คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อินท์ อุดล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของวันเกิดเหตุตามฟ้องและพยานเบิกความ ถือเป็นสาระสำคัญทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ซึ่งหมายความว่า เหตุเกิดหลัง 24 น. ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2507 ไปแล้ว จนถึง 6.00 น.ของวันที่ 13 ฯ
ทางพิจารณา พยานโจทก์เบิกความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันแรม 15 ค่ำเดือน 3 แต่เดือน 3 เป็นเดือนขาด มีเพียงแรม 14 ค่ำ ฉะนั้น ที่พยานโจทก์เบิกความเช่นนี้ จึงหมายความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงนั่นเอง
วันเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องดังกล่าวแล้ว ก็ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 2 (อ้างฎีกาที่ 967/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'ไม้ยางทุกชนิด' ในพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม: ไม้ยางแดงจัดเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่
"ไม้ยางแดง" คือ "ไม้ยางทุกชนิด" อันเป็นไม้หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2497 อันดับ 47

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องกรรมการทั้งหมด
ตามประมวลรัษฎากรที่บัญญัติว่าเมื่อผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้นการฟ้องศาลดังกล่าวผู้อุทธรณ์ย่อมฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเป็นประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ไม่จำต้องฟ้องกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ร่วมกันทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากร: ฟ้องประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ แม้ไม่ฟ้องกรรมการทั้งคณะ
ตามประมวลรัษฎากรที่บัญญัติว่า เมื่อผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล นั้น การฟ้องศาลดังกล่าว ผู้อุทธรณ์ย่อมฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเป็นประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ไม่จำต้องฟ้องกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ร่วมกันทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคือโทษ, ห้ามฎีกาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ให้คืนของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยเพียงคนละไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ริบของกลางบางส่วน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้คืนของกลางทั้งหมดนั้น การริบของกลางก็จัดเป็นโทษชนิดหนึ่ง จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคือโทษทางอาญา ห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามมาตรา 220
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยเพียงคนละไม่เกินหนึ่งพันบาทและให้ริบของกลางบางส่วนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้คืนของกลางทั้งหมด นั้น การริบของกลางก็จัดเป็นโทษชนิดหนึ่ง จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันเฉพาะทรัพย์ที่วางประกัน การโอนทรัพย์อื่นไม่เป็นโกงเจ้าหนี้
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันในศาลยินยอมรับผิดจำกัดการชำระหนี้ตามคำพิพากษาเฉพาะทรัพย์ที่เอามาแสดงวางประกันต่อศาลในเมื่อจำเลยในคดีแพ่งนั้นไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หาได้ยินยอมให้ผูกพันถึงทรัพย์อื่นของตนด้วยไม่เช่นนี้ เมื่อจำเลยได้โอนที่ดินแปลงอื่นๆ ของตนไปให้แก่ผู้ใด จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเสมียนรถไฟในการจ่ายสินค้าผิดพลาดและการพิสูจน์ความเป็นผู้เสียหาย
เสมียนรถไฟมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับจ่ายสินค้า ได้จ่ายสินค้าให้แก่จำเลยเพราะถูกจำเลยหลอกลวง โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของสินค้านั้น เมื่อเสมียนรถไฟจ่ายสินค้าผิดตัวผู้รับไปก็จะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น เสมียนรถไฟจึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
of 8