คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประเสริฐ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็ค: แม้ไม่มีหลักฐานสัญญากู้ยืม โจทก์ฟ้องตามเช็คก็สามารถบังคับคดีได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค เมื่อจำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทดังกล่าวจริง ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืม และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์ผู้ให้กู้ เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์นั้นเพื่อชำระหนี้เงินยืม ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่เห็นสมควร เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยเพื่อชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทภายหลังถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายกระทำการโดยสุจริต จดวันที่สั่งจ่ายที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง กรณีหาเป็นการปลอมเช็คดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย หาได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมไม่ การวินิจฉัยความรับผิดของจำเลย จึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. เรื่อง ตั๋วเงิน โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองปรปักษ์ในที่งอก: ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิคัดค้านได้แม้ไม่ได้คัดค้านในชั้นศาล
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่งอกของที่ดินโฉนดเลขที่ 6594 ซึ่งมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่า ที่งอกของที่ดินโฉนดเลขที่ 6594 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ หากผู้คัดค้านไม่สามารถยื่นฎีกาได้และคดีถึงที่สุด ผู้ร้องก็สามารถนำคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ผู้ร้อง ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนไต่สวนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่ผู้คัดค้านแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งหรือคำพิพากษา ต้องถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดี จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่แสดงกรรมสิทธิ์ในที่งอกไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) การที่ผู้คัดค้านยื่นฎีกาดังกล่าวพอแปลได้ว่าผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องขอและคำคัดค้านเพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิจำนองกับการบังคับคดี: การกันเงินจากการขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนอง แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติให้มาตราดังกล่าวอยู่ภายใต้แห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 มีความหมายว่า หากบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ นั้น เป็นสิทธิประเภทที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามมาตรา 288 หรือบังคับให้ชำระหนี้ตามมาตรา 289 ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่แม้มิได้ใช้สิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนตามบทบัญญัติดังกล่าว การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ย่อมไม่ถูกกระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ดังกล่าวอยู่นั่นเอง ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึด หนี้ตามสัญญาจำนองยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้กันเงินจากการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองไว้ให้แก่ผู้ร้องด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อหาตามคำร้องขอดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 หาใช่เป็นการร้องขอรับชำระหนี้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ แม้ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง หนี้จำนองที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระแก่ผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระอันจะขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ก็ตาม แต่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิอื่น ๆ ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึดได้ใช้สิทธิตามมาตรา 287 และขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันเงินจากการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ตาม ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14808/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีระหว่างผู้ล้มละลายและการจัดการทรัพย์สิน: การแยกส่วนคดีขับไล่และค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ที่มีคำขอให้ขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่จะต่อสู้คดีได้โดยลำพัง แต่ในส่วนคำฟ้องที่มีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีแทนจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องไม่ขอเข้าดำเนินคดี โดยเห็นว่าค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องห้ามมิให้รับชำระหนี้ตามมาตรา 24 เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าไม่ติดใจคัดค้าน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะส่วนฟ้องขับไล่ และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีได้ โดยมิได้สั่งงดพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยอุทธรณ์ได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ส่วนที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14808/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบการล้มละลายต่อการดำเนินคดีเช่าและการเรียกร้องค่าเสียหาย: อำนาจฟ้องและสิทธิอุทธรณ์
โจทก์เป็นผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าให้ออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา จำเลยเช่าทรัพย์พิพาทได้เพียง 5 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อปรากฏแหล่งที่มา ศูนย์วิชาการงานคดี ศาลฎีกาว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอำนาจในการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) คำฟ้องในส่วนที่โจทก์มีคำขอให้ขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์เอง เป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่จะต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้โดยลำพัง แต่ตามคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่มีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายมาด้วยนั้น เป็นคดีที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีตามคำขอส่วนนี้แทนจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่ขอเข้าดำเนินคดีโดยเห็นว่าส่วนในเรื่องค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้านการที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยด้วยตนเองได้ โดยไม่ได้สั่งงดการพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหายแต่อย่างไร ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลยเท่านั้น ส่วนที่พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13173/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นผู้อื่นด้วยคำพูดดูถูกเหยียดหยาม ถ้อยคำ 'ผู้หญิงชั่ว' ถือเป็นการดูหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทหรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าวดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวหรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อพิเคราะห์ถึงถ้อยคำที่จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "ก็ผู้หญิงชั่ว" และมองไปที่ผู้เสียหายนั้น ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า "ชั่ว" ว่า เลว ทราม ร้าย ไม่ดี ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหาย จึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่า เป็นผู้หญิงเลว ผู้หญิงทราม ผู้หญิงร้าย ผู้หญิงไม่ดีจึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง/โอนที่ดินโดยผู้จัดการทรัพย์สิน: การยินยอมถูกต้องทำให้สัญญาใช้ได้ เหตุฉ้อฉล/ทุจริตไม่ปรากฏ
ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้
...ฯลฯ...
(4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
...ฯลฯ...
จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้เอง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์แต่ประการใด โดยจัดว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเฉพาะการทำนิติกรรมต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะมีความสามารถทำได้ ส่วนมาตรา 34 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในวรรคสามนี้ หมายถึงกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน (1) ถึง (11) หรือวรรคสองด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ได้ทำนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นนิติกรรมดังได้ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 (4) โดยได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้พิทักษ์แล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่งแล้ว นิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11188/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนซื้อขายที่ดิน: ผลของการซื้อขายโดยผู้ประมูลได้และการเพิกถอนนิติกรรม
การที่บุคคลหนึ่งเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนอันตนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าเป็นตัวแทนของตนตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 821 นั้น นอกจากจะมีการแสดงออกว่าเป็นตัวแทนของบุคคลใดแล้ว บุคคลภายนอกที่รับติดต่อกิจการด้วยจะต้องรับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของบุคคลนั้นที่มีการแสดงออกว่าเป็นตัวการด้วย ผู้ที่มีการแสดงออกว่าเป็นตัวการ จึงจะต้องรับผิดชอบเสมือนเป็นตัวการ ถ้าหากบุคคลภายนอกที่รับติดต่อกิจการด้วย มิได้รับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของบุคคลอื่น แต่ยอมติดต่อโดยเชื่อถือผู้ที่มาติดต่อด้วยอย่างผู้มาติดต่อเป็นเจ้าของกิจการนั้นเองแล้ว ก็ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีที่บุคคลคนหนึ่งเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งเป็นตัวแทน หรือรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองเป็นผู้แทนตน อันตนจะต้องพลอยรับผิดชอบเสมือนเป็นตัวการไปด้วย และต้องถือเป็นกรณีที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นติดต่อกับบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวเอง ไม่มีการพาดพิงไปถึงบุคคลใดให้ต้องรับผิดชอบด้วย ข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์เป็นการที่จำเลยร่วมที่ 1 บังคับให้จำเลยแสดงออกแก่โจทก์ทำให้โจทก์เชื่อว่าการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นการกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 เอง จึงเป็นการที่จำเลยร่วมที่ 1 เชิดจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยร่วมที่ 1 จะยกเหตุการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมที่ 1 เพื่อจำเลยจะได้มีเงินมาชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 ตามเงื่อนไขสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นหรือตัดสินใจในการกำหนดราคาซื้อขายหรือเข้าถือเอาประโยชน์จากการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเอง มาเป็นเหตุอ้างปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายเพราะการนี้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ทราบว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วมที่ 2 นั้น จำเลยร่วมที่ 2 ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่จะต้องรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบอยู่ก่อนรับโอนที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้เสียหายและผู้ก่อเหตุเป็นสำคัญในการนับอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด กรณีจึงต้องนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดประการหนึ่ง และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกประการหนึ่งประกอบกันเป็นวันใด และพ้นหนึ่งปีนับแต่วันดังกล่าว คดีจึงจะขาดอายุความ แม้ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้ยื่นฟ้องกรมทางหลวงชนบทเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้รับผิดในเหตุละเมิด โดยเข้าใจว่ากรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทางหลวงที่เกิดเหตุ ต่อมากรมทางหลวงชนบทยื่นคำให้การในคดีดังกล่าว โจทก์ได้รับสำเนาคำให้การวันที่ 1 กันยายน 2551 ทำนองว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 1 กันยายน 2551 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยเข้ารับช่วงสิทธิของพันตำรวจโท บ. ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์จึงมีเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยตามที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่าเหตุเกิดวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 โดยไม่ได้นำสืบว่าพันตำรวจโท บ. ไม่รู้ตัวผู้พึงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าพันตำรวจโท บ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2550 เพราะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจทางหลวงย่อมรู้ว่าถนนที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลของจำเลยอายุความละเมิดจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากพันตำรวจโท บ. จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าวด้วย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10282/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง, พรากเด็ก, และการชดใช้ค่าเสียหายทางจิตใจ
คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแลโดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนี้ การพรากเด็กไม่ว่าผู้พรากเด็กจะเป็นฝ่ายชักชวนโดยมีเจตนามุ่งหมายที่จะกระทำชำเราเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมอยู่ที่บ้าน จ. ซึ่งเป็นปู่ โดยโจทก์ร่วมได้ไปเยี่ยมปู่และย่าที่บ้านพักและพักอาศัยอยู่ที่นั่น โดยผู้เสียหายที่ 2 ได้ส่งโจทก์ร่วมไปที่บ้าน จ. เพื่อให้มาดูแลเนื่องจาก จ. ป่วย จึงถือได้ว่า จ. อยู่ในฐานะผู้ดูแลโจทก์ร่วม โดยได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายที่ 2 ฉะนั้น การที่จำเลยโทรศัพท์ชวนโจทก์ร่วมไปทำงานแล้วขับรถเก๋งมารับโจทก์ร่วมไปและต่อมาก็ได้กระทำชำเราโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรบกวนและก้าวล่วงอำนาจผู้ดูแลของ จ. ที่มีต่อโจทก์ร่วม โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจาก ส. ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นอา ผู้ปกครองดูแลของโจทก์ร่วม โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจาก จ. ผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าวด้วย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง อีกทั้งการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ด้วย โดยความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้ดูแลโจทก์ร่วมเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน ตามมาตรา 277 วรรคแรก และความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาโจทก์ร่วมไปกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90
of 5