คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย ทองลงยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงป้องกันตัว, ลุแก่โทษ, และการให้การที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
คำให้การจำเลยที่ว่า ผู้ตายจะใช้ปืนยิงจำเลย จำเลยจึงยิงป้องกันตัวและคำเบิกความของจำเลยขยายความข้อนี้มากขึ้น ไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78เพราะมิได้ให้ความรู้แก่ศาลที่จะช่วยให้การวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามความผิดหรือการกระทำของจำเลย ตรงข้ามจำเลยกลับอ้างว่าเป็นความผิดของผู้ตายที่ใช้ปืนจะยิงจำเลยก่อน ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยและชี้ขาดว่าข้ออ้างของจำเลยไม่เป็นความจริง จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
การที่จำเลยยิงผู้ตายแล้วไปมอบตัวแก่เจ้าพนักงานตำรวจพร้อมกับมอบปืนที่ใช้ยิงให้ด้วย โดยแจ้งเหตุว่าจำเลยยิงผู้ตายบาดเจ็บสาหัสไม่ได้แจ้งว่าผู้ตายจะยิงจำเลย จำเลยจึงยิงเป็นการป้องกันตัวซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จมาแต่แรก ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โจทก์ต่อเจ้าพนักงานมีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจากเหตุบรรเทาโทษ: ลุแก่โทษและการให้การที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
คำให้การจำเลยที่ว่า ผู้ตายจะใช้ปืนยิงจำเลย จำเลยจึงยิงป้องกันตัวและคำเบิกความของจำเลยขยายความข้อนี้มากขึ้น ไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เพราะมิได้ให้ความรู้แก่ศาลที่จะช่วยให้การวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามความผิดหรือการกระทำของจำเลยตรงข้าม จำเลยกลับอ้างว่าเป็นความผิดของผู้ตายที่ใช้ปืนจะยิงจำเลยก่อน ที่ศาลต้องวินิจฉัยและชี้ขาดว่าข้ออ้างของจำเลยไม่เป็นความจริง จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
การที่จำเลยยิงผู้ตายแล้วไปมอบตัวแก่เจ้าพนักงานตำรวจพร้อมกับมอบปืนที่ใช้ยิงให้ด้วย โดยแจ้งเหตุว่าจำเลยยิงผู้ตายบาดเจ็บสาหัส ไม่ได้แจ้งว่าผู้ตายจะยิงจำเลย จำเลยจึงยิงเป็นการป้องกันตัว ซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จมาแต่แรก ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โจทก์ต่อเจ้าพนักงาน มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งสินสมรส แม้คดีหย่ายังไม่ถึงที่สุด ศาลไม่หยุดยั้งการบังคับคดี
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอแบ่งสินสมรสจากจำเลย ก็ได้อ้างถึงคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยว่าศาลพิพากษาให้หย่ากันแล้วตามคดีแดงที่ 91/2512 ของศาลชั้นต้น แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เลยว่าคดีฟ้องหย่าดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์อยู่ คงต่อสู้แต่ในเรื่องทรัพย์และการแบ่งทรัพย์ และยังอ้างถึงสินสมรสอีก 3 รายการ ที่โจทก์มิได้ฟ้องว่าโจทก์ควรนำมาแบ่งกันให้เสร็จไปโดยมีคำขอให้ศาลเปรียบเทียบให้คดีเสร็จไปด้วย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริง และโจทก์จำเลยตกลงกันได้ในทรัพย์บางรายการแล้ว ศาลจึงสั่งงดสืบพยาน และพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ ซึ่งถึงที่สุดแล้วจำเลยจะมาขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าขอให้รอคดีฟ้องหย่าถึงที่สุดเสียก่อนไม่ได้กรณีไม่เข้าเหตุที่ศาลจะงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292, 293, 294 หรือมาตรา 296 ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งสินสมรสก่อนคดีหย่าถึงที่สุด แม้จำเลยอุทธรณ์คดีหย่าแต่ไม่แจ้งต่อศาลในคดีแบ่งสินสมรส
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอแบ่งสินสมรสจากจำเลย ก็ได้อ้างถึงคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยว่าศาลพิพากษาให้หย่ากันแล้วตามคดีแดงที่ 91/2512 ของศาลชั้นต้น แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เลยว่า คดีฟ้องหย่าดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์อยู่ คงต่อสู้แต่ในเรื่องทรัพย์และการแบ่งทรัพย์ และยังอ้างถึงสินสมรสอีก 3 รายการ ที่โจทก์มิได้ฟ้อง ว่าโจทก์ควรนำมาแบ่งกันให้เสร็จไป โดยมีคำขอให้ศาลเปรียบเทียบให้คดีเสร็จไปด้วย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริง และโจทก์จำเลยตกลงกันได้ในทรัพย์บางรายการแล้ว ศาลจึงสั่งงดสืบพยาน และพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยจะมาขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าขอให้รอคดีฟ้องหย่าถึงที่สุดเสียก่อนไม่ได้ กรณีไม่เข้าเหตุที่ศาลจะงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292, 293, 294 หรือ มาตรา 296 ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำบล็อก: การประกอบอุตสาหกรรมตามมาตรา 165 (1) พ.ร.บ.แพ่งฯ
คำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ตอนท้าย นั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ทั้งนี้ โดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น และแม้จะไม่ได้จำหน่ายขายสินค้านั้นเอง เพียงแต่รับจ้างประดิษฐ์สิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้า ก็เป็นการประกอบอุตสาหกรรมของตนแล้ว
จำเลยเป็นตัวแทนโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ตกลงว่าจ้างจำเลยให้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือประกาศโป๊สเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำบล๊อกต่าง ๆ เพื่อโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านนั้น ๆ โดยได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง คือ ค่าโฆษณากับค่าบล๊อกหรือของที่ว่าจ้างให้โจทก์ทำและจำเลยคิดเอาค่าธรรมเนียมจากหนังสือพิมพ์หรือสถานีวิทยุผู้รับโฆษณาราว 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าโฆษณา ถ้าไม่ได้ก็คิดเอาจากบริษัทห้างร้านผู้ว่าจ้างให้โฆษณา ดังนี้ ของที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ทำไม่ใช่สินค้าและไม่มีการซื้อขายสิ่งของนั้นอย่างไรด้วย การรับจ้างของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการประกอบอุตสาหกรรม หรือเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ตอนท้าย อายุความเรียกร้องค่าทำบล๊อกของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำบล็อก: การประกอบอุตสาหกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(1) ไม่ครอบคลุมการรับจ้างทำบล็อกเพื่อโฆษณา
คำว่า'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ตอนท้าย นั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ทั้งนี้ โดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น และแม้จะไม่ได้จำหน่ายขายสินค้านั้นเอง เพียงแต่รับจ้างเขาประดิษฐ์สิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าก็เป็นการประกอบอุตสาหกรรมของตนแล้ว
จำเลยเป็นตัวแทนโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือประกาศโป๊สเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำบล๊อกต่าง ๆเพื่อโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านนั้น ๆ โดยได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างคือ ค่าโฆษณากับค่าบล๊อกหรือของที่ว่าจ้างให้โจทก์ทำและจำเลยคิดเอาค่าธรรมเนียมจากหนังสือพิมพ์หรือสถานีวิทยุผู้รับโฆษณาราว10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าโฆษณา ถ้าไม่ได้ก็คิดเอาจากบริษัทห้างร้านผู้ว่าจ้างให้โฆษณา ดังนี้ ของที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ทำไม่ใช่สินค้า และไม่มีการซื้อขายสิ่งของนั้นอย่างไรด้วย การรับจ้างของจำเลยจึงไม่ใช่ เป็นการประกอบอุตสาหกรรมหรือเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)ตอนท้ายอายุความเรียกร้องค่าทำบล๊อกของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ขอบเขตความรับผิดจำกัดเฉพาะความเสียหายในหน้าที่การงาน หากมิได้ระบุขยายขอบเขตชัดแจ้ง
การทำสัญญาค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน โดยปกติย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่นายจ้างเฉพาะในหน้าที่การงานของลูกจ้างนั้นเท่านั้น ถ้านายจ้างประสงค์จะให้รับผิดตลอดถึงการกระทำนอกหน้าที่การงานที่ว่าจ้างกันด้วยแล้วก็ชอบที่จะระบุไว้ให้ชัดในสัญญาค้ำประกัน
นายจ้างอ้างว่าการที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือในหน้าที่การงานของลูกจ้างเมื่อผู้ค้ำประกันให้การปฏิเสธข้อนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำสืบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันหน้าที่การงาน: ผู้ค้ำประกันรับผิดเฉพาะความเสียหายในหน้าที่ หากมิได้ระบุความรับผิดนอกเหนือจากนั้น
การทำสัญญาค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน โดยปกติย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่นายจ้างเฉพาะในหน้าที่การงานของลูกจ้างนั้นเท่านั้น ถ้านายจ้างประสงค์จะให้รับผิดตลอดถึงการกระทำนอกหน้าที่การงานที่ว่าจ้างกันด้วยแล้วก็ชอบที่จะระบุไว้ให้ชัดในสัญญาค้ำประกัน
นายจ้างอ้างว่าการที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือในหน้าที่การงานของลูกจ้าง เมื่อผู้ค้ำประกันให้การปฏิเสธข้อนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำสืบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลผูกพัน แม้จะไม่มีหลักฐานการเบิกเงินเพิ่มเติม และศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความ
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่าจำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้วการเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: หลักฐานการกู้ยืม, การเบิกเงิน, และดอกเบี้ยทบต้น
ฟ้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป 10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้ พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้ว การเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
of 54