พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินอายุความ ผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีได้
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยทั้งสองยอมผ่อนชำระเงินเป็นรายเดือนแก่โจทก์ เริ่มวันที่ 5 มิถุนายน 2536 แต่จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองนับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้ ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ล้มละลาย ผู้ร้องได้ทำสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองคดีนี้ ผู้ร้องจึงได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีในวันที่ 14 กันยายน 2547 เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งการยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาตามความจำเป็นและความสะดวกในการพิจารณาคดี คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
คำร้องขอของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ตามเนื้อหาของคำร้องขอไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (1) มิใช่เพียงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเท่านั้น
คำร้องขอของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ตามเนื้อหาของคำร้องขอไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (1) มิใช่เพียงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยนั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นหรือไม่ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นอย่างใดที่ศาลอุทธรณ์เพียงสั่งว่า "รวม" จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(1) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเสร็จไปแล้ว การที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์แต่อย่างใด เพราะไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วก็ตาม หากต่อมาในชั้นพิจารณาและพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เป็นสาระแก่คดีก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 การบังคับคดีจะต้องเป็นไปตามคำพิพากษา รายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในวันทำคำพิพากษาตามยอมนั้น แม้จะมีถ้อยคำที่แตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่มีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ที่โจทก์ฎีกาว่าข้อความที่ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนนั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน, การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่เป็นประโยชน์, และการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ
เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้อง ของ โจทก์ว่าเห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์สั่งว่า"รวม" จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 131(1) เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว การที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลย ย่อมจะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลง ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา ต่อมาในชั้นพิจารณาและพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เป็นสาระแก่คดี ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 225 รายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในวันทำคำพิพากษาตามยอมมีถ้อยคำที่แตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ไม่มีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไปดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าข้อความที่ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนนั้นจึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501-1502/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง และการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากห้องเช่าอันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาทแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าที่ดินและห้องพิพาทเป็นของบุคคลอื่น ไม่ใช่ของโจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยกข้อต่อสู้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดยไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือรับรองให้อุทธรณ์ หรือได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษาภาคให้อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ปัญหาที่ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นการเกินคำขอหรือไม่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยโจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายตามศาลชั้นต้นศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243,247
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิด ทำให้โจทก์เสียหาย ขอคิดค่าเสียหายจากจำเลยเดือนละ400 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกจากห้องเช่าของโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า "สำเนาให้จำเลย พิจารณาสั่งในวันนัด" หลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อมาจนเสร็จสำนวน โดยมิได้มีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแล้วแต่ประการใด และโจทก์ก็มิได้ทักท้วงขอให้ศาลมีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ จึงไม่อาจถือว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ จึงเป็นการเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาที่ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นการเกินคำขอหรือไม่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยโจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายตามศาลชั้นต้นศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243,247
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิด ทำให้โจทก์เสียหาย ขอคิดค่าเสียหายจากจำเลยเดือนละ400 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกจากห้องเช่าของโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า "สำเนาให้จำเลย พิจารณาสั่งในวันนัด" หลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อมาจนเสร็จสำนวน โดยมิได้มีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแล้วแต่ประการใด และโจทก์ก็มิได้ทักท้วงขอให้ศาลมีคำสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ จึงไม่อาจถือว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ จึงเป็นการเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองและการบังคับชำระหนี้จากสินสมรส/สินบริคณห์
1. เดิมคู่ความฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ต่อมายื่นคำร้องอีกฉบับเตือนให้ศาลเร่งพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฉบับเดิม ศาลนัดพร้อมคู่ความฝ่ายที่ยื่นขาดนัด ศาลสั่งยกคำร้องฉบับที่เตือนเสีย ดังนี้ไม่หมายความถึงให้ยกคำร้องเดิมที่ขอรับชำระหนี้นั้นด้วย 2. ผู้รับจำนองย่อมเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิชอบที่จะร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีคำพิพากษา ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้โต้แย้งมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลก็ไม่วินิจฉัยให้ 3. คำสั่งของศาลที่ชี้ขาดว่าผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองของจำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้นั้นหาเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลในคดีอื่น (คดีแดงที่ 1472/2497) ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกรายหนึ่ง) ฟ้องขอให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับสามีไม่ 4. เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใด ให้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้จะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองและการบังคับชำระหนี้จากสินสมรส/สินบริคณห์
1. เดิมคู่ความฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ต่อมายืนคำร้องอีกฉบับเตือนให้ศาลเร่งพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฉะบับเดิมศาลนัดพร้อมคู่ความฝ่ายที่ยื่นขาดนัด ศาลสั่งยกคำร้องฉบับที่เตือนเสีย ฟังไม่หมายความถึงให้ยกคำร้องเดิมที่ขอรับชำระหนี้นั้นด้วย
2. ผู้รับจำนองย่อมเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิชอบที่จะร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีคำพิพากษา ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมนั้น เมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้โต้แย้งมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลก็ไม่วินิจฉัยให้
3. คำสั่งของศาลที่ชี้ขาดว่าผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองของจำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้นั้น หาเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลในคดีอื่น (คดีแดงที่ 1472/2497 ) ที่ผู้ฎีกา (ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกรายหนึ่ง) ฟ้องขอให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับสามีไม่
4. เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใด ให้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้จะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว
2. ผู้รับจำนองย่อมเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิชอบที่จะร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีคำพิพากษา ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมนั้น เมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้โต้แย้งมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลก็ไม่วินิจฉัยให้
3. คำสั่งของศาลที่ชี้ขาดว่าผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองของจำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้นั้น หาเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลในคดีอื่น (คดีแดงที่ 1472/2497 ) ที่ผู้ฎีกา (ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกรายหนึ่ง) ฟ้องขอให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับสามีไม่
4. เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใด ให้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้จะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว