พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือสนับสนุนการประมงต้องปฏิบัติตามกฎหมายการตรวจเรือ แม้มีการเปลี่ยนแปลงประเภทภายหลังกำหนด
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพิ่มเติมครั้งที่ 4 มีข้อกำหนดให้เจ้าของเรือประมงและเรือที่เกี่ยวข้องกับการประมงและเรือสนับสนุนการประมงต้องนำเรือมาให้คณะทำงานตรวจเรือตรวจสอบและทำเครื่องหมายที่แสดงอัตลักษณ์เรือภายในเวลาที่กำหนด ต่อมามีประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 101/2560 เรื่อง การตรวจสอบและทำเครื่องหมายที่แสดงอัตลักษณ์และการแจ้งรายการเกี่ยวกับเรือตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2560 โดยกำหนดให้เจ้าของ ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองเรือหรือผู้รับมอบอำนาจเจ้าของเรือตามรายชื่อแนบท้ายประกาศกรมเจ้าท่าฉบับนี้ อันรวมถึงจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเรือมายื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรือและทำเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์หรือมาแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเรือแอลพีเอส 5 เรือมีน้ำหนัก 166 ตันกรอส ประเภทเรือกลเดินทะเลเฉพาะเขต ใช้บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงต้องมายื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรือและทำเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์เรือ หรือมาแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, ฟ้องซ้ำ, กำหนดระยะเวลาฟ้องคดี: ศาลฎีกายกคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด
คำสั่งที่ให้โอนคดีไปยังศาลปกครองอุดรธานีในคดีเดิมเป็นที่สุด ศาลปกครองสูงสุดไม่อาจยกเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นพิจารณาในคดีดังกล่าวได้อีก และคำสั่งซึ่งเป็นที่สุดในคดีเดิมไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ประกอบกับศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 51 ทั้งการฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและไม่มีเหตุจำเป็นอื่นตามมาตรา 52 วรรคสอง และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองอุดรธานีที่ไม่รับคำฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องในคดีเดิม ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราบุตรบุญธรรมโดยใช้กำลังประทุษร้าย แม้ผู้เสียหายไม่ขัดขืน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่สมัครใจ
พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันมา การที่ผู้เสียหายอาศัยอยู่กับจำเลยมาตั้งแต่อายุได้เพียง 2 ปี และเป็นบุตรบุญธรรมจำเลยด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายโดยปกติย่อมไม่มีความสัมพันธ์แบบชู้สาว อีกทั้งผู้เสียหายมีคนรักอยู่ด้วย จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายจะยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา แม้ผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายไม่ได้ต่อสู้ขัดขืนก็ตาม แต่เพราะเคยถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรามาก่อนและผู้เสียหายขัดขืนถูกจำเลยทำร้ายโดยใช้เท้าถีบ ทั้งยังต่อว่าผู้เสียหายทำนองว่าขอแค่นี้ไม่ได้หรือไง ผู้เสียหายจึงไม่กล้าที่จะต่อสู้ขัดขืนจำเลย จึงรับฟังได้ว่า ผู้เสียหายถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้เกิดจากความสมัครใจหรือยินยอมของผู้เสียหาย การที่จำเลยถอดกางเกงของผู้เสียหายออกแล้วสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ชักเข้าออกจนสำเร็จความใคร่ ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าวกระทบแก่ความผิดเดิม และการใช้ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันผลิตพืชกระท่อมและร่วมกันมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26, 75, 76/1 ต่อมาในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 8 และมาตรา 9 ให้ยกเลิกมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และเพิ่มเติมมาตรา 26/2 ฐานผลิตพืชกระท่อม และมาตรา 26/3 ฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยข้อความตามกฎหมายเดิมและที่แก้ไขใหม่ยังเป็นทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับในส่วนบทความผิด และมาตรา 17 ให้ยกเลิกมาตรา 75 และมาตรา 76/1 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 โดยให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งบทกำหนดโทษฐานผลิตพืชกระท่อมในมาตรา 75 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิม และมาตรา 75 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษเท่ากัน และบทกำหนดโทษฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามมาตรา 76/1 วรรคสี่ ตามกฎหมายเดิม และมาตรา 76/1 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษเท่ากันเช่นเดียวกัน ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน ตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 27, 51, 54 รวมกับความผิดฐานอื่น ๆ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์มี พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ประกาศใช้บังคับให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป โดยมาตรา 3 กำหนดให้ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 นำข้อหาความผิดเดิมตามมาตรา 51 ฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และตามมาตรา 27, 54 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานมาบัญญัติเป็นความผิดไว้ซึ่งตรงกับมาตรา 8, 9, 101, 102 ของพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว แต่ต่อมามีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2560 เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ 1 ให้มาตรา 101, 102 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป และข้อ 6 ให้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 ซึ่งตรงกับวันที่ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับ ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 และความผิดฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เกิดขึ้นก่อนวันที่ 23 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสามจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทุจริต: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำนั้น
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 เป็นกรณีที่ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ แม้โจทก์ให้เงินอุดหนุนแก่ที่ทำการปกครองอำเภอบ้านโฮ่งเพื่อการดำเนินงาน "ศูนย์รวบรวมข้อมูลข่าวสารการจัดซื้อจัดจ้างและการประสานงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับอำเภอ" ดังกล่าวก็ตาม ถือเป็นเงินงบประมาณของทางราชการ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เมื่อโจทก์ตั้งฎีกาเบิกเงินนำส่งให้แก่อำเภอบ้านโฮ่งแล้ว จึงอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของนายอำเภอบ้านโฮ่ง หากโจทก์เห็นว่า จำเลยทำให้โจทก์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในอำเภอบ้านโฮ่งเสียหาย ก็ชอบที่จะร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวางค่าธรรมเนียมศาล ทำให้คำอุทธรณ์เป็นอันตกไป และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล
ในคดีมโนสาเร่ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์ไม่นำค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ แต่โจทก์ไม่ได้ยื่น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขออนุญาตวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ได้อีก แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนคดีอาญา: การเพิ่มเติมข้อหาและการพิสูจน์ความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก
ป.วิ.อ. มาตรา 134 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้น มีเจตนารมณ์เพียงเพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าจะถูกสอบสวนในเรื่องใดและทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด โดยไม่จำต้องแจ้งทุกข้อหา ทุกตัวบทกฎหมาย และทุกกระทงความผิดเสมอไป เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยว่ากระทำความผิดในช่วงเวลาใดไว้ แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงเวลาอื่นด้วย ก็สามารถสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำในช่วงเวลาอื่นเพิ่มเติมได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงวันเวลาอื่นโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงเวลาที่การสอบสวนได้ความเพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและคำเบิกความของผู้เสียหาย: การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน
คำถามของโจทก์ที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะนำอวัยวะเพศสอดใส่เข้าไปภายในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 นั้น จำเลยได้กระทำสิ่งใดก่อนหรือไม่ เป็นคำถามที่มิได้ชี้นำหรือกำหนดแนวทางให้ผู้เสียหายที่ 1 ตอบ และมิได้เพียงแต่ให้ผู้เสียหายที่ 1 ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น แต่ผู้เสียหายที่ 1 จะตอบอย่างไรก็ได้จึงมิใช่คำถามนำ คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6791/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานเบียดบัง/ละเว้นหน้าที่ และความผิดทุจริตต่อหน้าที่ ปรับแก้โทษจำคุก
เงินการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักพระราชวังจัดส่งมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบนำส่งกองคลัง สำนักพระราชวัง สำหรับจัดสรรเป็นสวัสดิการเกี่ยวกับการฌาปนกิจสงเคราะห์ของสมาชิกที่ล้วนเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างหน่วยงานกิจการในพระองค์ ถือเป็นกิจการภายในของส่วนราชการ มิได้มีวัตถุประสงค์จัดตั้งให้เป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่มีกฎหมายบังคับให้จดทะเบียนและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 5 โดยงานการฌาปนกิจสงเคราะห์ของสำนักพระราชวังมีระเบียบใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ดังนี้ กรณีที่เกิดความเสียหายแก่เงินที่ข้าราชการหรือลูกจ้างกิจการในพระองค์จัดส่งมาสำหรับใช้ในกิจการดังกล่าว สำนักพระราชวังที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเงินในส่วนนี้ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทุจริตเงินดังกล่าวได้ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง และการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการสอบสวนและไต่สวนที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง