คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2493 ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาท แม้มีการสละมรดก การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดก
ผู้ร้องเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้หนังสือเดินทางของประเทศมาเลเซีย เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองอนุญาตให้ผู้ร้องอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวมีกำหนดหนึ่งเดือน พ้นกำหนดหนึ่งเดือนผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทย ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาล ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 43ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะนิติบุคคลของกองตรวจคนเข้าเมือง & การพิสูจน์สัญชาติ - ศาลฎีกายกฟ้อง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 5 กำหนดให้กรมตำรวจมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่การแบ่งส่วนราชการในกรมตำรวจออกเป็นกองตามข้อ 31 มิได้กำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล กองตรวจคนเข้าเมืองจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
หนังสือของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องของโจทก์ ซึ่งโจทก์ขอเป็นคนเข้าเมืองเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองแจ้งว่า ได้นำเรื่องเสนอกรมตำรวจพิจารณาแล้ว มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เป็นคนเข้าเมืองตามคำร้องขอและแจ้งไปด้วยว่าให้โจทก์รีบเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยด่วน ดังนี้ เท่ากับเป็นการเตือนให้โจทก์ทราบในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ถือหนังสือเดินทางของประเทศอื่น และได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว ยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์ยังมิได้อ้างต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองเลยว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีสิทธิจะอยู่ในราชอาณาจักรได้ในฐานะที่เป็นคนไทย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493มาตรา 43 ซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เปิดโอกาสให้โจทก์ยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือร้องขอต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงยังถือไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของโจทก์ และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ก็จะถือว่ามีลักษณะเป็นการร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลไม่ได้ จึงไม่อาจวินิจฉัยเรื่องสัญชาติของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะนิติบุคคลของหน่วยงานราชการ และการฟ้องคดีสัญชาติ: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษาเรื่องสัญชาติไม่ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 5 กำหนดให้กรมตำรวจมีฐานเป็นนิติบุคคล แต่การแบ่งส่วนราชการในกรมตำรวจออกเป็นกองตามข้อ 31 มิได้กำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล กองตรวจคนเข้าเมืองจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลได้แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ แต่เป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
หนังสือของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้ามืองที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องของโจทก์ ซึ่งโจทก์ขอเป็นคนเข้าเมืองเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองแจ้งว่า ได้นำเรื่องเสนอกรมตำรวจพิจารณาแล้ว มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เป็นคนเข้าเมืองตามคำร้องขอและแจ้งไปด้วยว่าให้โจทก์รีบเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยด่วน ดังนี้ เท่ากับเป็นการเตือนให้โจทก์ทราบในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ถือหนังสือเดินทางของประเทศอื่น และได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว ยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์ยังมิได้อ้างต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองเลยว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีสิทธิจะอยู่ในราชอาณาจักรได้ในฐานะที่เป็นคนไทย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 43 ซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เปิดโอกาสให้โจทก์ยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือร้องขอต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงยังถือไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของโจทก์ และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ก็จะถือว่ามีลักษณะเป็นการร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลไม่ได้ จึงไม่อาจวินิจฉัยเรื่องสัญชาติของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทย: การแสดงตนเป็นคนต่างด้าวเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมตัดสิทธิการขอพิสูจน์สัญชาติไทยในภายหลัง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นคนสัญชาติไทย แต่พี่ชายส่งผู้ร้องไปเรียนหนังสือที่ประเทศจีน ผู้ร้องได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ต่อมาพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้จับผู้ร้องในข้อหาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ร้องอ้างว่าเกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นคนไทยขอให้ปล่อยตัวพนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งให้ผู้ร้องขอพิสูจน์ให้ศาลสั่งว่าเป็นคนไทยเสียก่อน จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 43 ได้ความว่าผู้ร้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่พ.ศ.2489 ครั้งยังใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480อยู่ ขณะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ผู้ร้องได้แสดงตนเป็นคนต่างด้าว และทำหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไปแล้ว โดยมิได้ขอพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยตามมาตรา 28 แต่อย่างใดการมายื่นคำร้องนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จะอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น จะต้องมีกฎหมายสนับสนุนหรือรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นไว้ เมื่อกรณีนี้จะอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ได้แล้ว ผู้ร้องย่อมยังไม่มีสิทธิจะเสนอคดีต่อศาลเช่นนี้ได้ หากผู้ร้องถือว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีต่อศาลได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 657/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการพิสูจน์สัญชาติ: การแสดงตนเป็นคนต่างด้าวตั้งแต่แรกย่อมไม่อาจอ้างสิทธิพิสูจน์สัญชาติภายหลังได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นคนสัญชาติไทย แต่พี่ชายส่งผู้ร้องไปเรียนหนังสือที่ประเทศจีน ผู้ร้องได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ต่อมาพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้จับผู้ร้องในข้อหาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ร้องอ้างว่าเกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นคนไทยขอให้ปล่อยตัวพนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งให้ผู้ร้องขอพิสูจน์ให้ศาลสั่งว่าเป็นคนไทยเสียก่อน จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 43 ได้ความว่าผู้ร้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ครั้งยังใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2480 อยู่ ขณะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ผู้ร้องได้แสดงตนเป็นคนต่างด้าวและทำหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไปแล้ว โดยมิได้ขอพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยตามมาตรา 28 แต่อย่างใดการมายื่นคำร้องนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จะอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น ต้องมีกฎหมายสนับสนุนหรือรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นไว้ เมื่อกรณีนี้จะอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ได้แล้วผู้ร้องย่อมยังไม่มีสิทธิจะเสนอคดีต่อศาลเช่นนี้ได้ หากผู้ร้องถือว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีต่อศาลได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 657/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทย: ผู้ไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศ ไม่มีสิทธิขอพิสูจน์สัญชาติภายใต้ พ.ร.ก.คนเข้าเมือง
ผู้ร้องซึ่งไม่เคยออกจากประเทศไทยเลยจะร้องขอพิสูจน์สัญชาติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 43 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ซึ่งเข้าในราชอาณาจักร
สิทธินำคดีมาฟ้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้(คดีประชุมใหญ่ครั้งที่ 23/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอพิสูจน์สัญชาติจำกัดเฉพาะผู้เข้ามาในราชอาณาจักร, ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ผู้ร้องซึ่งไม่เคยออกจากประเทศไทยเลยจะร้องขอพิสูจน์สัญชาติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 43 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ซึ่งเข้าในราชอาณาจักร
สิทธินำคดีมาฟ้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
(คดีประชุมใหญ่ครั้งที่ 23/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญชาติไทย: การพิสูจน์สัญชาติของผู้เข้ามาในราชอาณาจักรและการโต้แย้งสิทธิ
บุคคลใดซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร อ้างว่าเป็นคนไทยบุคคลนั้นต้องเป็นผู้พิสูจน์ การพิสูจน์นั้นจะกระทำโดยร้องขอพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือร้องขอต่อศาลก็ได้ตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493
ได้ความว่า โจทก์เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยได้ 3 วัน ก็ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรมตำรวจและหัวหน้ากองตรวจคนเข้าเมือง อ้างว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทยแต่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์อยู่โดยมีคำสั่งให้โจทก์ออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยระงับเพิกถอนคำสั่งและขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์มีสัญชาติไทยตามกฎหมายจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยจนศาลได้ทำการพิจารณาคดีมาโดยลำดับดังนี้ แม้จะได้ความว่าเมื่อก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยยังไม่ได้โต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์มาก่อนก็ตามก็เป็นอันผ่านไปได้ เพราะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในเรื่องสัญชาติระหว่างคู่ความในคดีแล้ว ศาลพิจารณาพิพากษาประเด็นข้อพิพาทในเรื่องสัญชาติไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการพิสูจน์สัญชาติไทยของผู้เข้าเมือง และการเกิดข้อพิพาทสิทธิสัญชาติหลังถูกโต้แย้ง
บุคคลใดซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร อ้างว่าเป็นคนไทย บุคคลนั้นต้องเป็นผู้พิสูจน์ การพิสูจน์นั้นจะกระทำโดยร้องขอพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือร้องขอต่อศาลก็ได้ ตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493
ได้ความว่า โจทก์เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยได้ 3 วัน ก็ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรมตำรวจและหัวหน้ากองตรวจคนเข้าเมือง อ้างว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทยแต่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์อยู่โดยมีคำสั่งให้โจทก์ออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงฟ้อง่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยระงับเพิกถอนคำสั่งและขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย จนศาลได้ทำการพิจารณาคดีมาโดยลำดับ ดังนี้ แม้จะได้ความว่าเมื่อก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยยังไม่ได้โต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์มาก่อนก็ตาม ก็เป็นอันผ่านไปได้ เพราะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในเรื่องสัญชาติระหว่างคู่ความในคดีแล้ว ศาลพิจารณาพิพากษาประเด็นข้อพิพาทในเรื่องสัญชาติไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโต้แย้งสัญชาติ: การแสดงเจตนาคัดค้านคำสั่งห้ามเข้าประเทศ ถือเป็นการโต้แย้งสัญชาติและมีสิทธิฟ้องร้องได้
เมื่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองสั่งไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักร และให้ออกไปให้พ้น ถ้าผู้นั้นได้โต้แย้งคำสั่งว่าเขาเป็นคนเกิดในประเทศไทย จะแต่งทนายร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ดังนี้ ถือว่ามีข้อโต้แย้ง ชอบที่จะฟ้องศาลได้
การที่ได้แสดงตนและเอกสารว่าเป็นคนต่างด้วยมาก่อนแล้ว ก็กลับพิสูจน์ความจริงใหม่ได้
of 3