลาดสำเร็จแล้วย่อมไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่: การระบุสภาพแห่งข้อหาในฟ้องเพียงพอแล้ว ศาลไม่รับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์เรื่องเคหะ
โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องแล้วว่า จำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้า เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว ส่วนห้องพิพาทอยู่ในทำเลการค้าและจำเลยได้ประกอบการค้าอะไร มีสภาพอย่างใดนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า ห้องพิพาทเป็นเคหะตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ ซึ่งศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง อุทธรณ์ข้อนี้ก็เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง เป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมาวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทะรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
of 43