คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ประโยชน์ที่ดิน-ดอกเบี้ย-การผิดนัดชำระ-การเข้าใช้ประโยชน์
ตาม พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 28 บัญญัติไว้ว่า เมื่อตกลงเรื่องค่าทดแทนกันไม่ได้ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มิได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่อนุญาโตตุลาการ ที่คู่กรณีตั้งขึ้นไม่สามารถชี้ขาดด้วยเสียงข้างมากได้ จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 224 มาบังคับใช้ เมื่อจำเลยเข้าใช้ที่ดิน ของโจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กฎหมายเวนคืนก่อนรัฐธรรมนูญ ไม่มีกำหนดระยะเวลาใช้ที่ดิน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เจ้าของไม่มีสิทธิเรียกคืน
การที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลง ตำบลราชาเทวะ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายแม่บท มิได้มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนไว้นั้น หาใช่เป็นเรื่องที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่ยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนในกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับที่กล่าวมาแล้วจึงหาได้ตกเป็นโมฆะไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ก็ดี หรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กฎหมายเวนคืนก่อนรัฐธรรมนูญ 2521 ไม่กำหนดระยะเวลาใช้ประโยชน์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
การที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายแม่บท มิได้มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้ อสังหาริมทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนไว้นั้น หาใช่เป็นเรื่องที่ พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่ยังไม่มีบทบัญญัติ กำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนในกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับที่กล่าวมาแล้วจึงหาได้ตกเป็นโมฆะไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 ก็ดีหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและการจำกัดสิทธิเข้าใช้ การกระทำของทหารยามไม่เป็นการละเมิดเมื่อปฏิบัติตามระเบียบ
ทางราชการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสนามบิน ทางสาธารณะในเขตเวนคืนสิ้นสภาพไป ทหารยามห้ามมิให้โจทก์นำรถเข้าไปขนมันสำปะหลังผ่านที่เวนคืน เพราะโจทก์ไม่ทำตามระเบียบที่กระทรวงกลาโหมวางไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นเองผู้บังคับบัญชาทหารยามไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาทดแทนต้องเป็นธรรมตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินและสภาพทำเล ไม่ใช่ราคาซื้อขายที่สมยอมกัน
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14 กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกับ ราคาที่ดินใกล้เคียงทำสัญญาซื้อขายกันสูงกว่าราคาจริง โดยสมยอมเพื่อต่อรองเมื่อมีการเวนคืน อนุญาโตตุลาการนำมาอาศัยกำหนดราคาเวนคืน จึงขัดต่อกฎหมาย ศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนต้องใช้ราคาปานกลางตามภาษีบำรุงท้องที่และสภาพที่ดิน ราคาซื้อขายที่สมยอมใช้ไม่ได้
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา14 กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืนต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่ กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกันราคาที่ดินใกล้เคียงทำสัญญาซื้อขายกันสูงกว่าราคาจริงโดยสมยอมเพื่อต่อรองเมื่อมีการเวนคืน อนุญาโตตุลาการนำมาอาศัยกำหนดราคาเวนคืน จึงขัดต่อกฎหมาย ศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางหลวง: การใช้ประโยชน์ที่ดินต่อเนื่องจากทางเท้าถือเป็นการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แล้ว
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กำหนดทางหลวงกว้าง 40 เมตร กรมทางหลวงสร้างทางและทางเท้า ที่ดินนอกทางเท้าข้างละ 4.20 เมตรก็ถือเป็นทางหลวง เป็นการใช้ที่ดินทำถนนภายใน 5 ปีแล้วกรรมสิทธิ์ไม่กลับเป็นของเจ้าของเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องค่าทดแทนการใช้ที่ดิน: ไม่ต้องผ่านอนุญาโตตุลาการก่อน
พระราชบัญญัตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 28 และ 30 บัญญัติว่า เมื่อคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันในจำนวนค่าทดแทนให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยและให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับโดยอนุโลม ไม่มีบทบัญญัติว่าต้องมอบข้อพิพาทในเรื่องจำนวนค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีต่อศาลได้โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยโดยไม่ต้องมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยเสียก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นของทั้งสองฝ่าย
ที่ดินของผู้คัดค้านอยู่ในเขตเวนคืนกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับผู้คัดค้านไม่ตกลงกันในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ผู้บัญชาการทหารบกผู้ร้อง ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงได้มีหนังสือถึงผู้คัดค้านกำหนดราคาเด็ดขาดสำหรับค่าทดแทนที่ดิน หากผู้คัดค้านไม่สนองรับภายใน 15 วัน ผู้ร้องจะขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไป ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบมาภายใน 15 วัน ว่าไม่ยินยอมตกลงตามราคาที่ผู้ร้องกำหนดมา และขอใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน แสดงว่าผู้คัดค้านเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้คัดค้านไม่ประสงค์ใช้สิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการ และนำเงินค่าทดแทนมาวางศาลเพื่อจะเข้าครอบครองที่ดินหาได้ไม่ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มิได้บังคับว่าการเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการจะต้องระบุข้อบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 211 ไว้ด้วย และการดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการต่อไปนั้น มิได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายในอันที่จะดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าทดแทนผู้เช่าเมื่อถูกเวนคืน หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนการครอบครองทรัพย์สิน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497มาตรา 11(3). ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ต้องเวนคืน จะพึงได้รับเงินค่าทดแทนเฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริง. โดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดินโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ.
เมื่อระหว่างคดีที่โจทก์ฟ้องเจ้าหน้าที่เวนคืนเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการที่โจทก์จะต้องออกจากตึกที่เช่า. โจทก์ได้อยู่ในตึกที่โจทก์เช่าตลอดมาจนเกินกำหนดระยะเวลาที่เช่าตามสัญญาเช่า. ซึ่งโจทก์อ้างว่ามีผลใช้บังคับได้แล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนเพราะการเช่าได้ระงับไปเสียแล้ว.
of 3