คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติไทยเนื่องจากถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และความผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญ
จำเลยเป็นคนเชื้อชาติจีนเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ได้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิได้ประสงค์จะถือสัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ.2491 ตลอดมาจนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ใช้บังคับซึ่งมาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย ดังนี้ บทบัญญัติแห่งมาตรา 21 ดังกล่าวจึงมีผลถึงจำเลยซึ่งถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แม้มาตรา 21 ดังกล่าวจะมิได้บัญญัติความว่า ให้ขาดจากสัญชาติไทย ไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับก็ตามก็ไม่เป็นผลให้แตกต่างกันอย่างไร เมื่อจำเลยไม่ต่อใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จำเลยย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติไทยเนื่องจากถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้ไม่มีข้อความระบุช่วงเวลา
โจทก์เกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว เดินทางไปประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2490 และกลับมาประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2491 แล้วไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในปีนั้นและต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตลอดมา แม้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 21 จะบัญญัติว่า'ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย' โดยไม่มีข้อความว่า 'ไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ' ดังบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มาตรา 16 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 ที่ยกเลิกไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวตลอดมาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 21 ซึ่งมีผลให้โจทก์เสียสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับคืนสัญชาติไทยหลังเสียสัญชาติเนื่องจากบิดาเป็นต่างด้าวและมีกฎหมายแก้ไขภายหลัง
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งขาดจากสัญชาติไทย หากได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 4 แต่เมื่อภายหลังมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ขาดจากสัญชาติไทยตามมาตรา 16 ทวิ ดังกล่าว ได้สัญชาติไทยกลับคืนมาตามเดิมโดยอาศัยพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ (เทียบฎีกาที่ 558/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับคืนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในไทยแต่บิดาเป็นต่างด้าวและเคยได้รับใบสำคัญคนต่างด้าว ตามกฎหมายสัญชาติที่เปลี่ยนแปลง
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งขาดจากสัญชาติไทย.หากได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 แต่เมื่อภายหลังมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ขาดจากสัญชาติไทยตามมาตรา 16 ทวิ ดังกล่าว ได้สัญชาติไทยกลับคืนมาตามเดิมโดยอาศัยพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ (เทียบฎีกาที่ 558/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญชาติ: ผลของกฎหมายสัญชาติฉบับต่างๆ ต่อผู้เกิดในไทยแต่มีบิดาเป็นต่างด้าว
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งขาดจากสัญชาติไทย.หากได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 4. แต่เมื่อภายหลังมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด. ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ขาดจากสัญชาติไทยตามมาตรา 16 ทวิ ดังกล่าว ได้สัญชาติไทยกลับคืนมาตามเดิมโดยอาศัยพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้.(เทียบฎีกาที่ 558/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสัญชาติไทยหลังเคยขอเป็นคนต่างด้าว และผลกระทบของกฎหมายสัญชาติที่แก้ไข
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย ต่อมาได้ไปประเทศจีนแล้วเดินทางกลับมากองตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ภายในเวลาจำกัดโจทก์ร้องขอพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยต่อกองตรวจคนเข้าเมืองอธิบดีกรมตำรวจสั่งระงับการพิสูจน์สัญชาติโจทก์จึงขอให้พิพากษาแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นไทย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยและไม่ได้เกิดในประเทศไทย แต่เกิดในประเทศจีน มีสัญชาติจีนโจทก์ร้องขออยู่ในประเทศไทยชั่วคราวโดยไม่มีที่สิ้นสุดจำเลยจึงสั่งไม่ให้โจทก์อยู่ต่อไป ดังนี้ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยหรือไม่
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่งในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ.2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 20(2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสัญชาติไทยหลังขอเป็นคนต่างด้าวและผลกระทบของกฎหมายสัญชาติฉบับต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย ต่อมาได้ไปประเทศจีนแล้วเดินทางกลับมา กองตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ภายในเวลาจำกัด โจทก์ร้องขอพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยต่อกองตรวจคนเข้าเมือง อธิบดีกรมตำรวจสั่งระงับการพิสูจน์สัญชาติ โจทก์จึงขอให้พิพากษาแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย และไม่ได้เกิดในประเทศไทย แต่เกิดในประเทศจีน มีสัญชาติจีน โจทก์ร้องขออยู่ในประเทศไทยชั่วคราวโดยไม่มีที่สิ้นสุด จำเลยจึงสั่งไม่ให้โจทก์อยู่ต่อไป ดังนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าเป็นคนสัญชาติไทยหรือไม่
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าว โจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่ง ในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มาตรา 20 (2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723-737/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติจากการสมรสกับชาวต่างชาติและสถานะคนต่างด้าว: การพิสูจน์สัญชาติของคู่สมรสและการแจ้งสถานะ
การที่จำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าว (จีน) อันจะทำให้จำเลยศูนย์เสียสัญชาติตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2456 นั้น โจทก์จะต้องสืบให้แน่ชัดว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ในขณะที่แต่งงานกฎหมายสัญชาติของคู่แต่งงานของจำเลยบัญญัติ ให้จำเลยมีสัญชาติของสามี มิฉะนั้นศาลไม่ถือว่าจำเลยศูนย์เสียสัญชาติเพราะการแต่งงาน
แม้เมื่อจำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าวแล้วเข้าใจผิดว่าตนศูนย์เสียสัญชาติและไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมา ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว อันจะต้องต่อใบสำคัญเมื่อหมดอายุ
การที่จำเลยไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หากจะเป็นกรณีเข้า ม.5 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2496 ซึ่งบัญญัติ ให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว ก็เป็นเรื่องต้องถือว่าจำเลยเพิ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ พงศ. 2496 ซึ่ง จำเลยจะต้องไปแจ้งความเพื่อขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากเจ้าพนักงานใน 30 วัน จำเลยไม่ไปจัดการดังกล่าวก็ย่อมมีผิด แต่ข้อนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องมา จึงลงโทษจำเลยยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938-1945/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญเสียสัญชาติไทยต้องเกิดจากความสมัครใจ การมีใบสำคัญคนต่างด้าวไม่ได้หมายถึงการสละสัญชาติ
การขาดจากสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2496 ต้องเป็นไปด้วยใจสมัคร
เมื่อบุคคลยังมีสัญชาติไทยอยู่ ก็ไม่มีหน้าที่ต้องมีใบสำคัญหรือต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยไม่สิ้นสุดเมื่อสมรสกับชาวต่างชาติและไม่ได้สัญชาติสามี
หญิงเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว ได้ทำการสมรสกับคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฎว่า ก.ม.ของประเทศสามียอมให้หญิงนั้นเข้าถือเอาสัญชาติของสามีได้ หญิงนั้นย่อมยังเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าจะได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแล้ว ก็เป็นการได้ใบสำคัญมาโดยมิชอบด้วย ก.ม.ไม่มีหน้าที่ต้องไปต่ออายุใบสำคัญนั้นอีก และแม้ถ้าจะถือว่าหญิงนั้นได้ขาดสัญชาติไทยไปตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2495 ม.16 ทวิ แล้วก็ตามหากหญิงนั้นจะมีผิดก็ย่อมจะเป็นผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ม.8 ไม่มีผิด ฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
of 9