คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองคำ จารุเหติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 349 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกัน แม้มิได้ร่วมกระทำความผิดโดยตรง
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า "ด้วยกัน" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 (1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายสมัครใจไป แต่เจตนาจำเลยไม่สุจริต
(ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยพรากพาหญิงไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากพาผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงมีอายุไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาเพื่ออยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการพรากพาไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตามมาตรา 319 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจไปกับจำเลย
(ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยพรากพาหญิงไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากพาผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงมีอายุไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดาด้วยเจตนาเพื่ออยู่กินเป็นสามีภรรยากับผู้เสียหายโดยสุจริต แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจไปกับจำเลย ก็เป็นการพรากพาไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดตามมาตรา 319 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากขัดต่อมาตรา 496 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การขยายเวลาไม่ผูกพัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยอ้างว่าจำเลยได้ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงขยายเวลาการขายฝากให้อีก 1 ปีและฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ให้ขยายเวลาการขายฝากตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ หากแม้จะฟังว่าได้มีการตกลงกันจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างก็ตาม ก็ไม่อาจบังคับตามฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลขยายเวลาให้อีก 1 ปีได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงใช้บังคับไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 129/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากหลุดจำนอง ขยายเวลาสัญญาขัดมาตรา 496 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยอ้างว่าจำเลยได้ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงขยายเวลาการขายฝากให้อีก 1 ปี และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ให้ขยายเวลาการขายฝากตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ หากแม้จะฟังว่าได้มีการตกลงกันจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างก็ตาม ก็ไม่อาจบังคับตามฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลขยายเวลาให้อีก 1 ปีได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อ มาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงใช้บังคับไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 129/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลฎีกาไม่รับ เหตุทนายจำเลยละเลยหน้าที่ แม้มีเหตุผลด้านเวลา
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังกำหนดเวลาโดยอ้างว่าหลงลืมนั้น เป็นคำแก้ตัวที่ยากจะรับฟัง เมื่อกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของคู่ความในการระบุอ้างพยานไว้โดยชัดเจน เช่นนี้ จะยกเรื่องประโยชน์แห่งความยุติธรรมมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยหาควรไม่ เพราะความยุติธรรมนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่าย มิใช่เพื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว จึงไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลฎีกาไม่รับ เหตุทนายจำเลยละเลยหน้าที่ แม้มีประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังกำหนดเวลาโดยอ้างว่าหลงลืมนั้น เป็นคำแก้ตัวที่ยากจะรับฟัง เมื่อกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของคู่ความในการระบุอ้างพยานไว้โดยชัดเจน เช่นนี้ จะยกเรื่องประโยชน์แห่งความยุติธรรมมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย หาควรไม่เพราะความยุติธรรมนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่าย มิใช่เพื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว จึงไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมยกทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสหกรณ์ เป็นโมฆะ ไม่เกิดผลทางกฎหมาย
จำเลยทำหนังสือจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ ส. โดยมิได้ตั้งใจยกให้โดยเสน่หา แต่กระทำไปเพื่อ ส. จะได้นำไปจำนองไว้กับสหกรณ์แล้วเอาเงินมาให้จำเลยใช้สอย นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ เป็นผลให้ที่ดินพิพาทไม่เคยตกทอดเป็นของ ส. แต่ยังคงเป็นของจำเลยตลอดมาฉะนั้นเมื่อ ส. ตายไปเสียก่อนที่จะนำที่ดินพิพาทไปจำนองสหกรณ์ที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดก ส. ทายาท ส. ไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมยกที่ดินเพื่อจำนองสหกรณ์ มิได้เจตนายกให้โดยเสน่หา เป็นโมฆะ ที่ดินยังเป็นของผู้ยก
จำเลยทำหนังสือจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ ส. โดยมิได้ตั้งใจยกให้โดยเสน่หา แต่กระทำไปเพื่อ ส. จะได้นำไปจำนองไว้กับสหกรณ์ แล้วเอาเงินมาให้จำเลยใช้สอย นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ เป็นผลให้ที่ดินพิพาทไม่เคยตกทอดเป็นของ ส. แต่ยังคงเป็นของจำเลยตลอดมา ฉะนั้น เมื่อ ส. ตายไปเสียก่อนที่จะนำที่ดินพิพาทไปจำนองสหกรณ์ ที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดก ส. ทายาท ส. ไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคาร สิทธิครอบครองเมื่อผิดสัญญา การละเมิดสิทธิครอบครอง
ฟ้องคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องนางพรรณเพ็ญแขเป็นจำเลยกล่าวหาว่านางพรรณเพ็ญแขผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ โจทก์ได้รับความเสียหายขอเรียกค่าเสียหาย ส่วนฟ้องคดีนี้ โจทก์ฟ้องนายฮักเมี้ยกับพวก 4 คนเป็นจำเลย กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่ได้บุกรุกเข้ามารบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในตลาดท่าเตียนที่โจทก์เช่ามาจากนางพรรณเพ็ญแขเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างจากผู้มาเช่าใหม่ได้ และขอห้ามจำเลยทั้งสี่เข้าเกี่ยวข้องและให้ขนย้ายออกไป ดังนี้ ฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 กับฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องคนละเรื่อง คนละประเด็น และจำเลยคนละคนกัน แม้ศาลจะอนุญาตให้นางพรรณเพ็ญแขจำเลยในคดีแพ่งแดงที่ 7161/2509 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วยก็ตาม ก็เป็นฟ้องไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อการปลูกสร้างอาคารซึ่งผู้เช่ามีหน้าที่ชำระเงินค่าตอบแทนและค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่า และผู้เช่าได้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะเช่าทรัพย์ คือ ผู้เช่าเป็นผู้เช่าและครอบครองทรัพย์สินของผู้ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยอย่างผู้เช่าธรรมดาแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะเป็นพิเศษ คือเป็นเรื่องผู้เช่าเช่าที่ดินของผู้ให้เช่าเพื่อการปลูกสร้างอาคารให้ผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้สิทธิต่าง ๆ ภายใต้บังคับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น เมื่อมีข้อสัญญากำหนดไว้ด้วยว่าถ้าผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองยึดถือกรรมสิทธิ์บรรดาทรัพย์สินที่อยู่ในสถานที่เช่าได้ทันทีเมื่อผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ผู้เช่าย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินและอาคารของผู้ให้เช่าได้อีกต่อไป ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ให้เช่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าอยู่แล้วทันทีโดยไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องมอบสิทธิครอบครองให้ผู้ให้เช่าเสียก่อนและภายหลังแต่เวลานั้นการกระทำของบุคคลอื่นใดโดยอาศัยอำนาจของผู้ให้เช่าย่อมไม่เป็นการละเมิดสิทธิครอบครองของผู้เช่า (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13 และครั้งที่ 14/2513 เฉพาะปัญหาเป็นละเมิดสิทธิครอบครองหรือไม่)
of 35