พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขบวนการหลอกลวงส่งไปค้าประเวณีต่างประเทศ: การกระทำผิดกรรมเดียวและความชอบด้วยกฎหมายในการสอบสวน
จำเลยทั้งสองใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสองว่า สามารถติดต่อส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือต่อได้ เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วมีคนมารับโจทก์ร่วมทั้งสองไปควบคุมตัวไม่ให้หลบหนี เพื่อให้โจทก์ร่วมทั้งสองทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่แท้จริงในการจัดส่งโจทก์ร่วมทั้งสองออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นประการเดียวการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ.เป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการสอบสวนจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไปเพื่อการอนาจารโจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหลอกลวงว่าจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยทั้งสองมิได้เจตนาจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานและเรียนหนังสือ หากแต่มีเจตนาจะส่งไปเพื่อทำการค้าประเวณี โจทก์ร่วมทั้งสองหลงเชื่อจึงสมัครไปทำงานแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีได้ร่วมกันส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปประเทศ-ญี่ปุ่น ให้พวกของจำเลยทั้งสองนำไปขายให้แก่ร้านมีชื่อแห่งหนึ่งเพื่อทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น คำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองฎีกานอกจากที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ.เป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการสอบสวนจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไปเพื่อการอนาจารโจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหลอกลวงว่าจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยทั้งสองมิได้เจตนาจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานและเรียนหนังสือ หากแต่มีเจตนาจะส่งไปเพื่อทำการค้าประเวณี โจทก์ร่วมทั้งสองหลงเชื่อจึงสมัครไปทำงานแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีได้ร่วมกันส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปประเทศ-ญี่ปุ่น ให้พวกของจำเลยทั้งสองนำไปขายให้แก่ร้านมีชื่อแห่งหนึ่งเพื่อทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น คำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองฎีกานอกจากที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058-2076/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่ใช่ส่วนราชการ การจ่ายเงินรางวัลข้าราชการชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 7 การแบ่งส่วนราชการของกรมจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไม่ปรากฏว่าได้เคยมีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองโจทก์ให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการของกรมโจทก์มาก่อน คงมีแต่คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบอาคารโรงพิมพ์ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์การพิมพ์ทั้งสิ้นแก่โจทก์ และสั่งให้จัดแบ่งส่วนราชการให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการสังกัดกรมโจทก์เท่านั้น การดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น เงินที่ใช้ในการหมุนเวียนได้มาจากการกู้และการลงหุ้นของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เคยเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ ทั้งไม่เคยมีการตั้งงบประมาณแผ่นดินไว้ดำเนินกิจการของโรงพิมพ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นส่วนราชการของกรมโจทก์ดังนั้นเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นย่อมมิใช่รายได้อันจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินในนามของกรมโจทก์ ผลกำไรดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นกำไรสุทธิประจำแต่ละปีหรือกำไรที่สะสมไว้ล้วนเป็นผลอันได้มาจากการประกอบกิจการของโรงพิมพ์ซึ่งอาจเป็นเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นมิใช่ดอกผลธรรมดาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากแม่ทรัพย์เพราะเหตุที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้น ทั้งมิใช่ดอกผลนิตินัยเพราะหาใช่ทรัพย์ที่ได้เป็นครั้งคราวจากผู้อื่นเพื่อตอบแทนการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้นไม่ ผลกำไรดังกล่าวจึงมิใช่ดอกผลตกได้แก่กรมโจทก์ แต่ย่อมจะตกแก่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการนั้น
ในการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ขึ้น 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทั่วไปในกิจการของโรงพิมพ์ กำหนดนโยบายออกกฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งในการดำเนินงานกับคณะกรรมการดำเนินงาน มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย กฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดและวางไว้ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการทั้งสองคณะส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่แต่งตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมโจทก์ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน และช่วยปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น โรงพิมพ์ดังกล่าวดำเนินการค้าหากำไรเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นที่ได้มาจากการดำเนินกิจการไม่เคยมีการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการที่ช่วยปฏิบัติงาน ซึ่งจำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินดังกล่าวไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินแก่จำเลยก็ได้จ่ายตามระเบียบที่วางไว้เช่นกันดังนี้การที่คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ ได้ลงมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบที่กรมโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ การกระทำของคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินไปจากโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงานย่อมมิใช่รับไปโดยไม่มีสิทธิและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงจะฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์หาได้ไม่
ในการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ขึ้น 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทั่วไปในกิจการของโรงพิมพ์ กำหนดนโยบายออกกฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งในการดำเนินงานกับคณะกรรมการดำเนินงาน มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย กฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดและวางไว้ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการทั้งสองคณะส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่แต่งตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมโจทก์ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน และช่วยปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น โรงพิมพ์ดังกล่าวดำเนินการค้าหากำไรเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นที่ได้มาจากการดำเนินกิจการไม่เคยมีการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการที่ช่วยปฏิบัติงาน ซึ่งจำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินดังกล่าวไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินแก่จำเลยก็ได้จ่ายตามระเบียบที่วางไว้เช่นกันดังนี้การที่คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ ได้ลงมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบที่กรมโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ การกระทำของคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินไปจากโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงานย่อมมิใช่รับไปโดยไม่มีสิทธิและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงจะฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ทำโดยปลัดอำเภอ แต่ใช้ได้ในฐานะพินัยกรรมธรรมดา
การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้ทำ ต่อมามีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสามบัญญัติให้โอนอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ การทำพินัยกรรม เอกสารฝ่ายเมืองในปัจจุบันจึงตกเป็นอำนาจและหน้าที่ ของนายอำเภอ เป็นผู้ทำซึ่งถ้านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติก็ตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้รักษาราชการแทนตามมาตรา 42 การที่นายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แต่ติดราชการจะไปท้องที่ จึงสั่งให้ปลัดอำเภอ ช่วยไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแทนเพื่อให้งานเสร็จไปโดยเร็วนั้น ปลัดอำเภอผู้นั้นเป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอ หาใช่เป็น ผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอไม่ การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง นั้นจึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ เมื่อ พินัยกรรมนั้นเจ้ามรดกได้ทำต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน อนุโลมเข้าแบบพินัยกรรมธรรมดาตามมาตรา 1656 จึงสมบูรณ์ใช้ได้ เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามมาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างออกขัดระเบียบกระทรวงการคลัง และอายุความฟ้องร้องค่าจ้าง
ระเบียบของกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีวางระเบียบไว้ว่าลูกจ้างคนใดต้องหาคดีอาญาและถูกควบคุมตัว ก็ให้กรม กองเจ้าสังกัดต่างๆ สั่งพักงานลูกจ้างนั้นไว้ก่อนไม่ให้ไล่ออกทันที ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัดจะต้องปฏิบัติตามระเบียบระเบียบเดิมของจำเลยที่ขัดกับระเบียบของกระทรวงการคลังเป็นอันถูกยกเลิกไปในตัวการที่จำเลยอุทธรณ์ระเบียบของจำเลยไปกระทรวงการคลังว่า ขัดกับระเบียบของจำเลย แต่กระทรวงการคลังก็ได้ตอบยืนยันไม่ยอมให้ถือระเบียบของจำเลย การที่จำเลยมีคำสั่งในระหว่างอุทธรณ์ระเบียบให้ไล่โจทก์ออกย้อนไปถึงวันโจทก์ถูกกล่าวหาและถูกจับกุมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลย นับถึงวันฟ้องเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลย นับถึงวันฟ้องเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างขัดระเบียบกระทรวงการคลัง: คำสั่งไล่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมายและอายุความฟ้อง
ระเบียบของกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีวางระเบียบไว้ว่าลูกจ้างคนใดต้องหาคดีอาญาและถูกควบคุมตัว ก็ให้กรม กองเจ้าสังกัดต่าง ๆ สั่งพักงานลูกจ้างนั้นไว้ก่อน ไม่ให้ไล่ออกทันที ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัดจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ระเบียบเดิมของจำเลยที่ขัดกับระเบียบของกระทรวงการคลังเป็นอันถูกยกเลิกไปในตัว การที่จำเลยอุทธรณ์ระเบียบของจำเลยไปกระทรวงการคลังว่า ขัดกับระเบียบของจำเลย แต่กระทรวงการคลังได้ตอบยืนยันไม่ยอมให้ถือระเบียบของจำเลย การที่จำเลยมีคำสั่งในระหว่างอุทธรณ์ระเบียบให้ไล่โจทก์ออกย้อนไปถึงวันโจทก์ถูกกล่าวหาและถูกจับกุม จึงเป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลยนับถือวันฟ้องเกิน 1 ป คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลยนับถือวันฟ้องเกิน 1 ป คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประชุมกรรมการ, อำนาจมติ, การออกประกาศเกินกรอบ, คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควร
มีประกาศตั้งกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร แต่มิได้วางระเบียบไว้ว่าให้ผู้ใดเป็นผู้แทนกรรมการเข้าประชุมได้ ดังนี้ ผู้แทนกรรมการเหล่านั้นจึงมิใช่เป็นกรรมการ และเมื่อเป็นเช่นนั้น การประชุมที่มีกรรมการแท้ๆ มาประชุมไม่ถึงครึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงไม่ครบองค์ประชุมตามกฎหมาย และมติของการประชุมครั้งนั้นจึงเสียไป ใช้บังคับไม่ได้ แม้ผู้แทนจะเป็นผู้มีอาวุโสที่จะทำการแทนในกิจการตามปกติได้ตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและระเบียบราชการก็ดี ก็มิใช่เป็นกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรอันเป็นกฎหมายพิเศษเฉพาะการ
ที่ประชุมกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรลงมติเรื่องกำหนดราคาของเนื้อสุกร แต่มิได้มีการประชุมเรื่องให้ทำป้ายบอกราคาเนื้อสุกรด้วย ดังนี้ ประกาศคณะกรรมการฯที่ให้ผู้ขายเนื้อสุกรทำป้ายบอกราคา จึงเป็นการเกินไปจากมติดังกล่าว ซึ่งเป็นการมิชอบ (เทียบฎีกาที่ 634,635/2492)
ที่ประชุมกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรลงมติเรื่องกำหนดราคาของเนื้อสุกร แต่มิได้มีการประชุมเรื่องให้ทำป้ายบอกราคาเนื้อสุกรด้วย ดังนี้ ประกาศคณะกรรมการฯที่ให้ผู้ขายเนื้อสุกรทำป้ายบอกราคา จึงเป็นการเกินไปจากมติดังกล่าว ซึ่งเป็นการมิชอบ (เทียบฎีกาที่ 634,635/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รักษาราชการและขอบเขตการกำหนดราคาควบคู่กับการแสดงราคาตามพ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนจะมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ก็ต่อเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ปฏิบัติราชการ
การกำหนดราคาสูงสุดตาม พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรนั้นถ้าคณะกรรมการไม่กำหนดให้ปิดป้ายแสดงราคาของไว้ด้วยผู้ค้าก็ไม่ต้องปิดป้ายแสดงราคา
การกำหนดราคาสูงสุดตาม พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรนั้นถ้าคณะกรรมการไม่กำหนดให้ปิดป้ายแสดงราคาของไว้ด้วยผู้ค้าก็ไม่ต้องปิดป้ายแสดงราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรมการจังหวัดหลังพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 คณะกรมการจังหวัดหมดสภาพเป็นนิติบุคคลจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คณะกรมการจังหวัดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีภายหลังวันประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวคณะกรมการจังหวัดไม่เป็นนิติบุคคลแล้ว ดังนี้คณะกรมการจังหวัดจึงไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์การเพื่อลดค่าครองชีพ และการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้นย่อมเป็นการดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริหารแผ่นดินคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การนี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์การสรรพาหารเพื่อลดค่าครองชีพ และการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการดำ เนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริ หารแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การณ์นี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 - 2495 มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่น ๆ ซื่งมิได้อยู่ภายในวงอำนสจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่ง กระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้ว เพราะวัตถุประสงค์ขององค์การณ์สรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภาย ในวงอำนาจและหน้าทีของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทะบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัตและไม่ตั้งขึ้นเป็นการ แบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการ งานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา,
อนึ่งแม้ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มี กล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดัง กล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมน ตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2477 มาตรา 4./
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 - 2495 มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่น ๆ ซื่งมิได้อยู่ภายในวงอำนสจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่ง กระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้ว เพราะวัตถุประสงค์ขององค์การณ์สรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภาย ในวงอำนาจและหน้าทีของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทะบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัตและไม่ตั้งขึ้นเป็นการ แบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการ งานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา,
อนึ่งแม้ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มี กล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดัง กล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมน ตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2477 มาตรา 4./