พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นทำไม้หวงห้าม ผู้ใช้ไม่ต้องรับผิดฐานมีไม้หวงห้าม แต่ผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยใช้ให้บุตรนำช้างไปชักลากไม้ท่อนของ ข. ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม โดยจำเลยไม่ได้ไปร่วมทำการชักลากไม้ด้วยถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีไม้ดังกล่าวไว้ในความครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาต จำเลยไม่มีความผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯแต่ จำเลยรู้ว่าไม้ดังกล่าวเป็นไม้หวงห้าม จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ชักลากไม้(ทำไม้)หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมทำการชักลากไม้ (ทำไม้) จึงลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดไม่ได้คงลงโทษได้เพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมต่างวาระ: การตัดไม้และการมีไม้ไว้ในครอบครองถือเป็นคนละกรรม
ฟ้องระบุวันเวลากระทำผิดอันเดียวกัน กล่าวหาว่าจำเลยได้ตัดฟันไม้หวงห้าม 1 ต้นโดยมิได้รับอนุญาต และได้มีไม้นั้นไว้ในครอบครองโดยไม้นั้นเป็นไม้ที่ยังมิได้แปรรูปฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11,69,73 ตามที่ได้แก้ไขดังนี้ถือว่ากล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด 2 กรรม
การตัดฟันไม้ และการมีไม้ที่ตัดฟันไว้จะเป็นกรรมเดียววาระเดียวกันไม่ได้
การตัดฟันไม้ และการมีไม้ที่ตัดฟันไว้จะเป็นกรรมเดียววาระเดียวกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: การครอบครองไม้หวงห้าม, ตราปลอม, และการริบของกลาง
(1) โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเป็นส่วนตัว ไม่ได้ฟ้องบริษัท แม้ไม้จะเป็นของบริษัทแต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นกรรมการจัดการของบริษัทเป็นผู้ครอบครอง ทางพิจารณาก็ไม่ต่างกับฟ้อง
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลยแต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลยแต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: การครอบครองไม้ผิดกฎหมาย, ตราค่าภาคหลวงปลอม, และการริบไม้
(1) โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้ฟ้องบริษัท แม้ไม้จะเป็นของบริษัท แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นกรรมการจัดการของบริษัทเป็นผู้ครอบครอง ทางพิจารณาก็ไม่ต่างกับฟ้อง
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลย แต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลย แต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473-474/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ตะเคียนสามพอนจัดเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง
แม้ตามบัญชีใน พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม 2497 มาตรา4 จะได้ระบุชื่อไม้ตะเคียนของจังหวัดสตูลไว้โดยไม่มีชื่อไม้ตะเคียนสามพอนก็ดี ก็ยังถือว่า ไม้ตะเคียนสามพอนอยู่ในประเภทไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ ตามบัญชีอันดับ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้ามและการบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง: การพิจารณาโทษจำเลยในคดีตัดไม้
ไม้ไข่เขียวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามหลักวิชาแล้วฟังว่าอยู่ในจำพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ " แต่กรมป่าไม้เพิ่งชี้ขาดและทางราชการเพิ่งประกาศเมื่อ 8 มิ.ย. 2498 หลังจากที่จำเลยไปตัดไม้นี้มาไว้แล้ว ถือว่าจำเลยยังไม่ควรมีผิด
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ " นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2494 ม.16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ ฯ.
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ " นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2494 ม.16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ ฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้ามและการตีความกฎหมาย: การออกกฎหมายย้อนหลัง และความรับผิดชอบของผู้แปรรูปไม้
ไม้ไข่เขียวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามหลักวิชาแล้วฟังว่าอยู่ในจำพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" แต่กรมป่าไม้เพิ่งชี้ขาดและทางราชการเพิ่งประกาศเมื่อ 8 มิ.ย. 2498 หลังจากที่จำเลยไปตัดไม้นี้มาไว้แล้วถือว่าจำเลยยังไม่ควรมีผิด
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2494 มาตรา 16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ฯ
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2494 มาตรา 16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749-750/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้และการขาดลายมือชื่อผู้เรียงฟ้องส่งผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยให้วางโทษทั้งจำคุกและปรับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเพียงเล็กน้อยในข้อให้ลดโทษฐานปราณีตาม กฎหมายอาญา มาตรา 59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ โจทก์มิได้อ้าง พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 69,73 คงอ้างมาแต่ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2494 มาตรา16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69,73 ได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16,17 แล้ว เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง มาตรา 69 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริงจึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้วแต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ1 บาท คืนให้จำเลยนั้นกรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษาเมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเพียงเล็กน้อยในข้อให้ลดโทษฐานปราณีตาม กฎหมายอาญา มาตรา 59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ โจทก์มิได้อ้าง พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 69,73 คงอ้างมาแต่ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2494 มาตรา16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69,73 ได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16,17 แล้ว เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง มาตรา 69 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริงจึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้วแต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ1 บาท คืนให้จำเลยนั้นกรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษาเมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามโดยมิได้ประทับตรารอยค่าภาคหลวง ต้องเป็นไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูป
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยมีไม้หวงห้ามโดยมิได้มีตรารอยค่าภาคหลวงประทับไว้ในความครอบครอง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ 2484 มาตรา 69 ซึ่งได้แก้ไขใหม่โดย พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3)2494 มาตรา 16 แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ลงโทษจำเลยตามขอไม่ได้เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องมีไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในความครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามโดยไม่แปรรูป: การพิจารณาความรับผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยมีไม้หวงห้ามโดยมิได้มีตรารอยค่าภาคหลวงประทับไว้ในความครอบครอง ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ม.69 ซึ่งได้แก้ไขใหม่โดย พ.ร.บ.ป่าไม้ ( ฉบับที่ 3 ) 2494 ม.16 แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ลงโทษจำเลยตามขอไม่ได้เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องมีไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในความครอบครอง