คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พันธ์ นัยวิฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจพิจารณาคืนของกลางให้เจ้าของได้ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยอาศัยหลักประมวลกฎหมายอาญา
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดร่วมกัน: การสนับสนุนความผิดอาญาต้องมีเจตนาและพฤติการณ์ที่ชัดเจน
จำเลยทั้ง 2 กับพวกได้มาที่บ้านผู้เสียหายด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 มาห่างผู้เสียหาย 4 เมตร จำเลยที่ 1 ก็หยุดอยู่ตรงนั้น. ส่วนจำเลยที่ 2 กับพวกหาได้หยุดไม่. คงเดินเลยบ้านผู้เสียหายไป 10 วาจึงหยุดเมื่อเป็นดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้เสียหายโดยลำพังตนเอง.จึงไม่แน่ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกันเพื่อมาทำร้ายผู้เสียหาย. เพราะอาจฟังว่าจำเลยที่ 1 มาพบผู้เสียหายและด้วยเคยมีเรื่องกันมาก่อน. ส่วนการที่จำเลยที่ 2ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ยิงซ้ำ. จำเลยที่ 1 ก็หาได้กระทำตามที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกไม่. กลับวิ่งไปแล้วจำเลยทั้ง 2 กับพวกก็พากันหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 2. ก็ยังไม่พอฟังว่าเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาและขอบเขตการกระทำผิดร่วม: การสนับสนุนความผิดอาญาต้องมีเจตนาและพฤติการณ์สนับสนุน
จำเลยทั้ง 2 กับพวกได้มาที่บ้านผู้เสียหายด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 มาห่างผู้เสียหาย 4 เมตร จำเลยที่ 1 ก็หยุดอยู่ตรงนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 กับพวกหาได้หยุดไม่ คงเดินเลยบ้านผู้เสียหายไป 10 วาจึงหยุดเมื่อเป็นดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้เสียหายโดยลำพังตนเองจึงไม่แน่ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกันเพื่อมาทำร้ายผู้เสียหาย เพราะอาจฟังว่าจำเลยที่ 1 มาพบผู้เสียหายและด้วยเคยมีเรื่องกันมาก่อน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ยิงซ้ำ จำเลยที่ 1 ก็หาได้กระทำตามที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกไม่ กลับวิ่งไปแล้วจำเลยทั้ง 2 กับพวกก็พากันหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่พอฟังว่าเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรื้อถอนรั้วรุกล้ำทางเดินสาธารณะ แม้ทำในเวลากลางคืน ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดทำลายทรัพย์สิน
เสารั้วของโรงเรียนปักอยู่บนคันคลองของกรมชลประทานล้ำทางเดินเกือบกึ่งทาง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นครูและภารโรงของโรงเรียนร่วมกับนักเรียนจัดทำรั้วนั้นขึ้น ย่อมมีสิทธิจะถอนเสารั้วออกทำใหม่ได้ เพราะทางโรงเรียนไม่มีสิทธิจะทำรั้วรุกล้ำทางเดินซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโรงเรียน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จะรื้อถอนทำในเวลากลางคืนโดยไม่สมควรอยู่บ้าง ก็ไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษ จำเลยที่ 1 ผู้เดียวอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นความผิดตามฟ้อง และเป็นเหตุในลักษณะคดี ชอบที่จะพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรื้อรั้วรุกล้ำทางเดิน – การกระทำไม่ถึงขั้นเป็นความผิดอาญา
เสารั้วของโรงเรียนปักอยู่บนคันคลองของกรมชลประทานล้ำทางเดินเกือบกึ่งทาง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นครูและภารโรงของโรงเรียนร่วมกับนักเรียนจัดทำรั้วนั้นขึ้น ย่อมมีสิทธิจะถอนเสารั้วออกทำใหม่ได้ เพราะทางโรงเรียนไม่มีสิทธิจะทำรั้วรุกล้ำทางเดินซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโรงเรียน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จะรื้อถอนทำในเวลากลางคืนโดยไม่สมควรอยู่บ้าง ก็ไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษ จำเลยที่ 1 ผู้เดียวอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นความผิดตามฟ้อง และเป็นเหตุในลักษณะคดี ชอบที่จะพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน แม้ฝ่าฝืนระเบียบ
ลูกจ้างผู้ทำหน้าที่ขับรถยนต์ขนหินขนดินซึ่งบริษัทจำเลยรับเหมา. ขณะหยุดพักงานตอนเที่ยงวัน ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยออกไปจากเส้นทางที่ก่อสร้าง เพื่อไปรับประทานอาหาร. รถยนต์ชนจักรยานยนต์ซึ่งโจทก์นั่งซ้อนท้ายมา โดยประมาทเลินเล่อ. ในการที่ลูกจ้างเอารถของจำเลยขับไปนั้น แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของบริษัทจำเลยที่วางไว้. แต่ก็อยู่ระหว่างเวลาที่ลูกจ้างประจำทำงานตามทางการที่จ้างให้แก่บริษัทจำเลยตลอดทั้งวัน. ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลย บริษัทจำเลยต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน แม้ฝ่าฝืนระเบียบ
ลูกจ้างผู้ทำหน้าที่ขับรถยนต์ขนหินขนดินซึ่งบริษัทจำเลยรับเหมา ขณะหยุดพักงานตอนเที่ยงวัน ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยออกไปจากเส้นทางที่ก่อสร้าง เพื่อไปรับประทานอาหาร รถยนต์ชนจักรยานยนต์ซึ่งโจทก์นั่งซ้อนท้ายมา โดยประมาทเลินเล่อ ในการที่ลูกจ้างเอารถของจำเลยขับไปนั้น แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของบริษัทจำเลยที่วางไว้ แต่ก็อยู่ระหว่างเวลาที่ลูกจ้างประจำทำงานตามทางการที่จ้างให้แก่บริษัทจำเลยตลอดทั้งวัน ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลย บริษัทจำเลยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน แม้ฝ่าฝืนระเบียบ
ลูกจ้างผู้ทำหน้าที่ขับรถยนต์ขนหินขนดินซึ่งบริษัทจำเลยรับเหมา ขณะหยุดพักงานตอนเที่ยงวัน ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยออกไปจากเส้นทางที่ก่อสร้าง เพื่อไปรับประทานอาหาร รถยนต์ชนจักรยานยนต์ซึ่งโจทก์นั่งซ้อนท้ายมา โดยประมาทเลินเล่อ ในการที่ลูกจ้างเอารถของจำเลยขับไปนั้น แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของบริษัทจำเลยที่วางไว้ แต่ก็อยู่ระหว่างเวลาที่ลูกจ้างประจำทำงานตามทางการที่จ้างให้แก่บริษัทจำเลยตลอดทั้งวัน ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลย บริษัทจำเลยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอคืนของกลาง: นับจากวันอ่านคำสั่งศาลฎีกาถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษาเดิม
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2509 วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาจำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่14 มิถุนายน 2509วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟังการนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลางนับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไปการที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอคืนของกลาง: นับจากวันอ่านคำสั่งศาลฎีกาถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษาเดิม
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2509 วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา จำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2509 วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟัง การนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลาง นับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไป การที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)
of 18