คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย ทองลงยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042-1044/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวจำเลยและเปลี่ยนตัวบุคคลมาฟังคำพิพากษาถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ในคดีอาญาที่ผู้ร้องได้เข้าประกันตัวจำเลยในระหว่างพิจารณานั้น วันนัดอ่านคำพิพากษามีผู้มาฟังคำพิพากษาในฐานะจำเลยครั้นศาลได้อ่านคำพิพากษาแล้วปรากฏว่าผู้มาฟังคำพิพากษานั้นเป็นบุคคลอื่นไม่ใช่ตัวจำเลยจริง การที่มีการเปลี่ยนตัวจำเลยเช่นนี้ เมื่อฟังว่านายประกันผู้ร้องรู้เห็นด้วย ถือได้ว่านายประกันผู้ร้องประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ย่อมเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตาม มาตรา31(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042-1044/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวจำเลยแล้วมีบุคคลอื่นมาแทนที่ศาลถือว่านายประกันประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ในคดีอาญาที่ผู้ร้องได้เข้าประกันตัวจำเลยในระหว่างพิจารณานั้นวันนัดอ่านคำพิพากษามีผู้มาฟังคำพิพากษาในฐานะจำเลยครั้นศาลได้อ่านคำพิพากษาแล้วปรากฏว่าผู้มาฟังคำพิพากษานั้นเป็นบุคคลอื่นไม่ใช่ตัวจำเลยจริง การที่มีการเปลี่ยนตัวจำเลยเช่นนี้เมื่อฟังว่านายประกันผู้ร้องรู้เห็นด้วย ถือได้ว่านายประกันผู้ร้องประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ย่อมเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามมาตรา31(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยลงชื่อใบเบิกเงิน แม้โจทก์จะยังไม่ได้รับเงินในทันที
จำเลยลงชื่อในใบเบิกเงินสำรองล่วงหน้าให้โจทก์ไปรับเงินค่าโฆษณาภาพยนตร์ในเดือนมีนาคม 2510 โดยมิได้ลงวันที่หมายความว่าโจทก์จะนำใบเบิกดังกล่าวไปเบิกเงินในวันใดภายในเดือนมีนาคม 2510. แม้จะเป็นวันสุดท้ายของเดือนก็ได้ ดังนี้กำหนดเวลาสิ้นสุดที่จะเบิกเงินจึงถือเอาวันสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2510
การที่จำเลยลงชื่อในใบเบิกเงินสำรองมอบให้โจทก์ไปรับเงินค่าโฆษณาเท่ากับจำเลยยอมชำระค่าจ้างตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ถือได้ว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172,181 และเริ่มนับอายุความ 2 ปี ตาม มาตรา 165(7) ใหม่ตั้งแต่วันสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2510 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดที่จะเบิกเงินตามใบเบิกเงินสำรองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์เกิน 3 ปี ไม่ผูกพันผู้เยาว์ แม้ต่อมาจะให้สัตยาบัน
สัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกินกว่าสามปี ที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ทำแทนผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นไม่มีผลบังคับผูกพันผู้เยาว์ตั้งแต่การเช่าครบ 3 ปีแล้วตลอดมา และไม่เป็นโมฆียะอันจะพึงบอกล้างได้ จึงไม่เป็นกรณีที่ผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตศาล มีผลบังคับหรือไม่ และการให้สัตยาบัน
สัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกินกว่าสามปีที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ทำแทนผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นไม่มีผลบังคับผูกพันผู้เยาว์ตั้งแต่การเช่าครบ 3 ปีแล้วตลอดมา และไม่เป็นโมฆียะอันจะพึงบอกล้างได้จึงไม่เป็นกรณีที่ผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่บริษัทลงนามโดยผู้จัดการ แม้ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ก็ผูกพันบริษัทได้
หนังสือสัญญาจะซื้อขายระบุว่าบริษัทโจทก์โดย ส. ผู้จัดการเป็นผู้ซื้อ แสดงว่า ส. ทำสัญญาในนามบริษัทโจทก์โจทก์จึงเป็นคู่สัญญา แม้หนังสือสัญญานั้น กรรมการของบริษัทโจทก์ 2 นาย จะไม่ได้ลงชื่อ และไม่ได้ประทับตราของบริษัทตามข้อบังคับ สัญญาก็ผูกพันบริษัทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายผูกพันบริษัท แม้ไม่มีการลงชื่อกรรมการครบถ้วน หากผู้จัดการลงนามในนามบริษัท
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะมิได้ลงชื่อกรรมการ 2 นาย และประทับตราบริษัทช้อบังคับ แต่มีข้อความระบุคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นที่ทำขึ้นระหว่าง ล.ผู้ขายฝ่ายหนึ่ง กับบริษัทโจทก์โดย ส.เป็นผู้จัดการ ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่ง ดังนี้ แสดงว่า ส.ทำสัญญาในนามบริษัทโจทก์นั่นเอง หาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา สัญญาจะซื้อจะขายผูกพันบริษัทโจทก์ (อ้างฎีกาที่ 362/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ต่างจากชื่อในทะเบียน, หุ้นส่วนสามัญ, สิทธิฟ้องร่วม, ความรับผิดจากประมาท
การมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นแต่ข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าเป็นเจ้าของเท่านั้น หาใช่แสดงว่าผู้มีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เสมอไปไม่ เพราะทะเบียนรถยนต์มิใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์
โจทก์ร่วมได้นำรถยนต์ของตนเข้าวิ่งร่วมรับจ้างบรรทุกกับโจทก์ และมอบให้โจทก์ลงชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์ แต่โจทก์ร่วมยังเป็นผู้ออกค่าจ้างคนขับค่าน้ำมัน ค่าซ่อมเครื่องยนต์และยาง ซึ่งพฤติการณ์แสดงว่ารถยนต์ดังกล่าวยังเป็นของโจทก์ร่วมอยู่ การโอนทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของเป็นเพียงพิธีการจะให้รถยนต์ได้เข้ามาร่วมกิจการกับโจทก์เพื่อหาประโยชน์เท่านั้น การร่วมกิจการเพื่อหาประโยชน์ร่วมกันในกรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม เมื่อมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์ดังกล่าวเสียหาย โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นการเรียกร้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงในสัญญายอมความ ศาลมีอำนาจบังคับตามเจตนาแม้ข้อความในสัญญาไม่ชัดเจน
ในกรณีที่คู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ต่อศาลเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาว่ามีความหมายตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาอย่างไร ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อตีความให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
ข้อความในสัญญายอมความ ซึ่งคู่สัญญาตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกัน ระบุให้ห้องแถวไม้สองชั้น 10 ห้องเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าข้อความดังกล่าวพิมพ์ตกคำว่า "พร้อมด้วยที่ดิน" ซึ่งตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาหมายรวมถึงที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องแถวนั้นด้วย เมื่อศาลเห็นว่า ตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหมายถึงห้องแถวดังกล่าวพร้อมด้วยที่ดินแล้วก็มีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องร่วมทำร้ายร่างกาย: การระบุตัวผู้กระทำความผิดไม่จำเป็นหากฟ้องว่าทั้งสองฝ่ายทำร้ายกัน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเข้าทำร้ายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 ใช้มือผลักและชกจำเลยที่ 1 ที่ใบหน้า ส่วนพวกที่หลบหนีคนหนึ่งใช้จอบตีจำเลยที่ 1 ย่อมมีความหมายว่า ฝ่ายของจำเลยที่2ที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายฝ่ายจำเลยที่ 1 นั่นเองซึ่งโจทก์ก็ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาด้วยแล้วแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนใดผลักคนใดชกเป็นการกระทำร่วมกันหรือสมคบกันอย่างไร ก็ไม่ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุม
of 54