คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จินตา บุณยอาคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 811 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิด: ความสมบูรณ์ของคำฟ้อง, ความเคลือบคลุม, และความรับผิดของนายจ้าง
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง โดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญาและการเลือกปรับบทลงโทษ: ศาลมีอำนาจพิจารณาจากข้อเท็จจริงแม้โจทก์ขอหลายมาตรา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานบังอาจยักยอกทรัพย์ของทางราชการที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโดยนำไปขายให้ผู้อื่น อันเป็นการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151,157,158, 352 และ 353 เช่นนี้ เมื่อมาตราดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่บรรยายในฟ้องทั้งสิ้น และการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามมาตราใดย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะพึงเลือกปรับบทลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นการลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาที่โจทก์สืบสมตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนขายพลอย: ศาลยึดตามคำพิพากษาคดีอาญาเดิมว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน ผู้รับเช็คต้องรับผิดชอบเช็คเอง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อในคำพิพากษาคดีอาญาซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับพลอยจากโจทก์ไปขายให้ผู้มีชื่อ ผู้มีชื่อชำระเงินค่าพลอยให้มาเป็นเช็ค จำเลยก็นำเช็คทั้งหมดมอบให้โจทก์ ดังนี้ในคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าพลอยจากจำเลย โจทก์จะเถียงข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับเช็คค่าพลอยไว้จากจำเลยยังไม่ครบถ้วนหาได้ไม่
จำเลยเป็นตัวแทนนำพลอยของโจทก์ไปขายผู้ซื้อชำระค่าพลอยให้มาเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้า จำเลยก็นำเช็คทั้งหมดมามอบให้โจทก์ เช็คบางฉบับก่อนจะถึงกำหนดวันสั่งจ่าย ผู้ซื้อยังไม่มีเงินในบัญชีของธนาคาร ขอให้จำเลยไปติดต่อกับโจทก์ขอเปลี่ยนเช็คใหม่โดยขยายเวลาออกไปอีก โจทก์ก็ยอม เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ ได้ใช้ให้จำเลยไปดูพลอยที่ขายในร้านผู้ซื้อเพื่อจะเอาคืนมา จำเลยก็ไปดูให้ เมื่อพบว่าไม่มีสิ่งของในร้านผู้ซื้อเหลืออยู่ จำเลยก็กลับมาแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องโจทก์จะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่ายเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่า: ระยะเวลาเช่าต้องเริ่มนับจากวันทำสัญญาจริง ไม่ใช่วันบอกกล่าว
โจทก์จำเลยทำสัญญากันให้โจทก์ลงทุนสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยและยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย โดยโจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาเช่าและเรียกค่าช่วยก่อสร้างได้ จำเลยมีหน้าที่ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าและจดทะเบียนการเช่าให้สิบปีซึ่งตามสัญญาระบุว่าจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ตาม ต้องมีกำหนด การเช่า 10 ปี นับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไปเมื่อโจทก์สร้างตึกแถวเสร็จและหาผู้เช่ามาทำสัญญาเช่าจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมทำ โจทก์บอกกล่าวให้ไปทำก็ไม่ยอมทำจนโจทก์ต้องฟ้อง ดังนี้ ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยทำสัญญาเช่ามีกำหนดสิบปีนับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไป จะนับระยะเวลาเช่าตั้งแต่วันที่โจทก์บอกกล่าวครบกำหนดหาได้ไม่ เพราะผิดจากเจตนาของคู่สัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า: กำหนดเวลาเช่าต้องนับจากวันทำสัญญาจริง ไม่ใช่วันบอกกล่าว
โจทก์จำเลยทำสัญญากันให้โจทก์ลงทุนสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยและยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย โดยโจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาเช่าและเรียกค่าช่วยก่อสร้างได้ จำเลยมีหน้าที่ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าและจดทะเบียนการเช่าให้สิบปี ซึ่งตามสัญญาระบุว่าจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ตามต้องมีกำหนดการเช่า 10 ปี นับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไปเมื่อโจทก์สร้างตึกแถวเสร็จและหาผู้เช่ามาทำสัญญาเช่าจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมทำ โจทก์บอกกล่าวให้ไปทำก็ไม่ยอมทำจนโจทก์ต้องฟ้อง ดังนี้ ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยทำสัญญาเช่ามีกำหนดสิบปีนับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไปจะนับระยะเวลาเช่าตั้งแต่วันที่โจทก์บอกกล่าวครบกำหนดหาได้ไม่ เพราะผิดจากเจตนาของคู่สัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาฆ่าเพราะไม่ปรากฏมูลเหตุจูงใจว่าจำเลยยิงผู้ตายเพราะเหตุใดเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี และประเด็นข้อเท็จจริงเรื่องเจตนาฆ่า
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาฆ่าเพราะไม่ปรากฏมูลเหตุจูงใจว่าจำเลยยิงผู้ตายเพราะเหตุใดเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนและการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน/พยายามทำร้ายร่างกาย
ตำรวจจับเด็กเที่ยวเร่ร่อนตามหน้าที่ เด็กขอร้องให้จำเลยช่วยจำเลยถามว่าเป็นอะไรมาจับเด็กเมื่อตำรวจแสดงตัวว่าเป็นตำรวจแล้วจำเลยพูดว่า ขอได้ไหมอย่าจับเด็กนี้เลย ตำรวจจึงอธิบายให้ฟังว่าเป็นหน้าที่ จำเลยก็ยอมให้เอาตัวเด็กไป ดังนี้การกระทำของจำเลยหาเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
การที่จำเลยเพียงถือขวดโซดาไว้ในมือ ไม่ได้ใช้ขวดโซดาจะตีหรือหยิบมีดมาจะทำร้าย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด (ฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามทำร้ายร่างกาย: พฤติกรรมไม่ถึงขั้นเป็นความผิด
ตำรวจจับเด็กเที่ยวเร่ร่อนตามหน้าที่ เด็กขอร้องให้จำเลยช่วย จำเลยถามว่าเป็นอะไรมาจับเด็กเมื่อตำรวจแสดงตัวว่าเป็นตำรวจแล้ว จำเลยพูดว่า ขอได้ไหมอย่างจับเด็กนี้เลย ตำรวจจึงอธิบายให้ฟังว่าเป็นหน้าที่ จำเลยก็ยอมให้เอาตัวเด็กไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยหาเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
การที่จำเลยเพียงถือขวดโซดาไว้ในมือ ไม่ได้ใช้ขวดโซดาจะตีหรือหยิบมีดมาจะทำร้าย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด (ฐานพยายามทำร้ายร่างกายพนักงาน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มลดโทษตามมาตรา 54 และผลกระทบของพระราชบัญญัติล้างมลทินต่อการกักกัน
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย และให้เพิ่มโทษตามมาตรา 93 กึ่งหนึ่งกับลดโทษตามมาตรา 78 กึ่งหนึ่ง ดังนี้ ส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดโทษที่กำหนดไว้นั้นได้ ตามมาตรา 54 ประมวลกฎหมายอาญาจำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าส่วนของการเพิ่มน้อยกว่าส่วนของการลดถ้าหากเพิ่มโทษเสียก่อนแล้วลดในภายหลัง
จำเลยพ้นจากการกักกันภายหลังวันที่ 13 พฤษภาคม 2500 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ใช้บังคับย่อมไม่ได้รับผลการล้างมลทินตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยอาจถูกพิพากษาให้กักกันในฐานที่เป็นผู้เคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้วได้
of 82